การพัฒนาชุดตรวจสอบธาตุอาหารรอง และเหล็กที่เป็นประโยชน์ในดิน เพื่อจัดการดินและปุ๋ย
#1
การพัฒนาชุดตรวจสอบธาตุอาหารรอง และเหล็กที่เป็นประโยชน์ในดิน เพื่อจัดการดินและปุ๋ย
จรีรัตน์ กุศลวิริยะวงศ์, สงกรานต์ มะลิสอน, ญาณธิชา จิตต์สะอาด, สุภา โพธิจันทร์, พจมาลย์ ภู่สาร, จิตติรัตน์ ชูชาติ, กัญฐณา คล้ายแก้ว และวรรณรัตน์ ชุติบุตร
กองวิจัยพัฒนาปัจจัยการผลิตทางการเกษตร

          แคลเซียม แมกนีเซียม และกำมะถันจัดเป็นธาตุอาหารรอง (Secondary Essentail Elements) และเหล็กจัดเป็นจุลธาตุ (Micronutrient) ที่พืชมีความต้องการในปริมาณน้อยรองจากธาตุอาหารหลัก แต่ถึงแม้ว่าพืชมีความต้องการน้อย แต่หากพืชได้รับธาตุอาหารเหล่านี้ไม่เพียงพอ หรือในปริมาณที่มากเกินไป อาจส่งผลกระทบต่อการเจริญเติบโต และการเปลี่ยนแปลงกระบวนต่างๆ ภายในพืช และนำไปสู่อาการผิดปกติต่างๆ ของพืช เช่น พืชตระกลูถั่ว ถ้าได้รับแคลเซียม กำมะถันในปริมาณที่ไม่เพียงพอ จะทำให้การสร้างปมที่รากถั่วได้น้อยกว่า ส่งผลให้เกิดการตรึงไนโตรเจนน้อยตามไปด้วย (คณาจารย์ภาควิชาปฐพีวิทยา, 2548) และข้าวที่ได้รับเหล็กในปริมาณที่ไม่เพียงพอจะแสดงอาการใบอ่อนเป็นสีเหลือง ซึ่งพบในระยะเริ่มต้นของการเจริญเติบโตแต่หากได้รับในปริมาณที่มากเกินไป ทำให้ความสูงของข้าวลดลง และยังมีผลกระทบให้ข้าวดูดฟอสฟอรัสและโพแทสเซียมไปใช้ได้ลดลง (ณัฐวดี และคณะ, 2564) ปัจจุบันจึงมีงานวิจัยส่งเสริมให้เกษตรกรปรับปรุงดิน และจัดการธาตุอาหารพืชในดินให้เหมาะสม เพื่อให้พืชไดรับธาตุอาหารที่เพียงพอ และสมดุล การวิเคราะห์ดินจึงเข้ามามีบทบาทสำคัญ เพื่อให้ทราบถึงปริมาณของธาตุอาหารพืชในดินก่อนการปลูกพืช และนำไปสู่การจัดการธาตุอาหารสำหรับการผลิตพืช แต่ในปัจจุบันการวิเคราะห์แคลเซียม แมกนีเซียม กำมะถัน และเหล็กในดิน มีขั้นตอนที่ยุ่งยาก และยังเป็นเพียงการวิเคราะห์ภายในห้องปฏิบัติการเท่ำนั้น ทำให้เกษตรกรต้องส่งตัวอย่างดินมายังห้องปฏิบัติการ และอาจทำให้ได้รับผลการวิเคราะห์ไม่ทันต่อฤดูกาลปลูก นอกจากนี้ ในประเทศไทยยังไม่มีการพัฒนำชุดตรวจสอบแคลเซียม แมกนีเซียม กำมะถัน และเหล็กในดิน มีเพียงการนำเข้ามาจากต่างประเทศ และทำให้มีราคาขายค่อนข้ำงแพง ทำให้เกษตรกรเข้าถึงได้ยาก ซึ่งข้อจำกัดเหล่านี้ ทำให้การวิเคราะห์ธาตุอาหารรองและเหล็กในดินอยู่ในวงจำกัดเฉพาะนักวิชาการ หรืองานวิจัยเท่านั้น ดังนั้น กองวิจัยพัฒนาปัจจัยการผลิตทางการเกษตร จึงพัฒนาชุดตรวจสอบธาตุรอง และเหล็กที่เป็นประโยชน์ในดิน โดยการประยุกต์ใช้วิธีวิเคราะห์ที่ใช้ภายในห้องปฏิบัติการ ลดขั้นตอนการวิเคราะห์ที่ยุ่งยาก และสารเคมีที่เป็นอันตราย เพื่อส่งเสริมให้เกษตรกรรวมทั้งผู้ที่ต้องการนำชุดตรวจสอบไปใช้ สามารถนำชุดทดสอบไปใช้ในภาคสนามได้ด้วยตนเอง เพื่อเป็นการเฝ้าระวัง และทำให้เกษตรกรสามารถปรับปรุงดิน และจัดการธาตุอาหารได้ทันต่อการเพาะปลูกอย่างมีประสิทธิภาพ


ไฟล์แนบ
.pdf   การพัฒนาชุดตรวจสอบธาตุอาหารรอง และเหล็กที่เป็นประโยชน์ในดิน เพื่อจัดการดินและปุ๋ย.pdf (ขนาด: 279.38 KB / ดาวน์โหลด: 263)
ตอบกลับ




ผู้ที่กำลังดูเรื่องนี้: 1 ผู้เยี่ยมชม