คลังผลงานวิจัย กรมวิชาการเกษตร

เวอร์ชั่นเต็ม: ทดสอบประสิทธิภาพสารฆ่าแมลงในการป้องกันกำจัดเพลี้ยไฟ (Thrips palmi Karny)
หมายเหตุ ดูเวอร์ชันเต็ม
ทดสอบประสิทธิภาพสารฆ่าแมลงในการป้องกันกำจัดเพลี้ยไฟ (Thrips palmi Karny)
อุราพร หนูนารถ, สมรวย รวมชัยอภิกุล, เกรียงไกร จำเริญมา, อัจฉรา หวังอาษา และศรีจำนรรจ์ ศรีจันทรา
กลุ่มกีฏและสัตววิทยา  และกลุ่มบริหารศัตรูพืช สำนักวิจัยพัฒนาการอารักขาพืช

         การทดสอบประสิทธิภาพสารในการป้องกันกำจัดเพลี้ยไฟในมะระ ที่แปลงมะระของเกษตรกร ที่ อ. ท่าม่วง จ. กาญจนบุรี โดยวางแผนการทดลองแบบ RCB มี 3 ซ้ำ 8 กรรมวิธี ในปี พ.ศ. 2554 - 2555 พบว่า กรรมวิธีพ่นสาร acephate 75 %SP อัตรา 20 กรัม/น้ำ 20 ลิตร กรรมวิธีพ่นสาร spiromesifen 24 %SC อัตรา 10 มล./น้ำ 20 ลิตร, กรรมวิธีพ่นสาร fipronil 5%SC อัตรา 20 มล./น้ำ 20 ลิตร, กรรมวิธีพ่นสาร imidacloprid 10%SLอัตรา 20 มล./น้ำ 20 ลิตร, กรรมวิธีพ่นสาร emamectin benzoate 1.92 %EC อัตรา 20 มล./น้ำ 20 ลิตร, กรรมวิธีพ่นสาร thiamethoxam/lambdacyhalothrin 24.7%ZC อัตรา 15 มล./น้ำ 20 ลิตร, กรรมวิธีพ่นสาร spinosad 12 %SC อัตรา 20 มล./น้ำ 20 ลิตร พบว่า กรรมวิธีพ่นสาร spinosad 12 %SC อัตรา 20 มล./น้ำ 20 ลิตร และกรรมวิธีพ่นสาร fipronil 5%SC อัตรา 20 มล./น้ำ 20 ลิตร มีประสิทธิภาพดีที่สุดในการป้องกันกำจัดเพลี้ยไฟในมะระ ในปี พ.ศ. 2555 - 2556 วางแผนการทดลองแบบ RCB มี 3 ซ้ำ 8 กรรมวิธี คือ กรรมวิธีพ่นสาร spiromesifen 24 %SC, fipronil 5%SC, imidacloprid 10%SL, emamectin benzoate 1.92%EC, thiamethoxam/ lambdacyhalothrin 24.7%ZC, spinosad 12 %SC และ imidacloprid 70% WG ที่อัตรา 10, 20, 20, 10, 15, 20 มิลลิลิตรต่อน้ำ 20 ลิตร และ 2 กรัมต่อน้ำ 20 ลิตร ตามลำดับ พบว่าทุกกรรมวิธีมีประสิทธิภาพดีในการป้องกันกำจัดเพลี้ยไพในมะระ และไม่พบอาการเป็นพิษต่อมะระ