คลังผลงานวิจัย กรมวิชาการเกษตร

เวอร์ชั่นเต็ม: การทดสอบประสิทธิภาพของผลิตภัณฑ์ไส้เดือนฝอย Steinernema carpocapsae สูตรผงในการควบคุม
หมายเหตุ ดูเวอร์ชันเต็ม
การทดสอบประสิทธิภาพของผลิตภัณฑ์ไส้เดือนฝอย Steinernema carpocapsae สูตรผงในการควบคุมแมลงศัตรูพืช
สาทิพย์ มาลี และวิไลวรรณ เวชยันต์
กลุ่มกีฏและสัตววิทยา สำนักวิจัยพัฒนาการอารักขาพืช


         การทดสอบประสิทธิภาพของผลิตภัณฑ์ไส้เดือนฝอย Steinernema carpocapsae สูตรผงในการควบคุมแมลงศัตรูพืช โดยปี 2554 ดำเนินการทดลองในมะลิ เพื่อควบคุมหนอนเจาะดอกมะลิ จากการทดสอบประสิทธิภาพไส้เดือนฝอยควบคุมหนอนเจาะดอกมะลิอัตรา 500 1000 และ 2000 ตัว/มล. ในห้องปฏิบัติการพบว่า การใช้ไส้เดือนฝอยอัตรา1000 และ 2000 ตัว/มล. หนอนเจาะดอกมะลิมีอัตราการตาย 100 เปอร์เซ็นต์ หลังทำการทดลอง 24 ชั่วโมง ส่วนการใช้ไส้เดือนฝอยอัตรา 500 ตัว/มล. หนอนเจาะดอกมะลิมีอัตราการตาย 100 เปอร์เซ็นต์ หลังทำการทดลอง 48 ชั่วโมง อัตราการอยู่รอดของไส้เดือนฝอยบนต้นมะลิ หลังจากพ่นไส้เดือนฝอยในสภาพโรงเรือน ที่โรงเรือนกลุ่มงานวิจัยการปราบศัตรูพืชทางชีวภาพ กลุ่มกีฏและสัตววิทยา สำนักวิจัยพัฒนาการอารักขาพืชพบว่า ไส้เดือนฝอย Steinernema carpocapsae สูตรผง อัตรา 50 ล้านตัวต่อน้ำ 20 ลิตร สามารถคงอยู่บนต้นมะลิได้ประมาณ 67.69 27.36 และ 6.72 เปอร์เซ็นต์ หลังจากพ่นไส้เดือนฝอย 24 48 และ 72 ชั่วโมง การทดสอบประสิทธิภาพของผลิตภัณฑ์ไส้เดือนฝอย S. carpocapsae สูตรผงควบคุมหนอนเจาะดอกมะลิในแปลงเกษตรกรที่จังหวัดชลบุรีพบว่า กรรมวิธีพ่นไส้เดือยฝอยสูตรผงอัตรา 40 ล้านตัวต่อน้ำ 20 ลิตรและกรรมวิธีพ่นไส้เดือยฝอยสูตรผงอัตรา 50 ล้านตัวต่อน้ำ 20 ลิตร มีประสิทธิภาพในการควบคุมหนอนเจาะดอกมะลิได้ดีกว่ากรรมวิธีอื่น

          การทดสอบประสิทธิภาพของผลิตภัณฑ์ไส้เดือนฝอย S. carpocapsae สูตรผงควบคุมด้วงหมัดผักในแปลงเกษตรกรที่จังหวัดนนทบุรี พบการระบาดของด้วงหมัดผักตัวเต็มวัยในแต่ละกรรมวิธีไม่ความแตกต่างกัน แต่พบความเสียหายของหัวผักกาดในแปลงที่ใช้ไส้เดือนฝอยอัตรา 40 และ 50 ล้านตัวต่อน้ำ 20 ลิตร และแปลงที่พ่นด้วยต้องสารฆ่าแมลง fipronil 5% sc อัตรา 40 มล. ต่อน้ำ 20 ลิตรน้อยกว่าแปลงอื่นๆ ทำการทดลองซ้ำเพื่อยืนยันผลการทดลองในปี 2557 ต่อไป