คลังผลงานวิจัย กรมวิชาการเกษตร

เวอร์ชั่นเต็ม: ศึกษาหาระยะเวลาหรือความถี่ในการพ่นจุลินทรีย์
หมายเหตุ ดูเวอร์ชันเต็ม
ศึกษาหาระยะเวลาหรือความถี่ในการพ่นจุลินทรีย์
วิไลวรรณ เวชยันต์, สาทิพย์ มาลี, อิศเรส เทียนทัด และสมชัย สุวงศ์ศักดิ์ศรี
กลุ่มกีฏและสัตววิทยา สำนักวิจัยพัฒนาการอารักขาพืช

          ศึกษาหาระยะเวลาหรือความถี่ในการพ่นจุลินทรีย์เพื่อควบคุมด้วงหมัดผักในคะน้า ดำเนินการทดลองที่ อำเภอท่าม่วง จังหวัดกาญจนบุรี ปี 2555 - 2556 โดยวางแผนการทดลองแบบ RCB จำนวน 4 ซ้ำ 5 กรรมวิธี คือ ใช้ไส้เดือนฝอย Steinernema carpocapsae อัตรา 2x10(7) ตัวต่อน้ำ 20 ลิตร ทุก 7 วัน, ใช้ Steinernema carpocapsae อัตรา 2x10(7) ตัวต่อน้ำ 20 ลิตร ทุก 14 วัน, พ่น Bacillus thruringiensis subsp. tenebrionis อัตรา 80 มิลลิลิตรต่อน้ำ 20 ลิตร ทุก 7 วัน, พ่น fipronil (แอสเซ็นด์) 5% SC อัตรา 40 มิลลิลิตรต่อน้ำ 20 ลิตร ทุก 7 วันเปรียบเทียบกับการไม่พ่นสารป้องกันกำจัดแมลง (control) ตรวจนับจำนวนด้วงหมัดผักก่อนการทดลอง พบด้วงหมัดผักจำนวน 79,70,73,73 และ 75 ตัว ตามลำดับ จำนวนด้วงหมัดผักในแต่ละกรรมวิธีก่อนการพ่นสารไม่มีความแตกต่างกันทางสถิติ หลังพ่นสารครั้งที่ 1 พบจำนวนด้วงหมัดผักในกรรมวิธีการใช้ไส้เดือนฝอย S. carpocapsae อัตรา 2x10(7) ตัวต่อน้ำ 20 ลิตร ทุก 7 และ14 วัน พบด้วงหมัดผักเท่ากับ 40 และ 39 ตัว ตามลำดับ ซึ่งวิธีการนี้ ให้ผลในการควบคุมด้วงหมัดผักได้ดีที่สุด และมีความแตกต่างจากกรรมวิธีไม่พ่นสาร แต่ไม่แตกต่างจากการพ่น Bacillus thruringiensis subsp. tenebrionis ตามคำแนะนำ และพ่นสาร fipronil (แอสเซ็นด์) 5% SC อัตรา 40 มิลลิลิตรต่อน้ำ 20 ลิตร ซึ่งพบด้วงหมัดผัก 48 ตัว และ 48 ตัว ตามลำดับ หลังพ่นสารครั้งที่ 2 พบจำนวนด้วงหมัดผักเท่ากับ 35, 46, 47, 44, และ 53 ตัว ตามลำดับ กรรมวิธีการใช้ไส้เดือนฝอย S. carpocapsae อัตรา 2x10(7) ตัวต่อน้ำ 20 ลิตร ทุก 7 วัน ให้ผลในการควบคุมด้วงหมัดผักได้ดีที่สุด และมีความแตกต่างจากกรรมวิธีไม่พ่นสาร