คลังผลงานวิจัย กรมวิชาการเกษตร

เวอร์ชั่นเต็ม: การทดสอบประสิทธิภาพสารกำจัดวัชพืชในปทุมมา
หมายเหตุ ดูเวอร์ชันเต็ม
การทดสอบประสิทธิภาพสารกำจัดวัชพืชในปทุมมา
ภัทร์พิชชา รุจิระพงศ์ชัย, คมสัน นครศรี และธัญชนก จงรักษ์ไทย
กลุ่มวิจัยวัชพืช สำนักวิจัยพัฒนาการอารักขาพืช


          การทดสอบประสิทธิภาพสารกำจัดวัชพืชในปทุมมา โดยการใช้สารกำจัดวัชพืชในช่วงเริ่มปลูก ดำเนินการดลองระหว่างเดือนตุลาคม 2555 - กันยายน 2556 ตำบลหนองตากยา อำเภอท่าม่วง จังหวัดกาจนบุรี วางแผนการทดลองแบบ RCB มี 10 กรรมวิธี 3 ซ้ำ ประกอบด้วย metribuzin 70%WP diuron 80%WP oxyfluorfen 23.5%EC oxadiazon 25%EC flumioxazin 50%WP glyphosate isopropylamonium 48%SL glufosinate ammoniumm15%SL และ paraquat dichloride 27.6%SL อัตรา 70, 320, 47, 120, 20, 240, 160 และ 120 กรัมสารออกฤทธิ์ต่อไร่ กำจัดวัชพืชด้วยแรงงาน (ที่ 15, 30 และ 45 วันหลังปลูก) และกรรมวิธีไม่กำจัดวัชพืช จากการทดลองพบว่า การพ่นสาร diuron 80%WP อัตรา 320 กรัมสารออกฤทธิ์ต่อไร่ ทันทีหลังปลูก มีผลทำให้ต้นปทุมมางอกช้ากว่าการพ่นด้วยสาร metribuzin 70%WP อัตรา 70 กรัมสารออกฤทธิ์ต่อไร่ การพ่นด้วยสาร oxadiazon 25%EC และสาร flumioxazin 50%WP อัตรา 120 และ 20 กรัมสารออกฤทธิ์ต่อไร่ ตามลำดับ มีผลทำให้ต้นปทุมมาแคระแกร็นเล็กน้อย ในขณะที่การพ่นด้วยสาร glyphosate isopropylamonium 48%SL glufosinate ammoniumm15%SL และ paraquat dichloride 27.6%SL อัตรา 240 160 และ 120 กรัมสารออกฤทธิ์ต่อไร่ ตามลำดับ เป็นพิษต่อปทุมมา สำหรับประสิทธิภาพการควบคุมวัชพืชพบว่า การพ่นด้วยสาร metribuzin 70%WP อัตรา 70 กรัมสารออกฤทธิ์ต่อไร่ มีประสิทธิภาพการควบคุมได้ดีและยาวนานกว่าการใช้สาร diuron 80%WP อัตรา 320 กรัมสารออกฤทธิ์ต่อไร่ ส่วนการพ่นกำจัดต้นอ่อนวัชพืชหลังปลูก 7 - 10 วัน พบว่าการสาร oxadiazon 25%EC และ flumioxazin 50%WP อัตรา 120 กรัมสารออกฤทธิ์ต่อไร่ สามารถกำจัดวัชพืชได้ดี เช่นเดียวกับการใช้สาร glufosinate ammoniumm15%SL อัตรา 160 กรัมสารออกฤทธิ์ต่อไร