ข้อมูลพันธุ์พืชรับรอง พันธุ์พืชแนะนำ และสิ่งประดิษฐฺ์


ชื่อพืช อ้อย
พันธุ์ อู่ทอง 84-10
วันที่รับรอง 04 มกราคม 2553
ประเภทการรับรอง พันธุ์รับรอง
อ้อยพันธุ์อู่ทอง 84-10 หรืออ้อยโคลน 02-2-194 คัดจากลูกผสมของพันธุ์แม่ 97-2-535 กับพันธุ์พ่อ 94-2-128 ผสมข้ามพันธุ์ที่ศูนย์วิจัยพืชไร่สุพรรณบุรี ได้ลูกอ้อย 130 ต้น ในปี 2545 และปี 2546 -2547 ทำการปลูกคัดเลือกครั้งที่ 1-2 ที่ศูนย์วิจัยพืชไร่สุพรรณบุรี ปี 2548-2549 เปรียบเทียบเบื้องต้นพันธุ์อ้อย มีอ้อยทดลอง 42 โคลน มีพันธุ์ K 84-200 และอู่ทอง 3 เป็นพันธุ์เปรียบเทียบที่ศูนย์วิจัยพืชไร่สุพรรณบุรี ปี 2549-2551 เปรียบเทียบมาตรฐานพันธุ์อ้อย มีอ้อยทดลอง 16 โคลน พันธุ์ K 84-200 และอู่ทอง 3 เป็นพันธุ์เปรียบเทียบ ที่ศูนย์วิจัยพืชไร่สุพรรณบุรี ชัยนาทและระยอง ปี 2550-2552 เปรียบเทียบพันธุ์อ้อยในไร่เกษตรกร มีอ้อยทดลอง 8 โคลน มีพันธุ์ K 84-200 และ อู่ทอง 3 เป็นพันธุ์เปรียบเทียบ ในไร่เกษตรกร อ.หนองหญ้าไซ จ.สุพรรณบุรี อ.ท่ามะกา อ.บ่อพลอย จ.กาญจนบุรี และ อ.ชะอำ จ.เพชรบุรี อ้อยโคลน 02-2-194 ให้ผลผลิตน้ำหนักเฉลี่ย 16.44 ตัน/ไร่ ความหวานเฉลี่ย 13.61 ซีซีเอส และผลผลิตน้ำตาลเฉลี่ย 2.24 ตันซีซีเอส/ไร่ ขณะที่พันธุ์ K 84-200 ให้ผลผลิตน้ำหนักเฉลี่ย 12.68 ตัน/ไร่ ความหวานเฉลี่ย 13.50 ซีซีเอส และผลผลิตน้ำตาลเฉลี่ย 1.71 ตันซีซีเอส/ไร่ สำหรับพันธุ์อู่ทอง 3 ให้ผลผลิตน้ำหนักเฉลี่ย 10.92 ตัน/ไร่ ความหวานเฉลี่ย 14.44 ซีซีเอส และผลผลิตน้ำตาลเฉลี่ย 1.58 ตันซีซีเอส/ไร่ ปี 2551-2552 ทดสอบในไร่เกษตรกร มีอ้อยทดลอง 12 โคลน มีพันธุ์ K 84-200 และอู่ทอง 3 เป็นพันธุ์เปรียบเทียบที่ อ.ด่านมะขามเตี้ย จ.กาญจนบุรี อ้อยโคลน 02-2-194 ให้ผลผลิตน้ำหนักเฉลี่ย 19.62 ตัน/ไร่ ความหวานเฉลี่ย 13.11 ซีซีเอส และผลผลิตน้ำตาลเฉลี่ย 2.58 ตันซีซีเอส/ไร่ ขณะที่พันธุ์ K 84-200 ผลผลิตน้ำหนักเฉลี่ย 19.80 ตัน/ไร่ ความหวานเฉลี่ย 13.44 ซีซีเอส และผลผลิตน้ำตาลเฉลี่ย 2.67 ตันซีซีเอส/ไร่ สำหรับพันธุ์อู่ทอง 3 ผลผลิตน้ำหนักเฉลี่ย 20.62 ตัน/ไร่ ความหวานเฉลี่ย 13.67 ซีซีเอส และผลผลิตน้ำตาลเฉลี่ย 2.79 ตันซีซีเอส/ไร่
ลักษณะทรงกอตั้งตรง การติดของกาบใบกับลำต้นหลวมปานกลาง จำนวนหน่อต่อกอ (หลังงอก อายุ 4 เดือน) ปานกลาง (6-12 หน่อ) ยอดอ้อยสีเขียว ปล้องทรงกระบอก ยาว 10-20 ซม. และมีเส้นผ่าศูนย์กลางปล้อง 2.5 – 3.0 ซม. ปล้องตัดขวางกลม การเรียงต่อของปล้องซิกแซกเล็กน้อย ไขที่ปล้องมีมาก สีปล้องเมื่อต้องแสงม่วงเหลือบเหลือง สีปล้องเมื่อไม่ต้องแสงสีเหลือง ร่องเหนือตามีตื้น ความกว้างของวงราก 0.8-1.3 ซม. มีวงไข ตานูนปานกลาง ไม่มีขนตา ลักษณะของทรงใบโค้งปานกลาง ใบกว้าง 4-6 ซม. ลักษณะของลิ้นใบเป็นแถบตรงกลางพองออก ปลายเรียวแหลม ทั้ง 2 ข้าง ลักษณะหูใบขอบด้านนอกเป็นสามเหลี่ยม มีรอยบุบ หูใบขอบด้านในเป็นใบหอกยาว คอใบเป็นสามเหลี่ยมขอบเว้า และโค้ง ไม่มีขนที่กาบใบ ลำต้นสูง 246 ซม. ขนาดเส้นผ่าศูนย์กลางลำ 2.95 ซม.จำนวนลำต่อกอ 5.90 จำนวนปล้องต่อลำ 25
1. ในเขตชลประทาน ให้ผลผลิตน้ำหนักเฉลี่ย 19.77 ตัน/ไร่ สูงกว่าพันธุ์ K84-200 (14.02 ตัน/ไร่) ร้อยละ 41 สูงกว่าพันธุ์อู่ทอง 3 (11.57 ตัน/ไร่) ร้อยละ 71 ซึ่งเฉลี่ยจากผลผลิตน้ำหนักอ้อยปลูก 20.80 ตัน/ไร่ อ้อยตอ 1 18.31 ตัน/ไร่ อ้อยตอ 2 20.36 ตัน/ไร่ และให้ผลผลิตน้ำตาลเฉลี่ย 2.85 ตันซีซีเอส/ไร่ สูงกว่าพันธุ์ K84-200 (2.05 ตันซีซีเอส/ไร่) ร้อยละ 39 สูงกว่าพันธุ์อู่ทอง 3 (1.68 ตันซีซีเอส/ไร่) ร้อยละ 70 และความหวาน 14.42 ซีซีเอส ขณะที่พันธุ์ K84-200 และอู่ทอง 3 ความหวาน 14.66 และ 14.60 ซีซีเอส ตามลำดับ 2. ในเขตที่มีน้ำเสริม ให้ผลผลิตน้ำหนักเฉลี่ย 15.28 ตัน/ไร่ สูงกว่าพันธุ์ K 84-200 (13.79 ตัน/ไร่) ร้อยละ 11 สูงกว่าพันธุ์อู่ทอง 3 (12.88 ตัน/ไร่) ร้อยละ 19 ซึ่งเฉลี่ยจากผลผลิตน้ำหนักอ้อยปลูก 18.32 ตัน/ไร่ อ้อยตอ 1 14.33 ตัน/ไร่ อ้อยตอ 2 12.15 ตัน/ไร่ และให้ผลผลิตน้ำตาลเฉลี่ย 2.12 ตันซีซีเอส/ไร่ สูงกว่าพันธุ์ K 84-200 (1.81 ตันซีซีเอส/ไร่) ร้อยละ 17 สูงกว่าพันธุ์อู่ทอง 3 (1.84 ตันซีซีเอส/ไร่) ร้อยละ 15 และความหวาน 13.83 ซีซีเอส ขณะที่พันธุ์ K84-200 และอู่ทอง 3 ความหวาน 13.12 และ 14.24 ซีซีเอส ตามลำดับ 3.ต้านทานโรคเหี่ยวเน่าแดงปานกลาง
ควรปลูกอ้อยโคลน 02-2-194 ในพื้นที่เขตชลประทานหรือเขตที่มีน้ำเสริม
ไม่ควรปลูกอ้อยโคลน 02-2-194 ในเขตที่มีการระบาดของหนอนกออ้อย