คลังผลงานวิจัย กรมวิชาการเกษตร

เวอร์ชั่นเต็ม: การเพิ่มประสิทธิภาพการผลิตถั่วเหลืองในแหล่งปลูกที่สำคัญ : การประเมินผลผลิตถั่วเหลือง
หมายเหตุ ดูเวอร์ชันเต็ม
การเพิ่มประสิทธิภาพการผลิตถั่วเหลืองในแหล่งปลูกที่สำคัญ : การประเมินผลผลิตถั่วเหลือง
วิระศักดิ์ เทพจันทร์, อ้อยทิน ผลพานิช, รัชนี โสภา และสิทธิ์ แดงประดับ

          การประเมินผลผลิตถั่วเหลืองมีวัตถุประสงค์เพื่อหาพันธุ์และระยะปลูกที่เหมาะสมในแหล่งปลูกถั่วเหลืองที่สำคัญ โดยปลูกเปรียบเทียบถั่วเหลืองจำนวน 10 กรรมวิธี ประกอบไปด้วยพันธุ์ถั่วเหลืองจำนวน 5 สายพันธุ์/พันธุ์ ได้แก่ พันธุ์ศรีสำโรง 1 เชียงใหม่ 6  เชียงใหม่ 60  CM9513-3 และ สจ. 5 ปลูกที่ระยะปลูก 2 ระยะ คือ 50 x 20 และ 40 x 20 เซนติเมตร ขนาดแปลงทดลอง 8 x 10 เมตร ในฤดูแล้งและฤดูฝนปี 2554 - 2557 ที่ไร่เกษตรกรจังหวัดเชียงใหม่ พะเยา และน่าน รวม 24 แปลงทดลอง ผลการทดลอง ในฤดูแล้ง พื้นปลูกถั่วเหลืองจังหวัดเชียงใหม่พบว่า การปลูกถั่วเหลืองพันธุ์เชียงใหม่ 60 ที่ระยะปลูก 40 x 20 เซนติเมตร ให้ผลผลิตสูงสุด ส่วนพื้นที่ปลูกถั่วเหลืองจังหวัดน่านและจังหวัดพะเยาพบว่า การถั่วเหลืองพันธุ์เชียงใหม่ 60 ที่ระยะปลูก 50 x 20 เซนติเมตร ให้ผลผลิตสูงสุด การปลูกถั่วเหลืองทั้ง 5 พันธุ์ ในระยะปลูก 50 x 20 และ 40 x 20 เซนติเมตร ไม่ทำให้ผลผลิตถั่วเหลืองแต่ละพันธุ์ไม่แตกต่างมากนัก ในฤดูฝน การปลูกถั่วเหลืองพันธุ์เชียงใหม่ 6 ที่ระยะปลูก 40 x 20 เซนติเมตร ให้ผลผลิตสูงสุดในทุกแหล่งปลูก และพบว่าการปลูกถั่วเหลืองทั้ง 5 สายพันธุ์ ในระยะปลูก 50 x 20 และ 40 x 20 เซนติเมตร ไม่ทำให้ผลผลิตถั่วเหลืองแต่ละพันธุ์แตกต่างกัน ยกเว้นที่ไร่เกษตรกรจังหวัดพะเยาะ พบว่าการปลูกถั่วเหลืองพันธุ์เชียงใหม่ 6 ที่ระยะปลูก 40 x 20 เซนติเมตร จะให้ผลผลิตสูงกว่าที่ระยะปลูก 50 x 20 เซนติเมตร และที่จังหวัดเชียงใหม่พบว่า การปลูกถั่วเหลืองพันธุ์ CM9513-3 ที่ 50 x 20 เซนติเมตร จะให้ผลผลิตสูงกว่าที่ระยะ 40 x 20 เซนติเมตร