ศูนย์วิจัยพืชสวนสุโขทัย

ศูนย์วิจัยพืชสวนสุโขทัย เลขที่ 239  หมู่ที่ 4  ตำบลท่าชัย  อำเภอศรีสัชนาลัย  จังหวัดสุโขทัย  รหัสไปรษณีย์ 64190

       ก่อนจะเป็นศูนย์วิจัยพืชสวนสุโขทัย พื้นที่นี้ได้ตั้งเป็นศูนย์บำรุงดินท่าชัย สังกัดกองการกสิกรรมเคมี กรมกสิกรรม กระทรวงเกษตร เมื่อปี พ.ศ. 2509 เพื่อทดลองด้านดินและปุ๋ย ของพืชไร่ พืชผัก ไม่ดอก ไม้ผล และพืชสวนอื่น ๆ ต่อมาได้มีการปรับโครงสร้างตามลำดับ ดังนี้

       พ.ศ. 2509  ศูนย์บำรุงดินท่าชัย กองการกสิกรรมเคมี กรมกสิกรรม

       พ.ศ. 2515  สถานีทดลองพืชสวนท่าชัย กองพืชสวน กรมวิชาการเกษตร

       พ.ศ. 2526  สถานีทดลองพืชสวนท่าชัย ศูนย์วิจัยพืชสวนพิจิตร สถาบันวิจัยพืชสวน กรมวิชาการเกษตร

       พ.ศ. 2546  ศูนย์บริการวิชาการด้านพืชและปัจจัยการผลิตสุโขทัย 2 (ได้รวมศูนย์วิจัยวัตถุมีพิษ เขต 1 เข้ามาด้วย) สำนักวิจัยและพัฒนาการเกษตรเขตที่ 2 พิษณุโลก กรมวิชาการเกษตร

       พ.ศ. 2549  ศูนย์บริการวิชาการด้านพืชและปัจจัยการผลิตสุโขทัย (ยุบรวมกับศูนย์บริการวิชาการด้านพืชและปัจจัยการผลิตสุโขทัย 1 ซึ่งเดิมคือ สถานีทดลองพืชไร่ศรีสำโรง) สำนักวิจัยและพัฒนาการเกษตรเขตที่ 2 พิษณุโลก กรมวิชาการเกษตร

       พ.ศ. 2559  ศูนย์วิจัยพืชสวนสุโขทัย สถาบันวิจัยพืชสวน กรมวิชาการเกษตร

ที่ตั้งของศูนย์อยู่ริมทางหลวงหมายเลข 101  ทางหลวงสายสวรรคโลก – ศรีสัชนาลัย ระหว่าง กม. ที่ 12 – 13 โดยการเดินทางจากกรุงเทพฯ ถึงศูนย์วิจัยพืชสวนสุโขทัย สามารถเลือกเดินทางได้ 3 เส้นทาง ตามความสะดวกของนักท่องเที่ยว ได้แก่

  • 1) เส้นทางการโดยสารพาหนะส่วนบุคคล สามารถใช้ระบบนำทาง GPS ได้ ในโปรแกรม Google Map ในเครื่องคอมพิวเตอร์และในสมาร์ทโฟน โดยพิมพ์ชื่อ “ศูนย์วิจัยพืชสวนสุโขทัย” ในช่องค้นหาสถานที่ มีระยะทางจากกรุงเทพประมาณ 450 กิโลเมตร
  • 2) เส้นทางการโดยสารรถประจำทาง ที่ตั้งของศูนย์อยู่ริมทางหลวงหมายเลข 101 ทางหลวงสายสวรรคโลก – ศรีสัชนาลัย ซึ้งปลายทางคือ จังหวัดอุตรดิตถ์ ดังนั้นจึงมีผู้ประกอบการเดินรถประจำทางผ่านเป็นประจำทุกวัน มีเที่ยวรถโดยสารเส้นทาง กรุงเทพฯ – ศูนย์วิจัยพืชสวนสุโขทัย ดังนี้
รายชื่อบริษัทต้นทางออกเวลาปลายทางถึงเวลาประเภทรถอัตราค่าบริการวันที่ทำการ
บริษัท ขนส่ง จำกัดบริษัทกรุงเทพฯ06.10ตลาดท่าชัย14.10ม.4ข342ทุกวัน
บริษัท สุโขทัยวินทัวร์ จำกัดกรุงเทพฯ08.00ศวส.สท.15.30ป.1391ทุกวัน
บริษัท สุโขทัยวินทัวร์ จำกัดกรุงเทพฯ09.15ศวส.สท.16.45ป.พิเศษ424ทุกวัน
บริษัท สุโขทัยวินทัวร์ จำกัดกรุงเทพฯ10.30ศวส.สท.18.00ป.1391ทุกวัน
บริษัท สุโขทัยวินทัวร์ จำกัดกรุงเทพฯ12.30ศวส.สท.20.00ป.1391ทุกวัน
บริษัท สุโขทัยวินทัวร์ จำกัดกรุงเทพฯ15.30ศวส.สท.23.00ป.1391ทุกวัน
บริษัท สุโขทัยวินทัวร์ จำกัดกรุงเทพฯ20.30ศวส.สท.04.00ป.1391ทุกวัน
บริษัท สุโขทัยวินทัวร์ จำกัดกรุงเทพฯ21.30ศวส.สท.05.00ป.1391ทุกวัน
บริษัท สุโขทัยวินทัวร์ จำกัดกรุงเทพฯ22.30ศวส.สท.06.00ป.1391ทุกวัน
บริษัท ขนส่ง จำกัดกรุงเทพฯ22.30ตลาดท่าชัย06.00ม.1ข342ทุกวัน
  • 3) เส้นทางการโดยสารเครื่องบิน การเดินทางด้วยเครื่องบิน โดยสายการบินที่ทำการบิน คือบางกอกแอร์เวย์ ของบริษัท การบินกรุงเทพ จำกัด ขึ้นเครื่องบินภายในประเทศ จากกรุงเทพฯ ถึง สนามบินสุโขทัย และจากสนามบินสุโขทัย ถึง ต่างจังหวัด ตามตารางเวลาดังนี้
ต้นทางปลายทางเที่ยวบินสายการบินเวลาออกเวลาถึงวันที่ทำการบิน
กรุงเทพสุโขทัยPG211บางกอกแอร์เวย์07.0008.15ทุกวัน
กรุงเทพสุโขทัยPG209บางกอกแอร์เวย์15.1516.30ทุกวัน
สุโขทัยกรุงเทพPG212บางกอกแอร์เวย์08.4510.00ทุกวัน
สุโขทัยกรุงเทพPG210บางกอกแอร์เวย์17.2018.15ทุกวัน

ศูนย์วิจัยพืชสวนสุโขทัย SUKHOTHAI HORTICULTURAL RESEARCH CENTER
ที่อยู่: เลขที่ 239  หมู่ที่ 4  ตำบลท่าชัย  อำเภอศรีสัชนาลัย  จังหวัดสุโขทัย
รหัสไปรษณีย์ 64190
โทร: 055-679-085
โทรสาร 055-679-085
E-mail : tachai51@gmail.com

ปฏิทินท่องเที่ยวประจำปี

เทศกาลผลไม้ นักท่องเที่ยวสามารถชม ชิม และซื้อกลับบ้านได้ ฤดูกาลของผลไม้ต่างๆ

มะปราง มะยงชิดช่วงเดือน มี.ค.-เม.ย
มะม่วงพันธุ์ต่างๆช่วงเดือน มี.ค.-เม.ย.
มะไฟช่วงเดือน เม.ย.-พ.ค.
กระท้อนช่วงเดือน พ.ค.-มิ.ย.
มะม่วงพันธุ์มหาชนกช่วงเดือน มิ.ย.-ก.ค.

       แปลงผักพื้นบ้านและไม้ดอกไม้ประดับ ให้ถ่ายภาพ รวมถึงสนามกว้างให้ออกกำลังกายได้ตลอดทั้งปี นอกจากนี้ผู้สนใจสามารถเข้ามาเยี่ยมชม ฝึกและสาธิตกิจกรรมต่างๆ ภายในศูนย์ฯ ติดต่อล่วงหน้าอย่างน้อย 2 วันทำการเพื่อทางศูนย์ฯ จะได้จัดเตรียมกิจกรรม สถานที่และอำนวยความสะดวกให้ท่านต่อไป โดยมีกิจกรรต่างๆ เช่น การสาธิตการขยายพันธุ์ไม้ผล สาธิตการแปรรูปผลิตภัณฑ์ต่างๆ เป็นต้น

กิจกรรมในศูนย์ท่องเที่ยว

  • ชิมผลไม้ตามฤดูกาล
  • ฝึกอบรมอาชีพเกี่ยวกับการเกษตร
  • เดิน วิ่ง ปั่นจักรยาน และพักผ่อนหย่อนใจ

ที่พักและสิ่งอำนวยความสะดวก งานบริการ ห้องพัก

บ้านพักรับรองหลัง A ทะเบียนครุภัณฑ์ 012 พสท. 7/2530
ค่าบริการ 50 บาท/คน/คืน
  • ทุกห้องสามารถใช้งานได้ปกติ พักได้ 1 – 10 คน ประกอบด้วย
  • ห้องนอน 2 ห้อง ห้องละ 3 เตียง
  • ห้องน้ำ 2 ห้อง ชั้นบนมีเครื่องทำน้ำอุ่น และชั้นล้าง
  • ห้องรับแขก 1 ห้อง มีที่นอนเสริมสามารถใช้เป็นห้องพักได้
เรือนแถวพักรับรองหลัง B ทะเบียนครุภัณฑ์ 032 พสท.6/2523
ค่าบริการ 50 บาท/คน/คืน
  • มีทั้งหมด 5 ห้อง ตั้งแต่ห้อง B1 – B5 แต่สามารถใช้ได้เพียง 4 ห้องเท่านั้น ตั้งแต่ห้อง B1 – B4 สามารถเข้าพักได้ 1 – 3 คนต่อห้อง รวมแล้วสามารถเข้าพักได้ 4 – 12 คน
  • ห้องนอน 1 ห้อง ห้องละ 3 เตียง ทั้งหมด 4 ห้อง 12 เตียง
  • ห้องน้ำ 1 ห้อง ทั้งหมด 4 ห้อง

ทางศูนย์ฯ ให้บริการสัญญาณ Internet wifi 24 hours แก่ผู้เข้าพัก
ให้บริการอาคารจัดประชุมและสัมมนา

สถานที่ท่องเที่ยวใกล้เคียง

          ชุมชนบ้านนาต้นจั่น เมืองมรดกแห่งภูมิปัญญา บ้านนาต้นจั่น ตั้งอยู่ที่ ตำบลบ้านตึก อำเภอศรีสัชนาลัย จังหวัดสุโขทัย บ้านนาต้นจั่นมีประวัติการก่อตั้งชุมชนยาวนาน มากกว่า 200 ปี ผู้คนส่วนใหญ่สืบเชื้อสายมาจากอาณาจักรล้านนาโบราณที่มีวัฒนธรรมอันสวยงาม ผูกพันกับธรรมชาติ ดำรงชีวิต และสร้างอาชีพจากธรรมชาติที่โอบล้อมชุมชนมาโดยตลอด โดยเฉพาะภูมิปัญญาการทอผ้า ที่ได้รับการสืบทอดมาจากบรรพบุรุษนานนับหลายชั่วอายุคน ผ้าทุกผืน เส้นใยทุกเส้น ตลอดจนสีที่ใช้ย้อมผ้า ล้วนทำมาจากวัตถุดิบธรรมชาติที่หาได้ในท้องถิ่นทั้งสิ้น เพราะชาวบ้านเชื่อว่า “คนเป็นส่วนหนึ่งของธรรมชาติ ดังนั้นทุกอย่างควรเป็นไปอย่างสมดุลระหว่างธรรมชาติกับคน”  ชาวบ้านทุกคนมีส่วนร่วมในการบริหารจัดการ กิจกรรมการท่องเที่ยวของชุมชนบ้านนาต้นจั่น เต็มไปด้วยสัมผัสแห่งธรรมชาติ และวัฒนธรรมที่สวยงาม ที่สามารถสร้างคุณค่า และความประทับใจให้กับนักท่องเที่ยวทั้งชาวไทย และชาวต่างประเทศ ประกอบด้วย การท่องเที่ยวแบบโฮมสเตย์ สัมผัสเสน่ห์ผ้าหมักโคลนชมการผลิตผ้าฝ้ายทอมือหมักโคลนและย้อมสีธรรมชาติ  การทำเฟอร์นิเจอร์จากซากไม้ และรากไม้ที่โค่นล้มเองตามธรรมชาติ  ชมการผลิตงานฝีมือจากภูมิปัญญาท้องถิ่น กิจกรรมการเที่ยวชมปางช้าง “ศูนย์อภิบาลช้างเร่ร่อน” เส้นทางท่องเที่ยวเดินศึกษาธรรมชาติ และการสาธิตและการฝึกทำอาหารพื้นบ้านเช่น เมนูข้าวเปิ๊บและอื่นๆ

 

อุทยานประวัติศาสตร์ศรีสัชนาลัย

  อุทยานประวัติศาสตร์ศรีสัชนาลัย ห่างจากศูนย์ฯไปทางทิศเหนือประมาณ 3 กิโลเมตร ในบริเวณอุทยานประวัติศาสตร์มีโบราณสถาน และโบราณวัตถุทั้งหมด 215 แห่ง สำรวจค้นพบแล้ว 204 แห่ง โบราณสถานที่สำคัญ ๆ ได้แก่ วัดพระศรีรัตนมหาธาตุ  วัดเขาพนมเพลิง วัดเขาสุวรรณคีรี  วัดช้างล้อม  วัดเจดีย์เจ็ดแถววัดสวนแก้วอุทยานใหญ่  วัดสวนแก้วอุทยานน้อย วัดนางพญา วัดกุฎีราย วัดพระปรางค์

อุทยานฯ เปิดให้นักท่องเที่ยวเข้าชมได้ทุกวัน ตั้งแต่เวลา 08.00-17.00 น. อัตราค่าเข้าชม ชาวไทย 10 บาท ชาวต่างชาติ 40 บาท หรือสามารถซื้อตั๋วรวมได้ ชาวไทย 30 บาท ชาวต่างชาติ 150 บาท ในกรณีที่นำยานพาหนะเข้าภายในเขตอุทยานฯ เสียค่าธรรมเนียมอีก ราคา 10-50 บาท และทางอุทยานฯ มีบริการรถรางนำชมโบราณสถานทั่วบริเวณ ชาวไทย 10 บาท ชาวต่างชาติ 30 บาท หากนักท่องเที่ยวที่ต้องการขอวิทยากรนำชม หรือสอบถามรายละเอียดเพิ่มเติมสามารถติดต่อได้ที่อุทยานประวัติศาสตร์ศรีสัชนาลัย อำเภอศรีสัชนาลัย จังหวัดสุโขทัย 64130 โทร. 0 5567 9211

(กรมอุทยานแห่งชาติ สัตว์ป่า และพันธุ์พืช)  ห่างจากศูนย์ฯไปทางทิศตะวันตกประมาณ 50 กิโลเมตร ิสถานที่น่าสนใจภายในบริเวณอุทยานฯ ได้แก่น้ำตกตาดเดือน ถ้ำธาราวสันต์ น้ำตกห้วยทรายขาว น้ำตกตาดดาว ถ้ำค้างคาว  อัตราค่าเข้าอุทยานฯ นักท่องเที่ยว ชาวไทย เด็ก 10 บาท ผู้ใหญ่ 20 บาท ชาวต่างชาติ เด็ก 100 บาท ผู้ใหญ่ 200 บาท

อุทยานประวัติศาสตร์สุโขทัย

       อุทยานประวัติศาสตร์สุโขทัย อยู่ตรงข้ามพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ รามคำแหง ห่างจากตัวจังหวัดสุโขทัยไปทางทิศตะวันตกประมาณ 12 กิโลเมตร ถนนจรดวิถีถ่อง ทางหลวงหมายเลข 12  สายสุโขทัย-ตาก อยู่ห่างจากศูนย์ฯไปทางทิศตะวันตกเฉียงใต้ประมาณ 62 กิโลเมตร บริเวณพื้นที่อุทยานประวัติศาสตร์สุโขทัยครอบคลุมพื้นที่กว่า 70 ตารางกิโลเมตร มีโบราณสถานที่สำคัญๆได้แก่ พระบรมราชานุสาวรีย์พ่อขุนรามคำแหงมหาราช กำแพงเมืองสุโขทัย วัดมหาธาตุ วัดชนะสงคราม เนินปราสาทพระร่วง วัดตระพังเงิน วัดสระศรี วัดศรีชุม

       อัตราค่าเข้าชม  นักท่องเที่ยว ชาวไทย 10 บาท ชาวต่างชาติ 40 บาท หรือสามารถซื้อตั๋วรวมได้ ชาวไทย 30 บาท ชาวต่างชาติ 150 บาท โดยบัตรนี้สามารถเข้าชมอุทยานฯ ต่าง ๆ ในจังหวัดสุโขทัยได้ ภายในระยะเวลา 30 วัน เปิดให้ เข้าชมทุกวันตั้งแต่เวลา 06.00-21.00 น. (ปิดจำหน่ายบัตรเวลา 18.00 น.) หมายเหตุ ตั้งแต่เวลาประมาณ 19.00-21.00 น.  จะมีการส่องไฟชมโบราณสถาน 

 

ศูนย์ศึกษาและอนุรักษ์เตาสังคโลก (เตาทุเรียง)

ตั้งอยู่ที่บ้านเกาะน้อย อ.ศรีสัชนาลัย ห่างจากตัวเมืองเก่าศรีสัชนาลัยเลียบแม่น้ำยมไปทางเหนือประมาณ 6.5 กิโลเมตร  ขุดพบเตาเผาเครื่องถ้วยสังคโลกแล้วกว่า 500 เตา ในระยะทางยาวประมาณ 1กิโลเมตร  ถือได้ว่าเป็นนิคมอุตสาหกรรมของเมืองศรีสัชนาลัย  มีการขุดพบเครื่องสังคโลกทั้งในสภาพสมบูรณ์และแตกหักเป็นจำนวนมาก  ลักษณะเตาเผาเป็นรูปยาวรีคล้ายประทุนเรือจ้าง ยาวประมาณ 7-8 เมตร

เทศกาลงานประเพณี

งานวันพ่อขุนรามคำแหงมหาราช  จัดวันที่ 15- 17 มกราคมของทุกปี ณ บริเวณพระบรมราชานุสาวรีย์พ่อขุนรามคำแหงมหาราชอุทยานประวัติศาสตร์สุโขทัย เพื่อเป็นการรำลึกและเผยแพร่พระเกียรติคุณให้ขจรขจายไปทั่ว 

ประเพณีบวชพระแห่นาคด้วยช้างของชาวหาดเสี้ยว  หรือชาวบ้านเรียกว่า “บวชช้าง” เป็นงานประเพณีอุปสมบทของชาวไทยพวน  บ้านหาดเสี้ยว  อำเภอศรีสัชนาลัย  จัดงานวันที่ 7- 8 เมษายน  ของทุกปี 

งานประเพณีสรงน้ำโอยทาน  สงกรานต์ศรีสัชนาลัย  จัดขึ้นในวันสงกรานต์ระหว่างวันที่ 10- 12 เมษายน ของทุกปี ณ อุทยานประวัติศาสตร์ศรีสัชนาลัย  อำเภอศรีสัชนาลัย  เพื่อเป็นการสืบทอดงานประเพณีที่เก่าแก่ของสุโขทัย 

งานประเพณีแห่น้ำขึ้นโฮง  จัดงานในวันที่ 18- 19 เมษายน ของทุกปี ณ บริเวณลานอนุสาวรีย์เจ้าพ่อเมืองด้ง  ตำบลบ้านตึก อำเภอศรีสัชนาลัย 

งานลอยกระทง  เผาเทียน  เล่นไฟ  เป็นงานประเพณีที่จังหวัดจัดขึ้น  ณ อุทยานประวัติศาสตร์สุโขทัย  โดยมีวันขึ้น 15 ค่ำ เดือน 12 ของทุกปีเป็นวันสุดท้ายของ

งานวันพิชิตยอดเขาหลวง  เป็นงานประจำปีที่จังหวัดสุโขทัยจัดให้นักท่องเที่ยว และประชาชนทั่วไป  ได้เดินขึ้นสู่ยอดเขาหลวงในอุทยานแห่งชาติรามคำแหง  อำเภอคีรีมาศ  จัดประมาณเดือนธันวาคมของทุกปี

งานสักการะพระแม่ย่าและงานกาชาดจังหวัดสุโขทัย  จัดขึ้นต้นเดือนกุมภาพันธ์ของทุกปี  ณ  บริเวณรอบศาลากลางจังหวัดสุโขทัย

สินค้าพื้นเมืองและของที่ระลึก

อำเภอศรีสัชนาลัย

ทองโบราณ  เป็นสินค้าที่ระลึกที่มีชื่อเสียง  และมีคุณค่าสูงทางด้านวัตถุ  ฝีมือช่างทองของคนท้องถิ่นในอำเภอศรีสัชนาลัยที่ไม่ได้ใช้เครื่องจักรใดๆ ช่วย  ทำเลียนแบบเครื่องประดับสุโขทัยโบราณ เช่น  สร้อยคอ  สร้อยข้อมือ  กำไล  ต่างหู  และแหวน  เป็นต้น

เงินโบราณ  เป็นงานฝีมือแท้ๆ ที่ใช้ความประณีตในแต่ละขั้นตอน  ทำเลียนแบบเครื่องทองโบราณ  หาชมได้ตามร้านเครื่องเงินในอำเภอศรีสัชนาลัย

ผ้าหาดเสี้ยว เป็นผ้าชิ่นตีนจกที่งดงามหลากหลายสี  มีลายจก  9 ลาย ผ้าเก่าบ้านหาดเสี้ยวจัดแสดงผ้าทองคำ  ผ้าตีนจกดิ้นเงิน  ดิ้นทอง  เครื่องแต่งตัวนาค ผ้าตีนจกลายดอกเคี๊ยะ  และตีนจกบ้านน้ำปาด  ฝีมือชาวไทยพวนที่อพยพมาจากเมืองพวน  ทางตอนเหนือของเมืองเวียงจันทน์  สาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว

กลุ่มชาวบ้านเกาะน้อย  ผลิตและจำหน่ายเครื่องปั้นดินเผาจากฝีมือท้องถิ่น