คลังผลงานวิจัย กรมวิชาการเกษตร

เวอร์ชั่นเต็ม: ทดสอบประสิทธิภาพของสารป้องกันกำจัดโรคพืชในการควบคุมโรคใบไหม้ใบจุด
หมายเหตุ ดูเวอร์ชันเต็ม
ทดสอบประสิทธิภาพของสารป้องกันกำจัดโรคพืชในการควบคุมโรคใบไหม้ใบจุด
ทัศนาพร ทัศคร, ธารทิพย ภาสบุตร สุธามาศ ณ น่าน และณัฏฐิมา โฆษิตเจริญกุล
กลุ่มวิจัยโรคพืช สำนักวิจัยพัฒนาการอารักขาพืช และศูนย์วิจัยพืชสวนเชียงราย สถาบันวิจัยพืชสวน

          แยกเชื้อราสาเหตุโรคใบไหม้ ใบจุดของปทุมมาพันธุ์สโนไวท์ เชียงใหม่ชมพู ทับทิมสยาม และกระเจียวพันธุ์ลัดดาวัลย์ พบว่า สามารถแยกได้เชื้อราซึ่งเมื่อศึกษาลักษณะทางสัณฐาน พบว่า เป็นรา Acremonium sp. และน าเชื้อรา Acremonium sp. จำนวน 3 ไอโซเลท ที่แยกได้จากแหล่งปลูกจังหวัดนครปฐม กาญจนบุรี และเชียงราย มาทำการทดสอบประสิทธิภาพสารป้องกันกำจัดโรคพืชในห้องปฏิบัติการ ตามกรรมวิธีที่วางไว้ ได้แก่ สาร carbendazim 50% WP, propiconazole 25% W/V EC, prochloraz 50%WP, hexaconazole 5% W/V SC, azoxystrobin 25% W/V SC, difenoconazole 25% W/V EC และ azoxystrobin + difenoconazole 20% + 12.5% W/V SC ที่ระดับความเข้มข้น 10, 100, และ 1,000 ppm. ที่ 9 วันหลังการทดลอง พบว่า สารป้องกันกำจัดโรคพืชในทุกกรรมวิธีสามารถป้องกันกำจัดเชื้อราสาเหตุโรค Acremonium sp. ได้ดีทุกกรรมวิธีและทุกระดับความเข้มข้น ยกเว้นสาร azoxystrobin 25% W/V SC ที่ไม่สามารถยับยั้งการเจริญของเส้นใยเชื้อราสาเหตุโรคได้ ในปี 2556 ได้ทดสอบประสิทธิภาพสารป้องกันกำจัดโรคพืชในการป้องกันโรคใบจุดใบไหม้ในสภาพแปลงทดลอง จำนวน 2 แปลง พบว่า ทุกกรรมวิธีที่พ่นสาร carbendazim 50% WP อัตรา 20 ม.ล./น้ำ 20 ลิตร, difenoconazole 25% W/V EC อัตรา 10 ม.ล./น้ำ 20, propiconazole 25% W/V EC อัตรา 10 ม.ล./น้ำ 20 ลิตร , prochloraz 50%WP อัตรา 20 กรัม/น้ำ 20 ลิตร , hexaconazole 5% W/V SC อัตรา 5 ม.ล./น้ำ 20 ลิตร , azoxystrobin + difenoconazole 20% + 12.5% W/V SC อัตรา 10 ม.ล./น้ำ 20 ลิตร มีประสิทธิภาพดีในการป้องกันกำจัดโรคใบจุดใบไหม้ในกระเจียวสอดคล้องกันทั้ง 2 แปลงทดลอง