คลังผลงานวิจัย กรมวิชาการเกษตร

เวอร์ชั่นเต็ม: การเปรียบเทียบพันธุ์มันสำปะหลังในไร่เกษตรกร (ลูกผสมปี 2552)
หมายเหตุ ดูเวอร์ชันเต็ม
การเปรียบเทียบพันธุ์มันสำปะหลังในไร่เกษตรกร (ลูกผสมปี 2552)
สุวลักษณ์ อะมะวัลย์, จิณณจาร์ หาญเศรษฐสุข, แฉล้ม มาศวรรณา, สุมนา งามผ่องใส, ศิวิไล ลาภบรรจบ, ธำรง เชื้อกิตติศักดิ์, ปรีชา แสงโสดา, ยงศักดิ์  สุวรรณเสน, อภิชาต เมืองซอง, สุชาติ คำอ่อน, พินิจ กัลยาศิลปิน, อานนท์ มลิพันธ์, วสันต์ วรรณจักร, นิพนธ์ ภาชนะวรรณ, บุญญาภา ศรีหาตา, สุภาพร สุขโต, จินดา จิตจักร และอดิศักดิ์  สายนภา
ศูนย์วิจัยพืชไร่ระยอง, ศูนย์วิจัยพืชไร่ขอนแก่น, ศูนย์วิจัยพืชไร่ชัยนาท, ศูนย์วิจัยพืชไร่นครสวรรค์, ศูนย์วิจัยพืชไร่อุบลราชธานี, ศูนย์วิจัยและพัฒนาการเกษตรเลย, ศูนย์วิจัยและพัฒนาการเกษตรเพชรบูรณ์, ศูนย์วิจัยและพัฒนาการเกษตรนครราชสีมา, ศูนย์วิจัยและพัฒนาการเกษตรร้อยเอ็ด, ศูนย์วิจัยและพัฒนาการเกษตรปราจีนบุรี, ศูนย์วิจัยและพัฒนาการเกษตรลพบุรี, ศูนย์วิจัยและพัฒนาการเกษตรกาฬสินธุ์, ศูนย์วิจัยและพัฒนาการเกษตรมหาสารคาม, ศูนย์วิจัยและพัฒนาการเกษตรมุกดาหาร และศูนย์วิจัยและพัฒนาการเกษตรอุทัยธานี

          การเปรียบเทียบพันธุ์มันสำปะหลังในไร่เกษตรกร ในปี 2557/58 ได้นำพันธุ์มาจากการเปรียบเทียบพันธุ์มันสำปะหลังในท้องถิ่น (ลูกผสมปี 2552) จำนวน 5 พันธุ์ โดยใช้พันธุ์ระยอง 5  ระยอง 7  ระยอง 9  ระยอง 11 และเกษตรศาสตร์ 50 เป็นพันธุ์เปรียบเทียบ ดำเนินการปลูกในไร่ของเกษตรกรซึ่งเป็นแหล่งปลูกมันสำปะหลังที่สำคัญ 17 จังหวัด ได้แก่ จังหวัดระยอง ฉะเชิงเทรา สระแก้ว ปราจีนบุรี อุทัยธานี ชัยนาท ลพบุรี นครสวรรค์ เพชรบูรณ์ เลย ขอนแก่น ร้อยเอ็ด กาฬสินธุ์ มหาสารคาม นครราชสีมา อุบลราชธานี และมุกดาหาร ปลูกช่วงเดือนพฤษภาคม - มิถุนายน 2557 เก็บเกี่ยวเมื่ออายุครบ 12 เดือน ในช่วงเดือนพฤษภาคม - มิถุนายน 2558 จากการพิจารณาคัดเลือกพันธุ์ โดยเปรียบเทียบลักษณะต่างๆ ที่สำคัญ ได้แก่ ผลผลิตหัวสด เปอร์เซ็นต์แป้ง ผลผลิตแป้ง ผลผลิตมันแห้ง ดัชนีเก็บเกี่ยว และความสูง พบว่าพันธุ์ระยอง 11 ให้ผลผลิตหัวสดสูงที่สุดเท่ากับ 4,172 กิโลกรัมต่อไร่ ให้เปอร์เซ็นต์แป้งสูงที่สุดเท่ากับ 23.2 เปอร์เซ็นต์ และให้ผลผลิตแป้งสูงที่สุดเท่ากับ 999 กิโลกรัมต่อไร่ ซึ่งพันธุ์ SMK48-C04-29 ให้ผลผลิตหัวสดใกล้เคียงกับพันธุ์ระยอง 11 และพันธุ์ CMR52-44-36 ให้เปอร์เซ็นต์แป้งใกล้เคียงกับพันธุ์ระยอง 11 จึงนำทั้ง 2 พันธุ์ เข้าเก็บไว้ในแปลงอนุรักษ์เชื้อพันธุกรรมมันสำปะหลัง และแปลงรวบรวมพ่อแม่พันธุ์มันสำปะหลัง เพื่อเป็นฐานเชื้อพันธุกรรมต่อไป