คลังผลงานวิจัย กรมวิชาการเกษตร

เวอร์ชั่นเต็ม: การจัดการวัชพืชแบบผสมผสานในมันสำปะหลัง
หมายเหตุ ดูเวอร์ชันเต็ม
การจัดการวัชพืชแบบผสมผสานในมันสำปะหลัง
จรรยา มณีโชติ, ยุรวรรณ อนันตนมณี, โสภิศ ใจปาละ, วันทนา เลิศศิริวรกุล, จารุณี ติสวัสดิ์, อภิชาติ เมืองซอง, สุพัตรา ชาวกงจักร์ และลักขณา ร่มเย็น
ผู้เชี่ยวชาญ สำนักวิจัยพัฒนาการอารักขาพืช, กลุ่มวิจัยวัชพืช สำนักวิจัยพัฒนาการอารักขาพืช, ศูนย์วิจัยพืชไร่เชียงใหม่ และศูนย์วิจัยพืชไร่ขอนแก่น สถาบันวิจัยพืชไร่และพืชทดแทนพลังงาน, ศูนย์วิจัยและพัฒนาการเกษตรกาฬสินธุ์ สำนักวิจัยและพัฒนาการเกษตรเขตที่ 3, ศูนย์วิจัยและพัฒนาการเกษตรอุบลราชธานี สำนักวิจัยและพัฒนาการเกษตรเขตที่ 4, ศูนย์วิจัยและพัฒนาการเกษตรฉะเชิงเทรา สำนักวิจัยและพัฒนาการเกษตรเขตที่ 6 และศูนย์วิจัยและพัฒนาการเกษตรนครราชสีมา สำนักวิจัยและพัฒนาการเกษตรเขตที่ 7

          จากการดำเนินงานการจัดการวัชพืชแบบผสมผสานในมันสำปะหลังบนพื้นที่ปลูกมันสำปะหลังของเกษตรกร ทั้งหมด 7 จังหวัด ได้แก่ นครราชสีมา ขอนแก่น กาฬสินธุ์ ลพบุรี พะเยา อุบลราชธานี และ ฉะเชิงเทรา เปรียบเทียบกับกรรมวิธีของเกษตรกร ในเบื้องต้นพบว่า การใช้สารกำจัดวัชพืชตามกรรมวิธีที่ทดลองไม่แสดงอาการเป็นพิษต่อต้นมันสำปะหลังในทุกพื้นที่ที่ทำการทดลอง และที่ระยะ 30 หลังใช้สารทุกกรรมวิธีที่ทดลองมีประสิทธิภาพในการควบคุมวัชพืชประเภทใบแคบและใบกว้างได้ในระดับดี และมีประสิทธิภาพลดลงเพียงเล็กน้อยที่ระยะ 60 วัน แต่ยังอยู่ในระดับดี ส่วนกรรมวิธีที่ใช้สาร s-metolachlor+flumioxazin และ สาร alachlor+diuron มีประสิทธิภาพในการควบคุมวัชพืชได้ดีมากจนถึงระยะ 60 วัน หลังใช้สาร ในทุกพื้นที่ที่ทำการทดลอง ซึ่งมีประสิทธิภาพดีกว่ากรรมวิธีของเกษตรกรที่ในบางพื้นที่ใช้สารกำจัดวัชพืชชนิดก่อนงอกแบบเดี่ยว ซึ่งมีประสิทธิภาพในการควบคุมวัชพืชได้เพียงใบแคบหรือใบกว้างเท่านั้น หรือ ใช้สารกำจัดวัชพืชชนิดหลังงอก เช่น พาราควอต ในการกำจัดวัชพืชที่งอกหลังจากต้นมันสำปะหลังและวัชพืชงอกแล้ว ทำให้ละอองสารปลิวไปโดนต้นมันสำปะหลัง เกิดอาการเป็นพิษต่อต้นมันสำปะหลังส่งผลต่อการเจริญเติบโต และการใช้วิธีกล ซึ่งต้องใช้เวลานานและค่าแรงสูง ในขณะนี้กำลังดำเนินการเก็บข้อมูลผลผลิตมันสำปะหลังเพื่อเปรียบเทียบปริมาณผลผลิตจากการใช้สารกำจัดวัชพืชในแต่ละกรรมวิธี