ศูนย์วิจัยและพัฒนาการเกษตรภูเก็ต

ศูนย์วิจัยและพัฒนาการเกษตรภูเก็ต 166 ม.9 ต.เทพกระษัตรี อ.ถลาง จ.ภูเก็ต 83110

ศูนย์วิจัยและพัฒนาการเกษตรภูเก็ต  ก่อตั้งขึ้นเมื่อปี   พ.ศ. 2497  เดิมเรียกว่า  “แปลงเพาะขยายพันธุ์ยาง”  ตำบลเทพกระษัตรี อำเภอถลาง  จังหวัดภูเก็ต มีหน้าที่ผลิตและขยายยางพันธุ์ดีสู่เกษตรกรเท่านั้น ต่อมาในปี พ.ศ.2517 เปลี่ยนเป็น “สถานีทดลองยางถลาง สังกัด กองการยาง” กรมวิชาการเกษตร กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ปฏิบัติงานด้านวิจัยทดลองยาง การผลิตและขยายพันธุ์ยางและการถ่ายทอดเทคโนโลยียาง  ในปี พ.ศ. 2525 มีการปรับเปลี่ยนโครงสร้างใหม่ในกรมวิชาการเกษตรจึงจัดให้สถานีทดลองยางถลาง เป็นเครือข่ายของ ศูนย์วิจัยยางสุราษฎร์ธานี สังกัดสถาบันวิจัยยาง กรมวิชาการเกษตร

ในปี 2535 เปลี่ยนชื่อเป็น “สถานีทดลองยางภูเก็ต” ต่อมาปี พ.ศ. 2546 ปรับเปลี่ยนโครงสร้างใหม่เป็น “ศูนย์บริการวิชาการด้านพืชและปัจจัยการผลิตภูเก็ต”  สังกัดสำนักวิจัยและพัฒนาการเกษตรเขตที่ 7 กรมวิชาการเกษตร  และในวันที่ 27 มีนาคม พ.ศ.2552 เปลี่ยนเป็น “ศูนย์วิจัยและพัฒนาการเกษตรภูเก็ต” จนถึงปัจจุบัน

ในปี พ.ศ. 2545 ศูนย์วิจัยและพัฒนาการเกษตรภูเก็ต ได้รับงบประมาณ ตามโครงการส่งเสริมและพัฒนาการท่องเที่ยวเชิงอนุรักษ์ เพื่อดำเนินการพัฒนาพื้นที่และกิจกรรมของศูนย์ฯ ให้เป็นแหล่งท่องเที่ยวเชิงเกษตร (Ago-Tourism) โดยมุ่งให้ความรู้ทางการเกษตร ควบคู่กับความเพลิดเพลินจากการชมกิจกรรมและพืชพรรณที่หลากหลาย รวมทั้งเป็นสถานที่พักผ่อนหย่อนใจอันร่มรื่น

พื้นที่ภายในศูนย์รวม 144 ไร่ ส่วนใหญ่เป็นแปลงปลูกพืชชนิดต่างๆ และเนื่องจากภารกิจเดิมนั้นได้ปฏิบัติงานด้านยางพาราเป็นหลัก ดังนั้นจุดเน้นศูนย์จึงมุ่งให้สถานที่แห่งนี้เป็น “ศูนย์ท่องเที่ยวยางพารา” ที่ประกอบด้วยกิจกรรมของยางพาราอย่างครบวงจร

ห่างจากกรุงเทพฯ ประมาณ 910 กิโลเมตร สามารถเดินทางมาได้ทั้ง รถโดยสารประจำทาง รถยนต์ส่วนตัว และเครื่องบินโดยสาร

  • การเดินทางโดยรถโดยสารประจำทาง มีรถประจำทางจาก อ.เมืองภูเก็ต มาลงที่หน้า ศูนย์ฯ โดยรถประจำทางจาก บขส. – ศูนย์วิจัยและพัฒนาการเกษตรภูเก็ต ค่าโดยสาร 40 บาท ระยะทาง 23 กิโลเมตร วิ่งตั้งแต่เวลา 06.00-17.00 น. ใช้เวลาเดินทางประมาณ 30 นาที
  • การเดินทางโดยรถยนต์ส่วนตัว จากกรุงเทพฯ ใช้เส้นทางสายธนบุรี-ปากท่อ บนทางหลวงหมายเลข 35 ตรงเชื่อมกับทางหลวงหมายเลข 4 ถนนเพชรเกษม ผ่าน จ.เพชรบุรี ประจวบคีรีขันธ์ จนถึงชุมพร ให้วิ่งตรงไปตามทางหลวงหมายเลข 41 วิ่งไปถึงสี่แยกเข้าสุราษฎร์ธานี เลี้ยวขวาเข้าทางหลวงหมายเลข 401 ผ่าน อ.บ้านตาขุน เมื่อถึงสามแยกบ้านพังกวนเหนือ ให้เลี้ยวซ้ายเข้าทางหลวงหมายเลข 415  ไปจนถึง สามแยกเข้า อ.ทับปุด ให้เลี้ยวขวาเข้าทางหลวงหมายเลน 4 ไปทาง อ.ทับปุด ผ่าน อ.เมืองพังงา อ.ตะกั่วทุ่ง เมื่อถึงสามแยกบ้านโคกกลอย ให้เลี้ยวซ้ายวิ่งไปบนทางหลวงหมายเลข 402 ตรงขึ้นไปข้ามสะพานเทพกระกษัตรี ขับตรงไปประมาณ 20 กิโลเมตร  จะพบศูนย์วิจัยและพัฒนาการเกษตรภูเก็ตอยู่ซ้ายมือ ใช้เวลาเดินทางประมาณ 12 ชั่วโมง
  • การเดินทางโดยเครื่องบิน มีบริการหลายสายการบินและบินทุกวัน มากกว่า 10 เที่ยวบินต่อวัน ใช้เวลาเดินทางประมาณ 1 ชั่วโมง 15 นาที มีบริการรถลีมูซีนจากท่าอากาศยานนานาชาติภูเก็ตมาถึงศูนย์วิจัยและพัฒนาการเกษตรภูเก็ต ประมาณ 100 บาท  ระยะทาง 10 กิโลเมตร

ศูนย์วิจัยและพัฒนาการเกษตรภูเก็ต
ที่อยู่: 166 ม.9 ต.เทพกระษัตรี อ.ถลาง จ.ภูเก็ต 83110
โทรศัพท์: 076-621157
โทรสาร : 076-621077
E-mail : rpuket@doa.in.th

 

ปฏิทินการท่องเที่ยวประจำปี

มกราคม
กุมภาพันธ์ 
มีนาคม

กิจกรรมในศูนย์ท่องเที่ยว

ฐานที่ 1 การเรียนรู้พันธุ์พืชต่างๆ ในโครงการ อพ.สธ. (แปลงพฤกษศาสตร์) เป็นฐานเรียนรู้เกี่ยวกับพันธุ์พืชหลากหลายชนิด เช่น พรรณไม้หอม พืชสมุนไพรและเครื่องเทศ ไม้ป่ายืนต้น กล้วยไม้ป่า ปาล์ม เป็นต้น


ฐานที่ 2 การขยายพันธุ์ยางพารา เป็นกิจกรรมสาธิตการขยายพันธุ์ยางพาราด้วยการติดตา มีการแนะนาการผลิตกิ่งตายางและการดูแลรักษาแปลงกิ่งตา รวมไปถึงการแนะนาลักษณะของพันธุ์ยางพาราบางสายพันธุ์ เช่น สถาบันวิจัยยาง 251, RRIM 600


ฐานที่ 3 การกรีดยางและการปลูกพืชเสริมรายได้ในสวนยาง เป็นกิจกรรมสาธิตการกรีดยาง ฐานนี้ผู้สนใจสามารถทดสอบกรีดยางได้ พร้อมกับแนะนาการปลูกพืชเสริมรายได้ในสวนยาง (ผักพื้นบ้านและไม้ดอกไม้ประดับ)


ฐานที่ 4 การแปรูปยางแผ่น/โรงอบยางความร้อนจากแสงอาทิตย์ เป็นกิจกรรมสาธิตการทายางแผ่นที่ถูกต้องตามหลักวิชาการและการอบแผ่นยางในโรงอบยางความร้อนจากแสงอาทิตย์


ฐานที่ 5 การแปรรูปผลิตภัณฑ์ของที่ระลึกจากน้ายางข้น สาธิตขั้นตอนการแปรรูปจากยางพาราให้เป็นผลิตภัณฑ์ของที่ระลึกมากมาย ผู้สนใจสามารถระบายสีตุ๊กตายางด้วยตนเองในฐานนี้


ที่พักและสิ่งอำนวยความสะดวก งานบริการ ห้องพัก

ห้องประชุม มีทั้งห้องประชุมเล็ก และห้องประชุมใหญ่


สถานที่จัดกิจกรรม ลานอเนกประสงค์กว้างสำหรับทำกิจกรรม


มีบริการบ้านพัก เรือนนอน บังกะโล เต็นท์ สุขา และศาลาพักผ่อน


ระบบรักษาความปลอดภัย (กล้องวงจรปิด 16 จุด) และอินเทอร์เน็ตไร้สาย


สามารถโทรจองที่พักได้ที่  เบอร์โทรศัพท์ : 076-621157 

สถานที่ท่องเที่ยวใกล้เคียง

วัดพระนางสร้าง มีเรื่องเล่าสืบต่อกันมาว่า พระนางเลือดขาวเป็นผู้สร้างวัด พระนางเลือดขาวเป็นผู้ศรัทธาในพระพุทธศาสนามาก เป็นมเหสีของเจ้าผู้ครองนคร แต่ถูกคนใกล้ชิดกลั่นแกล้งว่ามีชู้ จึงต้องโทษประหารชีวิต แต่พระนางเลือดขาวขอไปนมัสการพระบรมธาตุที่ลังกาก่อน คณะของนางเลือดขาวลงเรือไปถึงลังกา เมื่อกลับมาได้นำพระพุทธรูปและโบราณวัตถุหลายอย่างมาด้วย ตอนเดินทางกลับพระนางเลือดขาวได้แวะพักที่เกาะถลาง แล้วสร้างวัดไว้เป็นที่ระลึก ปลูกต้นประดู่และต้นตะเคียน พร้อมทั้งนำของมีค่าทางพุทธศาสนาเช่นพระพุทธรูปฝังไว้ในเจดีย์ด้วย ชาวบ้านจึงเรียกกันว่าวัดพระนางสร้าง เมื่อสร้างวัดเสร็จแล้วจึงออกเดินทางกลับไปยังเมืองตน


สถานีพัฒนาและส่งเสริมการอนุรักษ์สัตว์ป่าเขาพระแทว สำหรับนักศึกษาและประชาชนทั่วไป ที่มีความสนใจเข้ามาทัศนศึกษาดูงาน จัดตั้งขึ้นโดยเขาพระแทว เป็นเขตสำหรับห้ามล่าสัตว์ โดยทำหน้าที่ส่งเสริมเผยแพร่และประชาสัมพันธ์เกี่ยวกับการอนุรักษ์ป่าไม้และสัตว์ป่าตลอดจน สิ่งแวดล้อมต่างๆ มีห้องพักสำหรับผู้เข้าชม สามารถสำรองที่พักได้ตลอดปี มีบริการร้านอาหารเล็กๆ และเครื่องดื่มผ่อนคลา


วัดพระทอง หรือวัดพระผุด เป็นวัดเก่าแก่ที่มีชื่อเสียงวัดหนึ่งในจังหวัดภูเก็ต ที่ตั้งของวัดพระทองอยู่ทางด้านทิศเหนือของเกาะภูเก็ต ใกล้ถนนเทพกระษัตรี “วัดพระผุด” มาจากที่วัดแห่งนี้มีพระพุทธรูปที่โผล่จากพื้นดินเพียงครึ่งองค์ ในปี พ.ศ. พระเจ้าปะดุง แม่ทัพพม่า ยกพลมาตีเมืองถลาง ทหารพม่าพยามยามที่จะขุดพระผุดเอากลับไป แต่เมื่อลงมือขุดก็เจอกับฝูงแตนไล่ต่อย จนต้องล้มเลิกในวัดพระทอง นอกจากจะมีพระผุดเป็นสิ่งศักดิ์สิทธิ์ประจำวัดแล้วยังมี พิพิธภัณฑสถานวัดพระทอง เป็นที่เก็บรวบรวมโบราณวัตถุข้าวของเครื่องใช้ของชาวภูเก็ตในสมัยก่อน เช่นอุปกรณ์การทำเหมืองแร่ รองเท้าของชาวจีนในสมัยก่อน


อุทยานแห่งชาติสิรินาท เป็นอุทยานแห่งชาติทางทะเลบริเวณชายฝั่งด้านทิศตะวันตกเฉียงเหนือของเกาะภูเก็ต ประกอบด้วยป่าสนทะเลธรรมชาติ หาดทรายขาวสะอาด แนวปะการังที่สวยงาม และที่วางไข่ของเต่าทะเล กับจักจั่นทะเลจำนวนมาก ตลอดจนหอยทะเลที่หายากหลายชนิด


หาดไม้ขาว UNSEEN PHUKET ครั้งหนึ่งในชีวิตต้องลองไปสัมผัสเครื่องบินแลนดิ้งระยะประชิดที่ หาดไม้ขาว จ.ภูเก็ต


สวนน้ำสแปลชจังเกิ้ล ภูเก็ต สนุกสนานกับสวนน้ำขนาดใหญ่ที่ถูกเนรมิตขึ้นบนพื้นที่กว่า 4 ไร่ ริมหาดไม้ขาว เป็นที่สุดของสวนน้ำในภาคใต้ของประเทศไทย เครื่องเล่นต่างๆอีกมากมาย เหมาะสำหรับครอบครัว และนักท่องเที่ยวที่รักการพจญภัย ผู้ใหญ่ 700 บาท / เด็ก(4-11 ปี) 400 บาท