การศึกษาชนิดของศัตรูพืชกักกันที่ติดมากับเมล็ดพันธุ์วงศ์แตงที่นำเข้าจากต่างประเทศ
#1
การศึกษาชนิดของศัตรูพืชกักกันที่ติดมากับเมล็ดพันธุ์วงศ์แตงที่นำเข้าจากต่างประเทศ (เมล็ดพันธุ์แตงกวา)
วันเพ็ญ ศรีชาติ, ศรีวิเศษ เกษสังข์, ชลธิชา รักใคร่, วานิช คำพานิช และโสภา มีอำนาจ
กลุ่มวิจัยการกักกันพืช สำนักวิจัยพัฒนาการอารักขาพืช

          แตงกวา (Cucumis sativus L.) ข้อมูลศัตรูพืชที่เข้าทำลายส่วนต่างๆ ของแตงกวา มีทั้งสิ้น 190 ชนิด จัดเป็นแมลง 70 ชนิด ไร 9 ชนิด วัชพืช 9 ชนิด ไส้เดือนฝอย 14 ชนิด เชื้อรา 42 ชนิด แบคทีเรีย 16 ชนิด ไวรัส 29 ชนิด และจากการสุ่มตัวอย่างเมล็ดพันธุ์แตงกวานำเข้าจาก 15 ประเทศ ได้แก่ ประเทศสาธารณรัฐประชาชนจีน เกาหลี อินโดนีเซีย ฟิลิปปินส์ ญี่ปุ่น พม่า เปรู สหรัฐอเมริกา เม็กซิโก ฝรั่งเศส เนเธอร์แลนด์ อิสราเอล ชิลี แทนซาเนีย และ กัวเตมาลา ทำการตรวจสอบศัตรูพืชเบื้องต้นด้วยตาเปล่าและภายใต้กล้องจุลทรรศน์พบว่า ลักษณะเมล็ดพันธุ์แตงกวามีสีขาว เมล็ดสมบูรณ์ สะอาด ไม่พบร่องรอยการเข้าทำลายของแมลงศัตรูพืชหรือร่องรอยของเชื้อโรคศัตรูพืช เมล็ดพันธุ์บรรจุอยู่ในบรรจุภัณฑ์สะอาด ปิดมิดชิด และจากการตรวจวินิจฉัยเชื้อโรคและศัตรูพืชขั้นละเอียดกับเมล็ดพันธุ์แตงกวาในห้องปฏิบัติการด้วยวิธี Blotter method พบเชื้อรากับเมล็ดพันธุ์ที่นำเข้าจากประเทศอินโดนีเซีย ได้แก่ Curvularia pallescens, Exserohilum rostratum และ Phoma sp. แต่จากการตรวจด้วยวิธี Dilution technique ไม่พบเชื้อแบคทีเรียที่น่าสงสัยจะเป็นเชื้อก่อโรคกับเมล็ดพันธุ์ดังกล่าว และเมื่อนำเมล็ดพันธุ์ปลูกสังเกตอาการของโรคในโรงเรือน (Seedling symptom) ไม่พบอาการผิดปกติกับต้นแตงกวา ลักษณะต้นเจริญสมบูรณ์ ซึ่งจากการตรวจเอกสารและการสังเกตเมล็ดพันธุ์นำเข้าจากบางประเทศ มีการคลุกสารเคมีฆ่าเชื้อรา ได้แก่ Thiram หรือ Captan หรือ คลุกสารเคมีทั้ง 2 ชนิดกับเมล็ดพันธุ์นำเข้า อัตราการใช้ 85 กรัมต่อเมล็ดพันธุ์ น้ำหนัก 45 กิโลกรัม และเมล็ดพันธุ์ที่มาจากประเทศชิลี มีการฆ่าเชื้อด้วยกรดไฮโดรคลอริกมาด้วย และการติดตามตรวจสอบศัตรูพืชในแปลงปลูกเมล็ดพันธุ์แตงกวานำเข้าจากต่างประเทศ ในภาคเหนือ ภาคกลาง และภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ได้แก่ น่าน ลำปาง เชียงราย เพชรบุรี ราชบุรี สกลนคร อุดรธานี หนองบัวลำพู ขอนแก่น และเลย พบอาการโรคบนใบของแตงกวา ได้แก่ โรคราน้ำค้าง เกิดจากเชื้อสาเหตุ Pseudoperonospora cubensis โรคใบจุด เกิดจากเชื้อสาเหตุ Corynespora cassiciocla โรคใบจุด เกิดจากเชื้อสาเหตุ Colletotrichum laginarium โรคโคนแตกต้นแตกหรือยางไหล เกิดจากเชื้อสาเหตุ Didymella bryoniae โรคราแป้ง เชื้อสาเหตุ Oidium sp. โรคผลเน่า เกิดจากเชื้อสาเหตุ Pythium sp. และโรคเม็ดผักกาด เชื้อสาเหตุ Sclerotium rolfsii และอาการบนผลแตงกวา มีอาการจุดฉ่ำน้ำและเกิดเส้นใยเชื้อรา ที่มีสาเหตุเกิดจากเชื้อ Corynespora cassicicola, Colletotrichum lagenarium, Cercospora sp. และ Fusarium oxysporum อาการโรคที่มีสาเหตุจากเชื้อไวรัส ได้แก่ โรคใบด่าง เกิดจาก Cucumber mosaic virus ซึ่งศัตรูพืชที่ตรวจพบไม่ใช่ศัตรูพืชที่สำคัญด้านกักกันพืชของประเทศไทย


ไฟล์แนบ
.pdf   2470_2555.pdf (ขนาด: 1.65 MB / ดาวน์โหลด: 3,333)
ตอบกลับ




ผู้ที่กำลังดูเรื่องนี้: 1 ผู้เยี่ยมชม