คลังผลงานวิจัย กรมวิชาการเกษตร

เวอร์ชั่นเต็ม: ศึกษาการเปลี่ยนแปลงของน้ำหนักและคุณสมบัติของน้ำคั้นข้าวฟ่างหวานหลังการเก็บเกี่ยวแล้ว
หมายเหตุ ดูเวอร์ชันเต็ม
ศึกษาการเปลี่ยนแปลงของน้ำหนักและคุณสมบัติของน้ำคั้นข้าวฟ่างหวานหลังการเก็บเกี่ยวแล้วทิ้งไว้ระยะเวลาต่างๆ
นิลุบล ทวีกุล, ทักษิณา ศันสยะวิชัย และอรอุมา สีไว

          ทำการศึกษาเพื่อหาวิธีจัดการหลังการเก็บเกี่ยวข้าวฟ่างหวานที่เหมาะสม เพื่ออุตสาหกรรมเอทานอล ณ ศูนย์วิจัยพืชไร่ขอนแก่น อ. เมือง จ. ขอนแก่น ระหว่าง เม.ย. – ธ.ค. 2550 วางแผนการทดลอง Factorial in RCB มี 4 ซ้ำ ปัจจัยที่ 1 การตัดใบหรือไม่ตัดใบ ปัจจัยที่ 2 ระยะเวลาเก็บรักษาในแปลง 0 2 4 6 8 และ 12 วัน แยกศึกษาเมื่อเก็บเกี่ยวที่ 30 37 และ 44 วันหลังดอกบาน ผลการทดลองทั้ง 3 ครั้งไม่พบปฏิสัมพันธ์ระหว่างอายุเก็บรักษาและการตัดใบ อายุเก็บรักษาเท่านั้นที่ทำให้ นน. สด ปริมาณและคุณภาพน้ำคั้นเปลี่ยนแปลง โดยขึ้นกับสภาพของพืชขณะเก็บเกี่ยวและฟ้าอากาศขณะเก้บรักษา ครั้งที่ 1 ข้าวฟ่างหวานคง นน.สดและปริมาณน้ำคั้นได้ 2 และ 4 วัน ตามลำดับ ความหวานลดลงที่ 2 – 4 วัน (ค่าบริกซ์ 14.8) ครั้งที่ 2 นน.สด ลดลงตามอายุเก็บรักษาน้ำคั้นลดลงที่ 6 - 8 วัน ความหวานสูงสุด (ค่าบริกซ์ 18.4 - 19.0) ที่ 4 8 และ 10 วัน ครั้งที่ 3 นน.สด ลดลงที่ 2-8 วันแล้วเพิ่มขึ้น ปริมาณน้ำคั้นไม่แตกต่างกันระหว่างเก็บรักษา (81.3-83.8 มก./กก.) ความหวานสูงสุด (ค่าบริกซ์ 19.3 - 19.8) ที่ 2 - 6 วัน ดังนั้นการเก็บเกี่ยวข้าวฟ่างหวานจะตัดหรือไม่ตัดใบก็ได้ แต่ต้องส่งเข้าโรงงานหีบเร็วที่สุด