การแพร่กระจายและความหลากหลายทางชีวภาพของหนูนาใหญ่ในประเทศไทย
#1
การแพร่กระจายและความหลากหลายทางชีวภาพของหนูนาใหญ่, Rattus argentiventer (Robinson and Kloss, 1916) ในประเทศไทย
สมเกียรติ กล้าแข็ง, วิชาญ วรรธนะไกวัล, เกรียงศักดิ์ หามะฤทธิ์, ปราสาททอง พรหมเกิด และทรงทัพ แก้วตา
กลุ่มกีฏและสัตววิทยา สำนักวิจัยพัฒนาการอารักขาพืช


          การศึกษาการแพร่กระจายและความหลากหลายทางชีวภาพของหนูนาใหญ่ (Rattus argentiventer) ในประเทศไทย ได้ทำการสำรวจและเก็บตัวอย่างหนูนาใหญ่ ในพื้นที่ทำนาของเกษตรกรภาคกลางในปี 2555 จากการศึกษาพบว่า หนูนาใหญ่จะขุดรูอาศัยอยู่ตามคันนาที่ใหญ่ หรือที่มีวัชพืชปกคลุม ขุยดินที่บริเวณทางเข้ารูมีขนาดเล็กละเอียดกว่าหนูพุกใหญ่และหนูพุกเล็ก มีนิสัยที่ระวังตัวขณะออกหากิน จากการเก็บตัวอย่างหนูนาใหญ่ที่ศึกษาเป็นตัวเต็มวัย (N = 55, เพศผู้ 31 ตัว เพศเมีย 24 ตัว) พบว่า ลักษณะสีขนบริเวณส่วนท้องสีขาวนวล และขนท้องขาวนวลมีแถบเส้นน้ำตาลถึงสีดำพาดกลางอก สีขาวเงิน 31, 31 และ 38 % ตามลำดับ ส่วนหนูเพศเมียมีนมที่หน้าอก 3 คู่ และที่หน้าท้อง 3 คู่ เหมือนกัน และน้ำหนัก (Wt.) เฉลี่ย 204.38 กรัม ความยาวหัวลำตัว (HB) เฉลี่ย 197.67 มิลลิเมตร ความยาวหาง (T) เฉลี่ย 182.59 มิลลิเมตร ความยาวตีนหลัง (HF) เฉลี่ย 36.31 มิลลิเมตร ความยาวหู (E) เฉลี่ย 23.06 มิลลิเมตร และจากการศึกษาลักษณะสัณฐานของกะโหลกและกระดูกรยางค์ ทั้ง 24 ลักษณะ มีค่าเฉลี่ย (มิลลิเมตร) ดังนี้ BR 8.57 LR 14.23 ONL 43.62 IB 5.67 BBC 16.47 ZB 20.65 BIF 2.97 BM1 2.04 LD 12.06 LIF 8.41 LBP 8.28 PPL 15.16 LB 7.82 BMF 3.18 BBP 4.25 CLM1-3 7.32 HBC 12.36 BZP 5.36 LM 23.18 HM 13.80 LLM 6.65 HL 25.67 FL 34.20 TL 36.99 มิลลิเมตร ตามลำดับ การศึกษาครั้งนี้ยังไม่เสร็จ ยังต้องดำเนินการศึกษาและวิเคราะห์ทางสถิติ รวมทั้งศึกษาและเก็บตัวอย่างหนูนาใหญ่ในภาคต่างๆ ในปีถัดไป


ไฟล์แนบ
.pdf   2504_2555.pdf (ขนาด: 793.14 KB / ดาวน์โหลด: 2,445)
ตอบกลับ




ผู้ที่กำลังดูเรื่องนี้: 1 ผู้เยี่ยมชม