คลังผลงานวิจัย กรมวิชาการเกษตร

เวอร์ชั่นเต็ม: การควบคุมอาการไส้สีน้ำตาลในสับปะรดผลสดพันธุ์ตราดสีทอง
หมายเหตุ ดูเวอร์ชันเต็ม
การควบคุมอาการไส้สีน้ำตาลในสับปะรดผลสดพันธุ์ตราดสีทอง
สุภัทรา เลิศวัฒนาเกียรติ, วรางคณา มากกำไร, หยกทิพย์ สุดารีย์, วีรา คล้ายพุก, อุทัยวรรณ ทรัพย์แก้ว และดารากร เผ่าชู

          ประเทศไทยนั้นเป็นผู้ส่งออกสับปะรดแปรรูปเป็นอันดับ 1 ของโลก ส่วนการส่งออกในรูปผลสดนับว่ายังมีปริมาณน้อยมาก เนื่องจากการขนส่งไปยังตลาดต่างประเทศเป็นระยะทางไกลต้องเก็บรักษาผลสับปะรดไว้ที่อุณหภูมิต่ำ 8 - 10 องศาเซลเซียส ท้าให้ผลสับปะรดเกิดอาการสะท้านหนาว การจัดการหลังการเก็บเกี่ยว เพื่อช่วยให้เก็บรักษาผลผลิตที่อุณหภูมิต่ำโดยไม่เกิดอาการสะท้านหนาว ดังนั้นจึงด้าเนินการทดลองโดยใช้สารเคมีชนิดต่างๆ ต่อการควบคุมการเกิดอาการไส้สีน้ำตาลในสับปะรดพันธุ์ตราดสีทอง วางแผนการทดลองแบบ RCB มี 9 กรรมวิธี 3 ซ้ำ ซ้ำละ1 กล่อง (6 ผล/กล่อง) เก็บผลสับปะรดตราดสีทองจากแปลงเกษตรกร จ.ตราด ระยะแก่เขียว (หลังบังคับดอก 139 วัน) ในเดือนเมษายน และมิถุนายน ปฏิบัติหลังการเก็บเกี่ยวโดย กรรมวิธีที่ 1 ชุดควบคุมที่ 1 (ไม่ใช้สารเคมี) กรรมวิธีที่ 2 รมด้วย 1-MCP ความเข้มข้น 0.2 ppm 18 ชั่วโมง กรรมวิธีที่ 3 จุ่มก้านลงในสาร CaCl2 ความเข้มข้น 0.2 โมลาร์ กรรมวิธีที่ 4 จุ่มก้านลงในสาร SrCl2 ความเข้มข้น 0.2 โมลาร์ กรรมวิธีที่ 5 จุ่มก้านลงในกรดอีริทอร์บิก ความเข้มข้น 0.1 โมลต่อลิตร กรรมวิธีที่ 6 จุ่มก้านลงในกรดแอสคอร์บิก ความเข้มข้น 0.1 โมลต่อลิตร กรรมวิธีที่ 7 จุ่มก้านลงในโซเดียมอีริทอร์เบต ความเข้มข้น 1.5 โมลต่อลิตร กรรมวิธีที่ 8 จุ่มก้านลงในโซเดียมแอสคอร์เบต ความเข้มข้น 0.1 โมลต่อลิตร และกรรมวิธีที่ 9 จุ่มก้านลงในเมทิลจัสโมเนท ความเข้มข้น 0.01 โมลต่อลิตร และเก็บรักษาที่อุณหภูมิ 13±2 องศาเซลเซียส 3 สัปดาห์ หลังจากนั้นน้าผลมาตรวจประเมินอาการไส้สีน้ำตาลและคุณภาพด้านต่างๆ พบว่าการใช้สารเคมีชนิดต่างๆ เพื่อลดการเกิดอาการไส้สีน้ำตาลของสับปะรดผลสดพันธุ์ตราดสีทองภายหลังการเก็บรักษาที่อุณหภูมิต่ำ ในช่วงเดือนเมษายนพบว่า การใช้สารละลาย CaCl2 และSrCl2 มีระดับของการเกิดอาการไส้สีน้ำตาลน้อยกว่าสับปะรดที่ไม่ให้สารละลายในชุดควบคุม (ไม่ใช้สารเคมี) แต่ไม่มีความแตกต่างกันทางสถิติ และมีเปอร์เซ็นต์จ้านวนผลที่ยอมรับได้ (คะแนน 1 และ 2) เพียง 60 และ 50% ตามลำดับ ซึ่งมีค่าน้อยกว่าเกณฑ์ คือ > 70% นอกจากนี้พบว่า การใช้สารละลาย SrCl2 มีกิจกรรมของเอนไซม์ PPO (Polyphenol oxidase activity) ต่ำสุด ส่วนในช่วงเดือนมิถุนายนพบว่า การใช้สารละลายกรดอีริทอร์บิก มีระดับของการเกิดอาการไส้สีน้ำตาลน้อยกว่าสับปะรดที่ไม่ให้สารละลายในชุดควบคุม (ไม่ใช้สารเคมี) แต่ไม่มีความแตกต่างกันทางสถิติ และเปอร์เซ็นต์จ้านวนผลอยู่ในเกณฑ์ที่ยอมรับได้ (คะแนน 1 และ 2) อยู่ในระดับต่ำเพียง 22% (<70%) การไม่ให้สารละลายในชุดควบคุม (ไม่ใช้สารเคมี) มีกิจกรรมของเอนไซม์ PPO ต่ำสุด รองลงมา คือ สารละลาย SrCl2 ซึ่งไม่มีความแตกต่างกันทางสถิติ และกรรมวิธีต่างๆ ที่ใช้ในการทดลองไม่มีผลกระทบต่อ ความแน่นเนื้อ ปริมาณน้ำตาล กรด และวิตามินซี รวมถึงกลิ่นและรสชาติ อย่างไรก็ตาม การใช้สารละลาย CaCl2, SrCl2 และกรดอีริทอร์บิก ในช่วงเวลาดังกล่าวนั้น ถึงแม้ว่าจะให้ผลของการเกิดอาการไส้สีน้ำตาลน้อยกว่าสารละลายตัวอื่น แต่ไม่สามารถควบคุมการเกิดอาการไส้สีน้ำตาลได้ในสับปะรดผลสดพันธุ์ตราดสีทองที่อยู่ในเกณฑ์ที่ยอมรับได้ หากได้มีการปรับเปลี่ยนวิธีการ เช่น ระยะเวลาในการจุ่มสาร ปริมาณความเข้มข้นที่เหมาะสม รวมถึงควบคุมปัจจัยสภาพแวดล้อมที่มีผลต่อการเกิดอาการไส้สีน้ำตาลเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพในการควบคุมอาการไส้สีน้ำตาลให้มากยิ่งขึ้น ดังนั้นการใช้สารเคมีดังกล่าว จึงเป็นแนวทางหนึ่งที่อาจน้าไปใช้เป็นกรรมวิธีในการปฏิบัติเพื่อควบคุมอาการไส้สีน้ำตาลในระดับหนึ่งได้