คลังผลงานวิจัย กรมวิชาการเกษตร

เวอร์ชั่นเต็ม: การควบคุมหอยซัคซิเนีย Succinea sp. ในสวนกล้วยไม้โดยวิธีผสมผสาน
หมายเหตุ ดูเวอร์ชันเต็ม
การควบคุมหอยซัคซิเนีย Succinea sp. ในสวนกล้วยไม้โดยวิธีผสมผสาน
ปราสาททอง พรหมเกิด, ปิยาณี หนูกาฬ, ดาราพร รินทะรักษ์, สมเกียรติ กล้าแข็ง และวิไลวรรณ เวชยันต์
กลุ่มกีฏและสัตววิทยา สำนักวิจัยพัฒนาการอารักขาพืช

          ในปี 2554 - 2555 ได้ทำการทดลองควบคุมหอยซัคซิเนียในสวนกล้วยไม้ที่ อ.ท่าม่วง จ.กาญจนบุรี จำนวน 2 แปลงในปี 2554 และปี 2555 ปีละ 1แปลง ตามแผน RCB จำนวน 11 กรรมวิธีๆ ละ 3 ซ้ำด้วยการพ่นT.1 เมทัลดีไฮด์ 80% WP T.2 กากเมล็ดชา T.3 สารสกัดมะคำดีควาย T.4 เหยื่อเมทัลดีไฮด์ T.5 กากเมล็ดชา T.6 กากเมล็ดชา T.7 เมทัลดีไฮด์ 80 % WP T.8 กากเมล็ดชา T.9 ไส้เดือนฝอย Steinernema carpocapsae T.10 สารสกัดมะคำดีควาย และ T.11 กรรมวิธีไม่พ่นสารโดยแต่ละกรรมวิธีมีการกำจัดวัชพืชด้วยการใช้มือถอนถ้ามีวัชพืชขึ้น หลังทดสอบ 3 วัน พบว่าจำนวนประชากรหอยที่มีชีวิตในแต่ละกรรมวิธีลดลง สามารถควบคุมประชากรหอยได้ จึงเลือกกรรมวิธีที่คุ้มค่าและปลอดภัยทดลองต่อในแปลงใหญ่ขนาด 1ไร่ทั้งแปลงที่ควบคุมแบบผสมผสานและแปลงที่เกษตรกรควบคุมเอง พบว่า แปลงควบคุมแบบผสมผสานหลังพ่นสารสกัดกากชาน้ำมัน 2 ครั้ง ในเดือนเมษายนและเดือนกันยายน มีประชากรเฉลี่ย 2.03, 2.33, 2.57, 2.44, 16.25 และ 3.45 ตัว/ตารางเมตร ตามลำดับ ส่วนแปลงที่เกษตรกรควบคุมเองพบว่า มีประชากรหอยเฉลี่ย 18.95, 21.80, 19.6, 22.4, 27.26 และ 37.13 ตัว/ตารางเมตร ตามลำดับ ดินทั้ง 2 แปลงมีความชื้น 60 - 90% pH 7-8 จะดำเนินกำรควบคุมหอยในปี 2557 ต่อไป