คลังผลงานวิจัย กรมวิชาการเกษตร

เวอร์ชั่นเต็ม: ทดสอบประสิทธิภาพสารฆ่าแมลงบางชนิดในการป้องกันกำจัดเพลี้ยจักจั่นฝ้ายและเพลี้ยไฟพริก
หมายเหตุ ดูเวอร์ชันเต็ม
ทดสอบประสิทธิภาพสารฆ่าแมลงบางชนิดในการป้องกันกำจัดเพลี้ยจักจั่นฝ้ายและเพลี้ยไฟพริกโดยวิธีการราดโคน
สมรวย รวมชัยอภิกุล และอุราพร หนูนารถ
กลุ่มกีฏและสัตววิทยา สำนักวิจัยพัฒนาการอารักขาพืช


          ทดสอบประสิทธิภาพสารฆ่าแมลงบางชนิดในการป้องกันกำจัดเพลี้ยจักจั่นฝ้าย และเพลี้ยไฟพริกโดยวิธีการราดโคน ดำเนินการทดลองในแปลงมะเขือเปราะ ระหว่างเดือนมกราคม - มีนาคม 2554 ที่อำเภอท่าม่วง และระหว่างเดือนกุมภาพันธ์เมษายน 2556 ที่อำเภอท่ามะกา จังหวัดกาญจนบุรี และในแปลงพริก ระหว่างเดือนมกราคมมีนาคม 2555 ที่อำเภอท่าม่วง จังหวัดกาญจนบุรี โดยวางแผนการทดลองแบบ RCB จำนวน 9 กรรมวิธี 3 ซ้ำ ได้แก่ สารฆ่าแมลง thiamethoxam (Actara 25 % WG), dinotefuran (Starkle 10 %WP), clothianidin (Dentosu 16 %SG) และ imidacloprid (Confidor 100SL 10 %SL) อัตรา 10 กรัม, 20 กรัม, 20 กรัม, 40 กรัม, 10 กรัม, 20 กรัม, 20 และ 40 มิลลิลิตรต่อน้ำ 20 ลิตร (อย่างละ 2 อัตรา) ตามลำดับ เปรียบเทียบกับกรรมวิธีราดน้ำเปล่า หลังการทดสอบในปี 2554 และ ปี 2556 พบว่าสารฆ่าแมลง dinotefuran (Starkle 10 %WP) อัตรา 40 กรัมต่อน้ำ 20 ลิตร มีประสิทธิภาพดีที่สุดในการป้องกันกำจัดเพลี้ยจักจั่นฝ้ายในมะเขือเปราะ จำนวน 2 การทดลอง และ ในปี 2555 พบว่า สารฆ่าแมลง dinotefuran (Starkle 10 %WP) อัตรา 40 กรัมต่อน้ำ 20 ลิตร มีประสิทธิภาพดีที่สุดในการป้องกันกำจัดเพลี้ยพริกในพริก จำนวน 1 การทดลอง