คลังผลงานวิจัย กรมวิชาการเกษตร

เวอร์ชั่นเต็ม: การเพาะเลี้ยงแตนเบียนชนิด Tetrastichus brontispae Ferriere เพื่อใช้ควบคุมแมลงดำหนาม
หมายเหตุ ดูเวอร์ชันเต็ม
การเพาะเลี้ยงแตนเบียนชนิด Tetrastichus brontispae Ferriere เพื่อใช้ควบคุมแมลงดำหนามมะพร้าว
รจนา ไวยเจริญ, อัมพร วิโนทัย, รุจ มรกต และประภัสสร เชยคำแหง
กลุ่มกีฎและสัตววิทยา สำนักวิจัยพัฒนาการอารักขาพืช

          เพื่อศึกษาวิธีเพาะเลี้ยงแตนเบียนชนิด Tetrastichus brontispae Ferriere เป็นปริมาณมากในห้องปฏิบัติการเลี้ยงแตนเบียนชนิด T. brontispae ด้วยดักแด้แมลงดำหนามที่เลี้ยงจากใบแก่มะพร้าว ได้มัมมี่ 50 - 1,062 ตัว/รอบการผลิต เฉลี่ย 221.88 - 667.75 ตัว/รอบ การผลิตสามารถผลิตได้เดือนละ 4 - 8 รอบการผลิตเดือนละ 1,223 - 2,671 ตัว เฉลี่ย 1,886.33 ตัวต่อเดือนและมีอัตราการเบียน 74.5 - 93.9 % เฉลี่ย 85.0 %

          ทดสอบการเก็บรักษาแตนเบียนในมัมมี่ ที่ 10 และ 13 องศาเซลเซียส และตู้เย็นเป็นระยะเวลาต่างกันพบว่า สามารถเก็บได้นาน 14 - 17, 10 - 14 และ 14 - 17 วัน ตามลำดับ และแตนเบียนจะออกจากมัมมี่หลังจากเอาออกจากตู้ควบคุมอุณหภูมิ 1 - 3, 1 - 3 และ 1 - 4 วัน ตามลำดับ

          ทดสอบการเก็บรักษาดักแด้หนอนแมลงดำหนาม ที่ 10 และ13 องศาเซลเซียส และตู้เย็นเป็นระยะเวลา 7, 10, 14, 17 และ 21 วัน แล้วนำมาให้ T. brontispae เบียน พบว่าอัตราการเบียนจะลดลงเมื่อระยะเวลาการเก็บมากขึ้น ที่ 10 องศาเซลเซียสให้ผลดีที่สุด มีอัตราการเบียน 80 และ 65 % เมื่อเก็บเป็นเวลา 7 และ 10 วัน ตามลำดับ สามารถเก็บดักแด้ได้นานที่สุดถึง 21 วัน ที่ 13 องศาเซลเซียส แต่มีอัตราการเบียนลดลงเหลือ 20 %

          ทดสอบอัตราส่วนที่เหมาะสมในการเพาะเลี้ยง โดยใช้มัมมี่พ่อแม่พันธุ์ 1, 2, 3, 4, 5 และ 6 มัมมี่ต่อดักแด้ 100 ตัว เบื้องต้นพบว่า มีอัตราการเบียน 7.3, 42.7, 52.7, 67.8, 72.2 และ 77.7 % ตามลำดับ