ข้อมูลพันธุ์พืชรับรอง พันธุ์พืชแนะนำ และสิ่งประดิษฐฺ์


ชื่อพืช งาแดง
พันธุ์ อุบลราชธานี 2
วันที่รับรอง 22 มกราคม 2556
ประเภทการรับรอง พันธุ์แนะนำ
งาแดงพันธุ์อุบลราชธานี 2 หรืองาแดงสายพันธุ์ A30-15 ได้จากการคัดเลือกสายพันธุ์บริสุทธิ์ของสายพันธุ์ 30-15 ซึ่งรับมาจาก FAO เมื่อปี 2528 ที่ศูนย์วิจัยพืชไร่อุบลราชธานี ปลูกคัดเลือกสายพันธุ์บริสุทธิ์ ที่ศูนย์วิจัยพืชไร่อุบลราชธานี ระหว่างปี 2532-2534 ปลูกเปรียบเทียบเบื้องต้น จำนวน 1 แปลงทดลอง ปี 2535 ปลายฤดูฝน ที่ศูนย์วิจัยพืชไร่อุบลราชธานี ปลูกเปรียบเทียบมาตรฐาน จำนวน 3 แปลงทดลอง ปี 2536 ในต้นฤดูฝน ที่ศูนย์วิจัยพืชไร่อุบลราชธานี และสถานีทดลองพืชไร่มุกดาหารและปี2537 ปลายฤดูฝน ที่ศูนย์วิจัยพืชไร่อุบลราชธานี ปลูกเปรียบเทียบในท้องถิ่น จำนวน 6 แปลงทดลอง ปี 2538 ในต้นฤดูฝน ที่สถานีทดลองพืชไร่พิษณุโลก สถานีทดลองพืชไร่มุกดาหาร ปี 2538 ปลายฤดูฝน ที่ศูนย์วิจัยพืชไร่อุบลราชธานี ปี 2539 ต้นฤดูฝนที่สถานีทดลองพืชไร่พิษณุโลก ปี 2539 ปลายฤดูฝน ที่สถานีทดลองพืชไร่มุกดาหาร และศูนย์วิจัยพืชไร่อุบลราชธานี ปลูกเปรียบเทียบในท้องที่ จำนวน 17 แปลงทดลอง ระหว่างปี 2544-2546 ในสภาพนาแล้ง ที่สถานีทดลองพืชไร่เพชรบูรณ์ (3 แปลง) และในสภาพไร่ฤดูฝน (3 แปลง) ปี 2547-2548 ในฤดูฝน ที่สถานีทดลองพืชไร่พระพุทธบาท และสถานีทดลองพืชไร่เพชรบูรณ์ แห่งละ 4 แปลง ปี 2551 ฤดูฝน ที่สถานีทดลองพืชไร่เพชรบูรณ์ ปี 2551 ปลายฤดูฝนที่สถานีทดลองพืชไร่พระพุทธบาท และปี 2553 ฤดูฝน ที่สถานีทดลองพืชไร่พระพุทธบาท ปลูกทดสอบในไร่เกษตรกร จำนวน 13 แปลงทดสอบ ปี 2539 ฤดูฝน ที่จังหวัดลพบุรี ปี 2539 ปลายฤดูฝน ที่จังหวัดพิษณุโลก และสุโขทัย ปี 2540 ต้นและปลายฤดูฝน ที่จังหวัดศรีสะเกษ และลพบุรี ปี 2541 ต้นฤดูฝน ที่จังหวัดลพบุรี และเพชรบูรณ์ ปี 2541 ปลายฤดูฝน ที่จังหวัดศรีสะเกษ และนครสวรรค์ และปี 2553 ฤดูฝน ที่จังหวัดลพบุรี (2 แปลง)
ลักษณะทรงต้นแบบทอดยอด ลำต้นและใบสีเขียว ใบมีลักษณะเล็กปลายเรียว ดอกสีม่วง เมล็ดสีแดง ขนที่ฝักน้อย ฝักเรียงตัวแบบสลับ มี 2 พู อายุถึงออกดอก 33-36 วัน อายุถึงเก็บเกี่ยว 80-85 วัน ความสูง 136 ซม. กิ่งมี 4.3 กิ่งต่อต้น ฝัก 51 ฝักต่อต้น มีเปอร์เซ็นต์น้ำมัน 44.6 เปอร์เซ็นต์ มีปริมาณสารเซซามินสูง 6,823.38 มก./กก
1. ผลผลิต 134 กก./ไร่ สูงกว่าพันธุ์อุบลราชธานี 1 ร้อยละ 6 และให้ผลผลิตในเขตปลูกงาจังหวัดลพบุรีและเพชรบูรณ์ เฉลี่ย 142 กก./ไร่ สูงกว่าพันธุ์อุบลราชธานี 1 ร้อยละ 10 2. ปริมาณสารต้านอนุมูลอิสระ 10,451 มก./กก. สูงกว่าพันธุ์อุบลราชธานี 1 ร้อยละ 15 โดยเฉพาะอย่างยิ่งสารเซซามิน สูงกว่าพันธุ์อุบลราชธานี 1 ร้อยละ 15
สามารถใช้งาแดงพันธุ์อุบลราชธานี 84-2 ปลูกได้ทั่วไป ในสภาพการผลิตงาในประเทศไทย โดยเฉพาะอย่างยิ่ง ให้ผลผลิตสูงในแหล่งปลูกงา ได้แก่ จังหวัดเพชรบูรณ์และลพบุรี
หลีกเลี่ยงการปลูกพันธุ์นี้ในพื้นที่ที่มีการระบาดของโรคเน่าดำ ที่มีสาเหตุจากเชื้อรา Macrophomina phaseolina