คลังผลงานวิจัย กรมวิชาการเกษตร

เวอร์ชั่นเต็ม: การทดสอบและพัฒนาเทคโนโลยีการผลิตอ้อยที่เหมาะสมกับพื้นที่จังหวัดอุตรดิตถ์
หมายเหตุ ดูเวอร์ชันเต็ม
การทดสอบและพัฒนาเทคโนโลยีการผลิตอ้อยที่เหมาะสมกับพื้นที่จังหวัดอุตรดิตถ์
ทักษิณา  ศันสยะวิชัย, มนัสชญา  สายพนัส, รวีวรรณ  เชื้อกิติศักดิ์, ยุพา  สุวิเชียร และณัฐธิดา  ทองนาค
สำนักวิจัยและพัฒนาการเกษตรเขตที่ 2, ศูนย์วิจัยและพัฒนาการเกษตรพิจิตร, ศูนย์วิจัยและพัฒนาการเกษตรสุโขทัย, ศูนย์วิจัยและพัฒนาการเกษตรอุตรดิตถ์ และสำนักปัจจัยการผลิตทางการเกษตร

          การทดสอบและพัฒนาเทคโนโลยีการผลิตอ้อยที่เหมาะสมกับพื้นที่จังหวัดอุตรดิตถ์ดำเนินงานในแปลงเกษตรกรจังหวัดอุตรดิตถ์ ระหว่างเดือน ตุลาคม 2553 ถึง กันยายน 2557 จำนวน 2 แปลง ใน ต.น้ำพี้ อ.ทองแสนขัน เพื่อให้ได้เทคโนโลยีการผลิตอ้อยโรงงานที่เหมาะสมกับพื้นที่จังหวัดอุตรดิตถ์ พบว่ากรรมวิธีทดสอบปลูกอ้อยพันธุ์ขอนแก่น 3 ปฏิบัติตามคำแนะนำของกรมวิชาการเกษตร ให้ผลผลิตน้ำหนักอ้อยสด ผลผลิตน้ำตาล ต้นทุนและผลตอบแทน รายได้ต่อต้นทุน (BCR) ทั้งอ้อยปลูก อ้อยตอ 1 อ้อยตอ 2 สูงกว่า กรรมวิธีของเกษตรปลูกอ้อยพันธุ์ LK-92-11 ปฏิบัติตามกรรมวิธีของเกษตรกร โดยให้ผลผลิตน้ำหนักอ้อยสดเฉลี่ย 3 ปี (13.52 ตันต่อไร่) คิดเป็นร้อยละ 22 ให้ผลผลิตน้ำตาลเฉลี่ย 3 ปี (1.92 ตันซีซีเอสต่อไร่) คิดเป็นร้อยละ 22 ในด้านต้นทุนและผลตอบแทน เฉลี่ย 3 ปี (15,856 บาทต่อไร่) คิดเป็นร้อยละ 20.48 และรายได้ต่อต้นทุน (BCR) เฉลี่ย 3 ปี  (BCR = 2.14) คิดเป็นร้อยละ 7