คลังผลงานวิจัย กรมวิชาการเกษตร

เวอร์ชั่นเต็ม: โครงการทดสอบพันธุ์และเทคโนโลยีการปลูกปาล์มน้ำมันในพื้นที่เกษตรกรในเขตภาคเหนือตอนล่าง
หมายเหตุ ดูเวอร์ชันเต็ม
โครงการทดสอบพันธุ์และเทคโนโลยีการปลูกปาล์มน้ำมันในพื้นที่เกษตรกรในเขตภาคเหนือตอนล่าง
สุวรรณ ทิพย์เมืองพรหม, อารีรัตน์ พระเพชร, พนิต หมวกเพชร, กฤชพร ศรีสังข์, อรณิชา สุวรรณโฉม, สุรศักดิ์ วัฒนพันธุ์สอน, ณรงค์ แดงเปี่ยม และสุรกิตติ ศรีกุล
สำนักวิจัยและพัฒนาการเกษตรเขตที่ 2, ศูนย์วิจัยและพัฒนาการเกษตรขอนแก่น, ศูนย์วิจัยและพัฒนาการเกษตรสุโขทัย, ศูนย์วิจัยและพัฒนาการเกษตรพิจิตร และสำนักผู้เชี่ยวชาญ

          การทดสอบเทคโนโลยีการปลูกปาล์มน้ำมันในพื้นที่เกษตรกรเขตภาคเหนือตอนล่างได้ดำเนินการระหว่างเดือนตุลาคมปี 2557 - กันยายน 2559 ในพื้นที่จังหวัด พิษณุโลก สุโขทัยและกำแพงเพชร เพื่อให้ได้พันธุ์ปาล์มน้ำมันที่ให้ผลผลิตสูงเหมาะสมกับสภาพพื้นที่ปลูกในเขตภาคเหนือตอนล่าง โดยดำเนินการระหว่างปี 2557 - 2559 พื้นที่ 60 ไร่ วางแผนการทดสอบแบบ RCB มี 4 ซ้ำ 4 กรรมวิธีๆ ละ 20 ต้น ประกอบด้วยพันธุ์สุราษฎร์ธานี1 สุราษฎร์ธานี2 สุราษฎร์ธานี7 และพันธุ์การค้าของเกษตรกร ผลการทดสอบพบว่า ความกว้างทรงพุ่มพันธุ์สุราษฎร์ธานี2 และพันธุ์สุราษฎร์ธานี7 มีความกว้างทรงพุ่ม 348 เซนติเมตร ในขณะที่พันธุ์สุราษฎร์ธานี1 และพันธุ์การค้าของเกษตรกรที่มีความกว้าง 340 และ 332 เซนติเมตร ตามลำดับ ในส่วนของความสูงต้นพันธุ์สุราษฎร์ธานี 7 มีความสูง 295 เซนติเมตร พันธุ์สุราษฎร์ธานี1 พันธุ์สุราษฎร์ธานี2 มีความสูง 290 เซนติเมตร และพันธุ์การค้าของเกษตรกรสูง 275 เซนติเมตร การเจริญเติบโตทางด้านความสูงและทรงพุ่มไม่ค่อยมีความแตกต่างกัน ผลส่วนหนึ่งเนื่องจากปี 2558 และ 2559 ได้เกิดวิกฤติภัยแล้งอย่างรุนแรงส่งผลกระทบต่อเจริญเติบโตของต้นปาล์ม สำหรับการทดสอบปุ๋ยเพื่อเร่งการเจริญเติบโตปาล์มน้ำมันดำเนินการในพื้นที่เกษตรกรจังหวัดพิษณุโลก สุโขทัยและกำแพงเพชร มีวัตถุประสงค์เพื่อพัฒนาการใช้ปุ๋ยตามค่าวิเคราะห์ดินเฉพาะพื้นที่ ดำเนินการระหว่างตุลาคมปี 2557 - กันยายน 2559 พื้นที่ 75 ไร่ มี 2 กรรมวิธี ประกอบด้วย กรรมวิธีที่ 1 วิธีแนะนำใช้ปุ๋ยตามค่าวิเคราะห์ดิน กรรมวิธีที่ 2 วิธีการใช้ปุ๋ยของเกษตรกรโดยทำการทดลองกับต้นปาล์มที่มีอายุ 3 - 4 ปี พบว่าก่อนการใส่ปุ๋ย กรรมวิธีแนะนำมีจำนวนทางใบ 40 ทางใบต่อต้น มีความกว้างทรงพุ่ม 585 เซนติเมตร มีความยาวทางใบ 290 เซนติเมตร ในขณะที่วิธีเกษตรกรมีจำนวนทางใบ 40 ทางใบต่อต้น ความกว้างทรงพุ่ม 586 เซนติเมตร ความยาวทางใบ 298 เซนติเมตร หลังการใส่ปุ๋ยในปี 2559 พบว่าวิธีแนะนำมีจำนวนทางใบ 58 ทางใบต่อต่อต้น ความกว้างทรงพุ่ม 636 เซนติเมตร และความยาวทางใบ 314 เซนติเมตร ส่วนวิธีเกษตรกรมีจำนวนทางใบ 58 ทางใบต่อต้น ความกว้างทรงพุ่ม 638 เซนติเมตร ความยาวทางใบ 314 เซนติเมตร ในส่วนของผลผลิต วิธีแนะนำ มีจำนวนทะลายเฉลี่ยที่เก็บเกี่ยวต่อต้น 1.5 ทะลาย น้้าหนักเฉลี่ยต่อทะลาย 6.3 กิโลกรัม ผลผลิตเฉลี่ย 415.8 กิโลกรัมต่อไร่ ในขณะที่วิธีเกษตรกรจำนวนทะลายที่เก็บเกี่ยวเฉลี่ยต่อต้น 1.3 ทะลาย น้้าหนักเฉลี่ยต่อทะลาย 5.9 กิโลกรัม ผลผลิตเฉลี่ย 337.4 กิโลกรัมต่อไร่ในส่วนของปริมาณน้ำฝนปี 2558 - 2559 เกิดวิกฤติภัยแล้งอย่างรุนแรงฝนทิ้งช่วงติดต่อกันเป็นเวลานานส่งผลต่อการเจริญเติบโตและผลผลิต