การเพิ่มประสิทธิภาพในการควบคุมวัชพืชโดยการใช้สารกำจัดวัชพืชแบบ tank mixture
#1
การเพิ่มประสิทธิภาพในการควบคุมวัชพืชโดยการใช้สารกำจัดวัชพืชแบบ tank mixture
จรรยา มณีโชติ, สุพัตรา ชาวกงจักร์, เบญจมาศ คำสืบ, วนิดา ธารถวิล, ยุรวรรณ อนันตนมณี และสิริชัย สาธุวิจารณ์
สำนักผู้เชี่ยวชาญ สำนักวิจัยพัฒนาการอารักขาพืช, ศูนย์วิจัยและพัฒนาการเกษตรกาฬสินธุ์ สำนักวิจัยและพัฒนาการเกษตรเขตที่ 3, ศูนย์วิจัยและพัฒนาการเกษตรนครราชสีมา สำนักวิจัยและพัฒนาการเกษตรเขตที่ 4

          การทดลองนี้ดำเนินการในแปลงทดลอง 3 แห่งของสถาบันวิจัยและพัฒนามันสำปะหลัง ตำบลห้วยบง อำเภอด่านขุนทด จังหวัดนครราชสีมา ศูนย์วิจัยและพัฒนาการเกษตรนครราชสีมา อำเภอสีคิ้ว จังหวัดนครราชสีมา ศูนย์วิจัยและพัฒนาการเกษตรกาฬสินธุ์ อำเภอยางตลาด จังหวัดกาฬสินธุ์ ในระหว่างเดือนสิงหาคม 2553 - มีนาคม 2555 โดยวางแผนการทดลองแบบ RCB มี 4 ซ้ำ 14 กรรมวิธี ผลการทดลองพบว่า การผสมสารกำจัดวัชพืชสองชนิดที่มีประสิทธิภาพในการควบคุมวัชพืชต่างชนิดกันแบบ tank mixture สามารถเพิ่มประสิทธิภาพในการควบคุมวัชพืชได้กว้างขวางมากขึ้น สารกำจัดวัชพืชที่สามารถใช้ได้แบบ tank mixture ในมันสำปะหลัง ได้แก่ alachlor + diuron อัตรา 240-320 + 240-320, isoxaflutole + diuron อัตรา 10-15 + 240-320, clomazone + oxyfluorfen อัตรา 120 + 24, alachlor + metribuzin อัตรา 240 + 55-70, pendimethalin + flumioxazin อัตรา 192 + 10, s-metolachlor + flumioxazin อัตรา 165 + 10, และ acetochlor + diuron อัตรา 240-320 + 240-320 กรัมสารออกฤทธิ์ต่อไร่ โดยอัตราต่ำใช้สำหรับดินทราย และอัตราสูงใช้สำหรับดินร่วนชนิดวัชพืชใบแคบที่ควบคุมได้ เช่น หญ้านกสีชมพู (Echinochloa colona) หญ้าตีนติด (Brachiaria reptans) หญ้าปากควาย (Dactyloctenium aegyptium) หญ้าตีนนก (Digitaria sanguinalis) หญ้าตีนกา (Eleucine indica (L.) Gaertn.) หญ้าตีนกาใหญ่ (Arachne racemosa Ohwi) หญ้าแพรก (Cynodon dactylon) และหญ้าขนเล็ก (Brachiaria distachyta L.)


ไฟล์แนบ
.pdf   2290_2555.pdf (ขนาด: 524.87 KB / ดาวน์โหลด: 740)
ตอบกลับ




ผู้ที่กำลังดูเรื่องนี้: 1 ผู้เยี่ยมชม