คลังผลงานวิจัย กรมวิชาการเกษตร

เวอร์ชั่นเต็ม: ศึกษาชนิดและปริมาณสารพิษตกค้างในผลไม้และผักนำเข้า
หมายเหตุ ดูเวอร์ชันเต็ม
ศึกษาชนิดและปริมาณสารพิษตกค้างในผลไม้และผักนำเข้า: แอปเปิ้ล สาลี่ องุ่น ส้ม พุทรา พลับสด แครอท หอมใหญ่ หอมเล็ก มันฝรั่ง กระเทียมและผักสด
สรัญญา ช่วงพิมพ์, นลินี จาริกภากร, วิทยา พงษ์ทอง, เขมิกา โขมพัตร และสาวิตรี เขมวงศ์

          ในปีงบประมาณ 2549 - 2551 กลุ่มพัฒนาการตรวจสอบพืชและปัจจัยการผลิตทางการเกษตร สำนักวิจัยและพัฒนาการเกษตรเขตที่ 8 จ.สงขลา ได้วิเคราะห์สารพิษตกค้างในสินค้านำเข้าเพื่อเป็นการเฝ้าระวังสารพิษตกค้างในสินค้าเกษตรที่นำเข้าจากประเทศต่างๆ โดยเฉพาะประเทศที่กำลังเจรจาการค้าเสรีกับไทย เช่น จีน ออสเตรเลีย ญี่ปุ่น อเมริกา เพื่อได้มีข้อมูลเสนอกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ได้ทันเหตุการณ์หากพบหรือมีปัญหาในความปลอดภัยอาหาร โดยวิเคราะห์สารพิษตกค้าง 3 กลุ่ม คือ กลุ่มออร์กาโนฟอสเฟต 13 ชนิด กลุ่มออร์กาโนคลอรีน 4 ชนิด และกลุ่มไพรีทรอยด์ 6 ชนิด


          จากการวิเคราะห์พืชผักผลไม้นำเข้า 1,323 ตัวอย่าง สามารถออกเป็นใบรายงานผลจำนวน 1,323 ฉบับ ผลการตรวจวิเคราะห์พบว่า ในพืชผัก ผลไม้นำเข้า จำนวน 1,061 ตัวอย่าง หรือร้อยละ 80.20 ตรวจไม่พบสารพิษตกค้างเลย คือ หอมแดง หอมใหญ่ กระเทียม มันฝรั่ง ถั่วลิสง เมล็ดผักชี กะหล่ำปลี เห็ดหอม มะเขือเทศและลกู พลับ สำหรับพืช ผักผลไม้นำเข้าจำนวน 262 ตัวอย่าง หรือร้อยละ 19.80 ตรวจพบสารพิษตกค้าง คือ แอปเปิ้ล สาลี่ แครอท องุ่นแดง ขิง ส้ม พริกหวาน และทับทิม สารพิษตกค้างที่ตรวจพบคือ chlorpyrifos, profenofos, diazinon, malathion, triazophos, cyhalothrin และ cypermethrin แต่ไม่เกินค่าความปลอดภัยของ Codex MRLs ส่วนพริกแห้งที่นำเข้าจากประเทศอินโดนีเซีย ตรวจพบสารพิษตกค้างหลายชนิด คือ chlorpyrifos, profenofos, diazinon, malathion, ethion, triazophos, cypermethrin, permethrin, dicofol และ cyhalothrin ในปริมาณไม่เกินค่าความปลอดภัยแต่พบวัตถุอันตรายประเภทที่ 4 ที่ประเทศไทยกำหนดไว้ คือ methamidophos และ endosulfane สรุปโดยภาพรวมแล้วชนิดสารพิษตกค้างที่ตรวจวิเคราะห์พบมากที่สุดคือ ethion ซึ่งมีมากถึง 193 ตัวอย่างในพริกแห้ง หรือร้อยละ 14.58 ของตัวอย่างทั้งหมด และไม่มีค่ากำหนดใน Codex MRL