คลังผลงานวิจัย กรมวิชาการเกษตร

เวอร์ชั่นเต็ม: การทดสอบพันธุ์พริกขี้หนูผลใหญ่พันธุ์จินดา
หมายเหตุ ดูเวอร์ชันเต็ม
การทดสอบพันธุ์พริกขี้หนูผลใหญ่พันธุ์จินดา
จันทนา  โชคพาชื่น, ธวัชชัย  นิ่มกิ่งรัตน์, ศุภลักษณ์  ทองทิพย์, อำไพ  ประเสริฐสุข, พีชณิตดา  ธารานุกูล และรักชัย  คุรุบรรเจิด
ศูนย์วิจัยพืชสวนศรีสะเกษ, ศูนย์วิจัยพืชสวนตรัง, ศูนย์วิจัยและพัฒนาการเกษตรกาญจนบุรี, ศูนย์วิจัยและพัฒนาการเกษตรโนนสูง และศูนย์วิจัยพืชสวนสุโขทัย  

          การปรับปรุงพันธุ์พริกจินดาปี 2553 ของศูนย์วิจัยพืชสวนศรีสะเกษได้คัดเลือกพริกจินดาจำนวน 4 พันธุ์ ปลูกเปรียบเทียบกับพันธุ์เกษตรกรและพันธุ์ท้องถิ่น โดยมีศูนย์วิจัยพืชสวนศรีสะเกษ ศูนย์วิจัยพืชสวนสุโขทัย ศูนย์วิจัยพืชสวนตรัง ศูนย์วิจัยและพัฒนาการเกษตรกาญจนบุรี และศูนย์วิจัยและพัฒนาการเกษตรโนนสูง รวม 5  แห่ง ดำเนินการทดสอบในแปลงเกษตรกรผู้ปลูกพริกแห่งละ 1 ราย วางแผนการทดลองแบบ Randomize Complete Block (RCB) จำนวน  4  ซ้ำ  6  กรรมวิธี  คือ  พริกจินดาพจ. 054  ศก.24  พจ.045   ศก.20 พริกจินดาของเกษตรกร (พันธุ์พื้นเมือง) และพริกจินดาของเกษตรกร (พันธุ์ประจำท้องถิ่น)  ผลการทดลองพบว่า  ในฤดูแล้งพริกจินดาพจ.054  และศก.24 สามารถปรับตัวและให้ผลผลิตสดต่อไร่สูง ในพื้นที่ศูนย์วิจัยพืชสวนศรีสะเกษ คือ 1.03  และ 1.35  ตัน  ศูนย์วิจัยพืชสวนสุโขทัย คือ 1.87  และ  1.78  ตัน   ศูนย์วิจัยและพัฒนาการเกษตรกาญจนบุรี คือ 0.64  และ 0.33 ตัน แต่ในพื้นที่ศูนย์วิจัยพืชสวนตรัง พบว่าพันธุ์เกษตรกรให้ผลผลิตสดต่อไร่  2.23 ตัน สูงกว่าพันธุ์ท้องถิ่น (จินดาดำ)  29.6  เปอร์เซ็นต์ ในฤดูฝนพริกให้ผลผลิตสดต่อไร่สูง ในพื้นที่ศูนย์วิจัยพืชสวนศรีสะเกษ คือ 0.55  และ 0.64 ตัน ศูนย์วิจัยพืชสวนสุโขทัย คือ 0.51 และ 0.47  ตัน  และศูนย์วิจัยและพัฒนาการเกษตรโนนสูง คือ  0.70  และ  0.51  ตัน สูงกว่าพันธุ์เกษรต และพันธุ์ท้องถิ่น (ซุปเปอร์ฮอต) ขึ้นไป และศูนย์วิจัยและพัฒนาการเกษตรกาญจนบุรี พบว่าพันธุ์ศก.24  ให้ผลผลิตสดต่อไร่ 0.74  ตัน สูงที่สุด โดยพันธุ์ ศก. 24 และพจ.054  ในจังหวัดศรีสะเกษ  ผลผลิตและคุณภาพเป็นที่พึงพอใจของเกษตรกรผู้ปลูกพริกมากที่สุด 5.1 และ 4.9 คะแนน  และศูนย์วิจัยพืชสวนตรัง  เกษตรกรมีความพึงพอใจมากในระดับ 4.3 และ 3.7 คะแนน และทั้ง 2 พันธุ์  มีความต้านทานต่อเชื้อราแอนแทรคโนส  Colletotrichum Sp. ในระดับต้านทาน (Resistance)