คลังผลงานวิจัย กรมวิชาการเกษตร

เวอร์ชั่นเต็ม: การศึกษาการป้องกันกำจัดโรคสำคัญของกล้วยไม้ดินโดยวิธีที่เหมาะสม
หมายเหตุ ดูเวอร์ชันเต็ม
การศึกษาการป้องกันกำจัดโรคสำคัญของกล้วยไม้ดินโดยวิธีที่เหมาะสม
ทัศนาพร ทัศคร, อภิรัชต์ สมฤทธิ์, ธารทิพย ภาสบุตร และพีระวรรณ พัฒนวิภาส
กลุ่มวิจัยโรคพืช สำนักวิจัยพัฒนาการอารักขาพืช

          ในปี 2555 ได้นำป้องกันกำจัดโรคพืชทั้ง 6 ชนิด ไปทดสอบประสิทธิภาพในการป้องกันกำจัดโรคใบไหม้ในสภาพโรงเรือน ผลการทดลองพบว่า ให้ผลสอดคล้องกัน คือ สารป้องกันกำจัดโรคพืชที่มีประสิทธิภำพในการป้องกันกำจัดโรคใบไหม้ในกล้วยไม้เอื้องดินใบหมากในสภาพโรงเรือนได้ดีคือ สาร propiconazole + procholraz 40+9% W/V/EC และสาร prochloraz 50 % W.P. ซึ่งขนาดแผลที่เกิดขึ้นมีขนาด 0.81 และ 0.82 เซนติเมตร เมื่อเปรียบเทียบกับกรรมวิธีปลูกเชื้อสาเหตุโรคอย่างเดียวที่มีขนาดแผล 2.51 เซนติเมตร ในปี 2556 ได้ทดสอบสารป้องกันกำจัดโรคพืช 4 ชนิด ที่มีประสิทธิภาพในการป้องกันกำจัดโรคใบไหม้ในกล้วยไม้เอื้องดินใบหมากในสภาพแปลงทดลอง โดยวางแผนการทดลองแบบ RCB จำนวน 4 ซ้ำ 5 กรรมวิธี ผลการทดลองพบว่า สารป้องกันกำจัดโรคพืชที่มีประสิทธิภาพในการป้องกันกำจัดโรคใบไหม้ในกล้วยไม้เอื้องดินใบหมากได้ดี คือ สาร azoxystrobin + difenoconazole 32.5 % W/V/SC , carbendazim 50 % W/V/SC และ prochloraz 50 % W.P. ซึ่งมีระดับควำมรุนแรงของโรคเฉลี่ย 1.96, 1.79 และ 1.93 ตามลำดับ และมีความแตกต่างทางสถิติกับกรรมวิธีไม่พ่นสาร ซึ่งมีระดับความรุนแรงโรคเฉลี่ย 3.29