คลังผลงานวิจัย กรมวิชาการเกษตร

เวอร์ชั่นเต็ม: การคัดเลือกและทดสอบประสิทธิภาพสารเคมีควบคุมโรคกล้วยไม้สกุลแวนด้าที่เกิดจากแบคทีเรีย
หมายเหตุ ดูเวอร์ชันเต็ม
การคัดเลือกและทดสอบประสิทธิภาพสารเคมีควบคุมโรคกล้วยไม้สกุลแวนด้าที่เกิดจากแบคทีเรีย
วรางคนา แซ่อ้วง, สุรีย์พร บัวอาจ, รุ่งนภา คงสุวรรณ์ และปิยรัตน์ ธรรมกิจวัฒน์
กลุ่มบริหารศัตรูพืช และกลุ่มวิจัยโรคพืช สำนักวิจัยพัฒนาการอารักขาพืช และสำนักวิจัยพัฒนาเทคโนโลยีชีวภาพ

          ศึกษาประสิทธิภาพสารเคมีควบคุมโรคกล้วยไม้ที่เกิดจากแบคทีเรียในระดับโรงเรือนปลูกพืชทดลอง จากการทดลองพบว่า ทุกกรรมวิธีได้ขนาดแผลหลังการพ่นสารเคมี น้อยกว่า กรรมวิธีควบคุม จากการปลูกเชื้อโรคเน่า Burkholderia gladioli พบว่า การฉีดพ่นสารเคมีแคงเกอร์x 19.5% WP ความเข้มข้น 300 ppm สามารถยับยั้งการเจริญของเชื้อแบคทีเรียได้ 94.2% สารคูโปรฟิกซ์ 77% WG ความเข้มข้น 2,000 ppm สามารถยับยั้งการเจริญของเชื้อแบคทีเรียได้ 18.3% และสารฟังกูราน 77% WP ความเข้มข้น 500 ppm สามารถยับยั้งการเจริญของเชื้อแบคทีเรียได้ 15.8% ตามลำดับ

          โรคเน่าเละจากเชื้อ Erwinia carotovora subsp. carotovora พบว่า การฉีดพ่นสารเคมีคาซูมิน 2% W/V ความเข้มข้น 1,500 ppm สามารถยับยั้งการเจริญของเชื้อแบคทีเรียได้ 97.2% สารเคมีแคงเกอร์x 19.5% WP ความเข้มข้น 300 ppm สามารถยับยั้งการเจริญของเชื้อแบคทีเรียได้ 63.6% และสารริดโดมิลโกลด์ ไม่สามารถยับยั้งการเจริญของเชื้อแบคทีเรียได้

          ส่วนโรคเน่าเละจากเชื้อ Erwinia chrysanthemi พบว่า การฉีดพ่นสารเคมีแคงเกอร์x 19.5% WP ความเข้มข้น 450 ppm สามารถยับยั้งการเจริญของเชื้อแบคทีเรียได้ 66.67% สารริดโดมิลโกลด์ ความเข้มข้น 1,000ppm สามารถยับยั้งการเจริญของเชื้อแบคทีเรียได้ 50% และสารเคมีคาซูมิน 2% W/V ความเข้มข้น 1,500 ppm สามารถยับยั้งการเจริญของเชื้อแบคทีเรียได้ 33.33% ตามลำดับ