คลังผลงานวิจัย กรมวิชาการเกษตร

เวอร์ชั่นเต็ม: ปฏิกิริยาของสายพันธุ์ข้าวฟ่างหวานที่ต้านทานต่อโรคช่อดอกไหม้และยอดบิด
หมายเหตุ ดูเวอร์ชันเต็ม
ปฏิกิริยาของสายพันธุ์ข้าวฟ่างหวานที่ต้านทานต่อโรคช่อดอกไหม้และยอดบิดที่มีสาเหตุจากเชื้อรา Fusarium moniliforme
อภิรัชต์ สมฤทธิ์, พีระวรรณ พัฒนวิภาส, พจนา ตระกูลสุขรัตน์ และกนกทิพย์ เลิศประเสริฐรัตน์
กลุ่มวิจัยโรคพืช สำนักวิจัยพัฒนาการอารักขาพืช และศูนย์วิจัยพืชไร่สุพรรณบุรี สถาบันวิจัยพืชไร่ จ.สุพรรณบุรี

          การศึกษาปฏิกิริยาพันธุ์ข้าวฟ่างหวาน 6 สายพันธุ์ต่อโรคช่อดอกไหม้และยอดบิด มีสาเหตุจากเชื้อรา Fusarium moniliforme Sheldon ทำการทดลองในสภาพเรือนปลูกพืชทดลองที่กลุ่มวิจัยโรคพืช สำนักวิจัยพัฒนาการอารักขาพืช กรุงเทพฯ และในแปลงทดสอบพันธุ์ข้าวฟ่างหวานที่ศูนย์วิจัยพืชไร่สุพรรณบุรี จ.สุพรรณบุรี ระหว่างเดือนกรกฎาคม - ธันวาคม 2551 (ฤดูปลูกครั้งที่ 1 และ 2) ผลการประเมินโรคในสภาพเรือนปลูกพืชทดลองพบว่า ข้าวฟ่างทุกสายพันธุ์แสดงอาการต้นผอม แคระแกรน และมียอดบิด ภายในลำต้นมีอาการเน่าแดง ผลการประเมินโรคในสภาพแปลงทดลองของศูนย์วิจัยพืชไร่สุพรรณบุรี จากการประเมินโรคที่เกิดขึ้นในแปลงปลูกในฤดูกาลเก็บเกี่ยวครั้งที่ 1 (เดือนกรกฎาคม – ตุลาคม 2551) พบการเข้าทำลายของโรคช่อดอกไหม้และยอดบิด และภายในลำต้นเน่าแดงในสายพันธุ์ Keller เมื่อนำเนื้อเยื่อส่วนที่เป็นโรคมาแยกเชื้อและจำแนกชนิดได้เชื้อรา F. moniliforme ส่วนข้าวฟ่างสายพันธุ์อื่น ๆ ยังไม่พบการเข้าทำลาย ส่วนการประเมินโรคที่เกิดขึ้นในแปลงปลูกในฤดูกาลเก็บเกี่ยวครั้งที่ 2 (เดือนพฤศจิกายน 2551 – กุมภาพันธ์ 2552) พบการเข้าทำลายของโรคช่อดอกไหม้และยอดบิด ในข้าวฟ่างสายพันธุ์ทดสอบทั้ง 6 สายพันธุ์ ได้แก่ สายพันธุ์ BJ 281, Cowley, Keller, Rio, UTIS 23585 และสายพันธุ์ Wray แต่ระดับการเกิดโรคต่ำ และแตกต่างกันไปในแต่ละสายพันธุ์ ปลูกข้าวฟ่างหวานในฤดูปลูกปี 2552 ในแปลงทดลองของศูนย์วิจัยพืชไร่สุพรรณบุรี อ.อู่ทอง จ.สุพรรณบุรี ตั้งแต่เดือนมิถุนายน 2552 จำนวน 6 สายพันธุ์ได้แก่ BJ-281, Cowley, Keller, Rio, UTIS-23585 และ Wray กำจัดวัชพืช