คลังผลงานวิจัย กรมวิชาการเกษตร

เวอร์ชั่นเต็ม: การประกันคุณภาพภายนอกของห้องปฏิบัติการวิเคราะห์ดินและปุ๋ยผ่านกิจกรรมทดสอบความชำนาญ
หมายเหตุ ดูเวอร์ชันเต็ม
การประกันคุณภาพภายนอกของห้องปฏิบัติการวิเคราะห์ดินและปุ๋ยผ่านกิจกรรมทดสอบความชำนาญ
จรีรัตน์ กุศลวิริยะวงศ์, สงกรานต์ มะลิสอน, ญาณธิชา จิตต์สะอาด, สุภา โพธิจันทร์, ทองจันทร์ พิมพ์เพชร, ชฎาพร คงนาม, พงศ์พิศ แก้วสุข, รังสรรค์ ไชยฉอุ่ม, พจมาลย์ ภู่สาร, จิตติรัตน์ ชูชาติ, รัตนาภรณ์ คชวงศ์, ศุภากร ดวนใหญ่, อาธิยา ปุ่นประโคน, เจนจิรา เทเวศร์วรกลุ และวรรณรัตน์ ชุติบุตร

          จากมติคณะรัฐมนตรีมีมติเห็นชอบให้ถ่ายโอนภารกิจด้านการตรวจสอบและรับรองคุณภาพมาตรฐานให้กับห้องปฏิบัติการเอกชน กลุ่มวิจัยเกษตรเคมี กองวิจัยพัฒนาปัจจัยการผลิตทางการเกษตร จึงปรับเปลี่ยนบทบาทจากภารกิจจากผู้ให้บริการวิเคราะห์เป็นหน่วยวิจัยและพัฒนาระบบตรวจสอบคุณภาพ สร้างมาตรฐานห้องปฏิบัติการวิเคราะห์โดยใช้กิจกรรมทดสอบความชำนาญซึ่งเป็นการประกันคุณภาพผลวิเคราะห์จากภายนอกเป็นเครื่องมือในการจัดการ ปัจจุบัน ยังไม่มีหน่วยงานใดรับผิดชอบดำเนินการโดยมีเป้าหมายเพื่อควบคุมคุณภาพผลวิเคราะห์ดินและปุ๋ยให้เป็นมาตรฐานเดียวกันทั้งประเทศ มีรูปแบบการดำเนินงาน คือ กำหนดรูปแบบการจัดกิจกรรม เชิญห้องปฏิบัติการต่างๆ เข้าร่วมกิจกรรม การเตรียมตัวอย่างดินและปุ๋ยที่จะใช้ในกิจกรรม และประเมินสมรรถนะของห้องปฏิบัติการที่เข้าร่วมกิจกรรม ผลการดำเนินงานพบว่า มีผู้เข้าร่วมกิจกรรมทดสอบความชำนาญระหว่างห้องปฏิบัติการวิเคราะห์ดิน จำนวน 22 ราย และ 34 ห้องปฏิบัติการวิเคราะห์ปุ๋ยจำนวน 56 ราย และ 45 ราย ในปี พ.ศ. 2557 และ 2558 ตามลำดับ จากนั้น จัดเตรียมดินที่จะใช้เป็นตัวอย่างดินทดสอบโดยใช้ชุดดินสตึก และชุดดินลพบุรีตัวอย่างปุ๋ยทดสอบ 3 สูตร โดยผลการประเมินสมรรถนะห้องปฏิบัติการที่เข้าร่วมกิจกรรมทดสอบความชำนาญ พบว่ามากกว่าร้อยละ 60 ของห้องปฏิบัติการที่เข้าร่วมกิจกรรมฯ ได้รับผลวิเคราะห์เป็นที่น่าพอใจ สำหรับผู้เข้าร่วมที่ได้ผลการวิเคราะห์เป็นที่น่าสงสัย หรือได้ผลการวิเคราะห์ไม่เป็นที่น่าพอใจ อาจเกิดจาก เทคนิค วิธี และเครื่องมือที่ใช้ไม่เหมาะสม ตัวอย่างอ้างอิงที่ได้ถูกนำไปใช้ในการควบคุมคุณภาพภายในห้องปฏิบัติการ จำนวน 164 ถุงอลูมิเนียม และตัวอย่างปุ๋ยอ้างอิง จำนวน 115 ขวดซึ่งเป็นการประหยัดงบประมาณในการจัดซื้อตัวอย่างดินอ้างอิงมาตรฐานเป็นเงินถึง มากกว่า 10.5 ล้านบาทต่อปี นอกจากนี้ ห้องปฏิบัติการวิเคราะห์ในประเทศไทย สามารถทดสอบสมรรถนะของห้องปฏิบัติการโดยไม่ต้องเข้าร่วมกับกิจกรรมทดสอบความชำนาญกับต่างประเทศ เป็นการประหยัดงบประมาณของห้องปฏิบัติการมากกว่า 3.5 ล้านบาทต่อปี