ข้อมูลพันธุ์พืชรับรอง พันธุ์พืชแนะนำ และสิ่งประดิษฐฺ์


ชื่อพืช ชุดตรวจสอบธาตุอาหารพืชในดินและชุดตรวจสอบคุณภาพน้้าทางการเกษตร
พันธุ์ -
วันที่รับรอง 15 มกราคม 2562
ประเภทการรับรอง สิ่งประดิษฐ์
การพิจารณาปริมาณธาตุอาหารพืช ในปัจจัยการผลิต เช่น ดิน น้ำ ว่ามี หรือขาดแคลนธาตุอาหารในปริมาณเท่าใด จำเป็นต้องมีความรวดเร็ว และทันต่อฤดูกาลเพาะปลูกจริง การวิเคราะห์ ทางห้องปฏิบัติการแม้ว่าจะมีความถูกต้องแม่นย้า แต่ยังไม่สะดวกและต้องใช้ระยะเวลาพอสมควร รวมทั้งเกษตรกรไม่สามารถเข้าถึงได้โดยง่าย เกษตรกรส่วนใหญ่จึงปรับปรุงดินก่อนการเพาะปลูกตามค้าแนะน้าของผู้ค้าปัจจัยการผลิตทางการเกษตร และตามที่เคยปฏิบัติกันมา เพื่อให้เกษตรกรสามารถตรวจสอบความอุดมสมบูรณ์ และปรับปรุงดินได้อย่างถูกต้อง ในช่วงระยะเวลาที่เหมาะสม เพิ่มศักยภาพการผลิตพืช และใช้ปัจจัยการผลิตในกระบวนการผลิตพืชได้อย่างมีประสิทธิภาพ จึงจ้าเป็นต้องพัฒนา และประยุกต์เทคนิควิธีวิเคราะห์ธาตุอาหารพืช และคุณภาพน้ำ โดยจัดทำเป็น ชุดตรวจสอบอย่างง่าย (Test Kit) สำหรับให้เกษตรกรสามารถใช้ในการตรวจสอบได้ด้วยตัวเอง โดยมีความสะดวก และรวดเร็ว สามารถนำไปใช้ในภาคสนาม ดังนั้นจึงพัฒนาชุดตรวจสอบธาตุอาหารพืชในดิน ได้แก่ ได้แก่ ชุดตรวจสอบธาตุอาหารหลักในดิน ประกอบด้วย ค่าความเป็นกรด-ด่าง อินทรียวัตถุ ฟอสฟอรัส และโพแทสเซียม ชุดตรวจสอบธาตุอาหารรองและเหล็กในดิน ประกอบด้วย แคลเซียม แมกนีเซียม กำมะถัน และเหล็ก และพัฒนาชุดตรวจสอบคุณภาพน้ำ ได้แก่ คลอไรด์ คาร์บอเนตไบคาร์บอเนต ไนเตรท และฟอสเฟต ให้มีขนาดกะทัดรัด สามารถพกพาไปใช้ในภาคสนามได้อย่างสะดวก คล่องตัว ให้ผลการตรวจสอบเบื้องต้นที่ถูกต้อง รวดเร็ว ทำให้ เกษตรกร ผู้ประกอบการ หรือผู้ที่เกี่ยวข้อง สามารถตรวจสอบได้เอง ประหยัดทั้งเวลาและค่าใช้จ่ายมากว่าการส่งตัวอย่างมาวิเคราะห์ยังห้องปฏิบัติการ 1. ชุดตรวจสอบธาตุอาหารพืชในดิน ได้แก่ 1.1 ชุดตรวจสอบธาตุอาหารหลักในดิน ประกอบด้วย 1.1.1 ค่าความเป็นกรด-ด่าง หลักการ ประยุกต์ใช้วิธี Indicator method โดยเมื่อไฮโดรเจนไอออน (H+) ในสารละลายดินทำปฏิกิริยากับอินดิเคเตอร์ ทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงสีของอินดิเคเตอร์ตาม pH ดิน จุดเด่นของผลงาน ชุดตรวจสอบค่าความเป็นกรด-ด่างในดินให้ผลวิเคราะห์ที่มีสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์อย่างมีนัยสำคัญยิ่งกับผลวิเคราะห์ทางห้องปฏิบัติการ (r = 0.775*) สามารถตรวจสอบค่าความเป็นกรด-ด่างในดินได้ในช่วง 3.5-8.0 หน่วย pH ประสิทธิภาพของเทคโนโลยี ชุดตรวจสอบความเป็นกรด-ด่างมีความแม่นยำอ85.3% 1.1.2 อินทรียวัตถุ หลักการ ประยุกต์ใช้วิธี KMnO4 oxidize carbon method โดยวัดปริมาณคาร์บอนที่ถูก ออกซิไดส์ด้วยโพแทสเซียมเปอร์แมงกาเนต (KMnO4) เกิดสารประกอบเชิงซ้อนสีชมพูถึงใสตามปริมาณคาร์บอนซึ่งสัมพันธ์กับปริมาณอินทรียวัตถุในดิน จุดเด่นของผลงาน ชุดตรวจสอบอินทรียวัตถุในดินให้ผลวิเคราะห์ที่มีสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์อย่างมีนัยส้าคัญยิ่งกับผลวิเคราะห์ทางห้องปฏิบัติการ (r = 0.858*) สามารถตรวจสอบปริมาณอินทรียวัตถุในดินได้ในช่วง 0-5 % ประสิทธิภาพของเทคโนโลยี ชุดตรวจสอบอินทรียวัตถุมีความแม่นยำ 86.8% 1.1.3 ฟอสฟอรัส หลักการ ประยุกต์ใช้วิธี Molybdenum blue method เกิดจาก Phosphate ion จากสารละลายดิน ทำปฏิกิริยากับ Ammonium molybdate ascorbic acid ทำให้เกิดสารประกอบเชิงซ้อนสีน้ำเงิน จุดเด่นของผลงาน ชุดตรวจสอบฟอสฟอรัสที่เป็นประโยชน์ต่อพืชให้ผลวิเคราะห์ที่มีสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์อย่างมีนัยสำคัญยิ่งกับผลวิเคราะห์ทางห้องปฏิบัติการ (r = 0.879*) สามารถตรวจสอบปริมาณฟอสฟอรัสในดินได้ในช่วง 10-900 mg/kg ประสิทธิภาพของเทคโนโลยี ชุดตรวจสอบฟอสฟอรัสที่เป็นประโยชน์ต่อพืชมีความแม่นย้า 86.4% 1.1.4 โพแทสเซียม หลักการ ดัดแปลงจาก Turbidimetric method โดยการตกตะกอนโพแทสเซียมด้วย Sodium tetraphenylborate ท้าให้สารละลายดินเกิดความขุ่นตามความเข้มข้นของโพแทสเซียม จุดเด่นของผลงาน ชุดตรวจสอบโพแทสเซียมที่แลกเปลี่ยนได้ในดินให้ผลวิเคราะห์ที่มีสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์อย่างมีนัยสำคัญยิ่งกับผลวิเคราะห์ทางห้องปฏิบัติการ (r = 0.831*) สามารถตรวจสอบปริมาณโพแทสเซียมที่แลกเปลี่ยนได้ในดินได้ในช่วง <50-400 mg/kg ประสิทธิภาพของเทคโนโลยี ชุดตรวจสอบโพแทสเซียมที่แลกเปลี่ยนได้ในดินมีความแม่นยำ 80.3% 1.2 ชุดตรวจสอบธาตุอาหารรองและเหล็กในดิน ประกอบด้วย 1.2.1 แคลเซียม หลักการ ประยุกต์วิธี rotacidnI Method โดยการวิเคราะห์หาปริมาณแคลเซียม และใช้เมอเรกไซด(Murexide) เป็นอินดิเคเตอร์และจะเกิดสารประกอบเชิงซอนแคลเซียม-เมอเรกไซด์ (Ca-Murexide) ปรากฏเป็นสีชมพู จุดเด่นของผลงาน ชุดตรวจสอบแคลเซียมที่แลกเปลี่ยนได้ในดินให้ผลวิเคราะห์ที่มีสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์อย่างมีนัยส้าคัญยิ่งกับผลวิเคราะห์ทางห้องปฏิบัติการ (r = 0.847*) สามารถตรวจสอบปริมาณแคลเซียมที่ในดินได้ในช่วง 0-2,000 mg/kg ประสิทธิภาพของเทคโนโลยี ชุดตรวจสอบแคลเซียมที่แลกเปลี่ยนได้ในดินมีความแม่นยำ 80.0% 1.2.2 แมกนีเซียม หลักการ ประยุกต์วิธี Indicator Method โดยการวิเคราะห์หาปริมาณแมกนีเซียม ใช้เอริโอโครมแบล็กที (Eriochrome black T) เป็นอินดิเคเตอร์ จะเกิดสารประกอบเชิงซอนสีชมพูอมม่วงจนถึงสีน้ำเงิน ตามปริมาณแมกนีเซียมในดิน จุดเด่นของผลงาน ชุดตรวจสอบแมกนีเซียมในดินให้ผลวิเคราะห์ที่มีสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์อย่างมีนัยสำคัญยิ่งกับผลวิเคราะห์ทางห้องปฏิบัติการ (r=0.884*) สามารถตรวจสอบปริมาณแมกนีเซียมในดินได้ในช่วง 0-1,000 mg/kg ประสิทธิภาพของเทคโนโลยี ชุดตรวจสอบแมกนีเซียมในดินมีความแม่นยำ 80.2% 1.2.3 กำมะถัน หลักการ ดัดแปลงจากวิธี Turbidimetric method โดยปริมาณกำมะถัน สามารถหาได้จากปริมาณซัลเฟต ไอออนที่เกิดการตกตะกอนกับ BaCl2 ได้ตะกอนแบเรียมซัลเฟต (BaSO4) ทำให้สารละลายดินเกิดความขุ่นตามความเข้มข้นของกำมะถัน จุดเด่นของผลงาน ชุดตรวจสอบกำมะถันที่เป็นประโยชน์ในดินให้ผลวิเคราะห์ที่มีสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์อย่างมีนัยส้าคัญยิ่งกับผลวิเคราะห์ทางห้องปฏิบัติการ (r = 0.893*) สามารถตรวจสอบปริมาณกำมะถันในดินได้ในช่วง 0-100 mg/kg ประสิทธิภาพของเทคโนโลยี ชุดตรวจสอบกำมะถันที่เป็นประโยชน์ในดินมีความแม่นยำ 82.1% 1.2.4 เหล็ก หลักการ ประยุกต์ใช้วิธี Phenanthroline method โดยใช้ไฮดรอกซีลามีนไฮโดรคลอไรด์ (hydroxylamine hydrochloride) เป็นตัวรีดิวซ์เหล็กทั้งหมดให้อยู่ในรูป Fe2+ และเกิดสารประกอบเชิงซ้อนกับ 1,10-phenanthroline (หรือ o-phenanthroline) ให้สีแดงถึงส้ม จุดเด่นของผลงาน ชุดตรวจสอบเหล็กที่เป็นประโยชน์ต่อพืชในดินให้ผลวิเคราะห์ที่มีสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์อย่างมีนัยส้าคัญยิ่งกับผลวิเคราะห์ทางห้องปฏิบัติการ (r = 0.830*) สามารถตรวจสอบปริมาณเหล็กในดินได้ในช่วง 0-200 mg/kg ประสิทธิภาพของเทคโนโลยี ชุดตรวจสอบเหล็กในดินมีความแม่นยำ 88.0% 2. ชุดตรวจสอบคุณภาพน้ำ ได้แก่ 2.1 คลอไรด์ หลักการ ประยุกต์ใช้วิธี Argentometric Method โดยคลอไรด์ในตัวอย่างน้ำจะท้า ปฏิกิริยาเกิดสารประกอบกับสารซิลเวอร์ไนเตรต (AgNO3) โดยใช้โพแทสเซียมโครเมต (K2CrO4) เป็นอินดิเคเตอร์ ทำให้เกิดตะกอนของซิลเวอร์คลอไรด์ (AgCl) เป็นสีเหลืองถึงสีส้ม จุดเด่นของผลงาน ชุดตรวจสอบคลอไรด์ให้ผลวิเคราะห์ที่มีสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์อย่างมีนัยส้าคัญยิ่งกับผลวิเคราะห์ทางห้องปฏิบัติการ (r=0.820*) สามารถตรวจสอบปริมาณคลอไรด์ในน้ำได้ในช่วง 0-400 mg/l ประสิทธิภาพของเทคโนโลยี ชุดตรวจสอบคลอไรด์มีความแม่นยำ 80.6% 2.2 คาร์บอเนต หลักการ ประยุกต์ใช้วิธี rotacidnI Method โดยใช้ Phenolpthalein เป็นอินดิเคเตอร์ ถ้าของตัวอย่างน้ำมีเกลือคาร์บอเนตจะทำให้สารละลายเป็นสีชมพู จุดเด่นของผลงาน ชุดตรวจสอบคาร์บอเนตให้ผลวิเคราะห์ที่มีสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์อย่างมีนัยสำคัญยิ่งกับผลวิเคราะห์ทางห้องปฏิบัติการ (r=0.813*) สามารถตรวจสอบปริมาณคาร์บอเนตในน้ำได้ในช่วง 0-400 mg/l ประสิทธิภาพของเทคโนโลยี ชุดตรวจสอบคาร์บอเนตมีความแม่นยำ 82.5% 2.3 ไบคาร์บอเนต หลักการ ประยุกต์ใช้วิธี Indicator method วิเคราะห์ปริมาณไบคาร์บอเนต โดยใช้ เมทิลเรด Methy red เป็นอินดิเคเตอร์ จะเกิดทำให้สารละลายเป็นสีเหลือง จุดเด่นของผลงาน ชุดตรวจสอบไบคาร์บอเนตให้ผลวิเคราะห์ที่มีสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์อย่างมีนัยสำคัญยิ่งกับผลวิเคราะห์ทางห้องปฏิบัติการ (r=0.857*) สามารถตรวจสอบปริมาณไบคาร์บอเนตในน้ำได้ในช่วง 0-500 mg/l ประสิทธิภาพของเทคโนโลยี ชุดตรวจสอบไบคาร์บอเนตมีความแม่นยำ 80.8% 2.4 ไนเตรท หลักการ ประยุกต์ใช้วิธีทำให้เกิดสี โดย Sulfanilamide จะทำปฏิกิริยา Diazotization กับไอออนไนไตรท์ที่เกิดจากการรีดิวซ์ไนเตรทด้วย Zn ในสารละลายกรด กลายเป็น Diazonium salt จากนั้นเกิดปฏิกิริยารวมตัวกับ N-(1-Naphthyl)-ethylenediamine.2HCI ได้สารประกอบ Azo dye สีแดงม่วง จุดเด่นของผลงาน ชุดตรวจสอบไนเตรทให้ผลวิเคราะห์ที่มีสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์อย่างมีนัยส้าคัญยิ่งกับผลวิเคราะห์ทางห้องปฏิบัติการ (r = 0.861*) สามารถตรวจสอบปริมาณไนเตรทในน้ำได้ในช่วง 0-200 mg/l ประสิทธิภาพของเทคโนโลยี ชุดตรวจสอบไนเตรทมีความแม่นยำ 80.0% 2.5 ฟอสเฟต หลักการ ประยุกต์ใช้ Ascorbic acid methodโดยฟอสเฟตที่มีอยู่ในน้ำ (Phosphate ion) จะท้าปฏิกิริยากับ Ammonium molybdate antimony tatrate และ ascorbic acid ทำให้เกิดสารประกอบเชิงซ้อนสีน้ำเงิน จุดเด่นของผลงาน ชุดตรวจสอบฟอสเฟตให้ผลวิเคราะห์ที่มีสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์อย่างมีนัยสำคัญยิ่งกับผลวิเคราะห์ทางห้องปฏิบัติการ (0.865*) สามารถตรวจสอบปริมาณฟอสเฟตในน้ำได้ในช่วง 0-100 mg/l ประสิทธิภาพของเทคโนโลยี ชุดตรวจสอบฟอสเฟตมีความแม่นยำ 80.3% ประโยชน์ที่ได้รับจากงานวิจัย ได้ชุดตรวจสอบธาตุอาหารพืชในดิน และชุดตรวจสอบคุณภาพน้ำ ที่มีขนาดกะทัดรัด สามารถพกพาไปใช้ในภาคสนามได้อย่างสะดวก ให้ผลการตรวจสอบเบื้องต้น ที่ถูกต้อง รวดเร็ว ท้าให้เกษตรกร หรือผู้ที่เกี่ยวข้อง สามารถตรวจสอบได้เอง ทราบผลภายในเวลา 10-15 นาที ทำให้ประหยัดทั้งเวลา และค่าใช้จ่ายมากกว่าการส่งตัวอย่างมาวิเคราะห์ยังห้องปฏิบัติการ กลุ่มเป้าหมายที่จะขยายผล 1. สำนักวิจัยและพัฒนาการเกษตร เขตที่ 1-8 ซึ่งเป็นตัวแทนกรมวิชาการเกษตร ในส่วนภูมิภาคทั่วประเทศ ได้นำชุดตรวจสอบคุณภาพดินและนำไปใช้ตรวจวิเคราะห์ดินและน้ำแก่เกษตรกร 2. หน่วยงานเอกชน และผู้ประกอบการ สามารถพกพาไปใช้งานในภาคสนามได้อย่างสะดวก คล่องตัว ใช้งานอย่างง่ายๆ และรวดเร็ว ทราบผลภายในเวลา 10-15 นาที 3. เกษตรกร ที่สามารถตรวจสอบคุณภาพดินและน้้า ได้เองในไร่นา ได้อย่างรวดเร็ว 4. หน่วยงานภาครัฐ ได้แก่ กรมส่งเสริมสหกรณ์ กรมพัฒนาที่ดิน สำนักงานปฏิรูปที่ดินจังหวัด เกษตรสหกรณ์จังหวัด ส่งเสริมวิสาหกิจชุมชนในการใช้ตรวจวิเคราะห์ตัวอย่างดินและน้ำ