คัดเลือกชนิด และศึกษาพฤติกรรมการกินหอยทากของหอยตัวห้ำวงศ์ Streptaxidae ในประเทศไทย
#1
คัดเลือกชนิด และศึกษาพฤติกรรมการกินหอยทากของหอยตัวห้ำวงศ์ Streptaxidae ในประเทศไทย
ดาราพร รินทะรักษ์, สมเกียรติ กล้าแข็ง และปราสาททอง พรหมเกิด
กลุ่มกีฏและสัตววิทยา สำนักวิจัยพัฒนาการอารักขาพืช

          ดำเนินการสำรวจและเก็บตัวอย่างหอยตัวห้ำวงศ์ Streptaxidae ตามภาคต่างๆ ของประเทศไทย ทั้งพื้นที่เกษตรกรรมและพื้นที่ป่า ตั้งแต่เดือนตุลาคม 2553 ถึงเดือนกันยายน 2555 นำมาจำแนกชนิดตามระบบอนุกรมวิธานของหอย โดยยึดหลักของ Abbott (1989), Hemmen and Hemmen (2001), Naggs (1989), Panha (1996) และ Vaught (1989) พบว่ามีหอยทากที่เป็นหอยตัวห้ำวงศ์ Streptaxidae จำนวน 4 genus 4 species คือ หอยนักล่าสีส้ม; Gulella bicolor หอยนักล่าสยาม; Perrottetia sismensis, Haploptychius petitii (Gould, 1844) และ Oophana sp. นำมาศึกษาชีววิทยาในสภาพห้องปฏิบัติการของกลุ่มงานวิจัยสัตววิทยาการเกษตร ซึ่งในปี 2554 ได้ศึกษา feeding behavior ของหอยนักล่าสีส้ม Gulella bicolor พบว่า มีศักยภาพในการกินหอยและไข่หอยที่มีขนาดใกล้เคียงหรือขนาดใหญ่กว่าเล็กน้อย เช่น หอยซัคซิเนีย หอยเลขหนึ่ง และหอยเจดีย์ใหญ่ โดยเฉลี่ยสัปดาห์ละ 2-3 ตัว/ตัว ในปีงบประมาณ 2556 ยังต้องดำเนินการศึกษาพฤติกรรมการกินหอยทากของหอยตัวห้ำวงศ์ Streptaxidae ชนิดอื่นๆ เพิ่มจำนวน 3 genus ในห้องปฏิบัติการ คือ หอยนักล่าสยาม, Perrottetia siamensis หอยนักล่า Haploptychius petitii (Gould, 1844) และหอยนักล่า Oophana sp. เพื่อคัดเลือกชนิดที่มีศักยภาพมากที่สุด และเตรียมนำข้อมูลที่ได้เก็บรวบรวมมาแล้วบางส่วนเตรียมจัดทำแผนที่การกระจายพันธุ์ของหอยทากตัวห้ำวงศ์ Streptaxidae โดยใช้โปรแกรม ArcGis และ ArcView ต่อไป


ไฟล์แนบ
.pdf   2392_2555.pdf (ขนาด: 477.97 KB / ดาวน์โหลด: 1,230)
ตอบกลับ




ผู้ที่กำลังดูเรื่องนี้: 1 ผู้เยี่ยมชม