คลังผลงานวิจัย กรมวิชาการเกษตร

เวอร์ชั่นเต็ม: ชีววิทยาและการแพร่กระจายของพืชต่างถิ่น : หญ้ายางนงนุช (Euphorbia sp.)
หมายเหตุ ดูเวอร์ชันเต็ม
ชีววิทยา และการแพร่กระจายของพืชต่างถิ่น : หญ้ายางนงนุช (Euphorbia sp.)
ธัญชนก จงรักไทย ศิริพร ซึงสนธิพร อัณศยา พรมมา เอกรัตน์ ธนูทอง
สำนักวิจัยพัฒนาการอารักขาพืช

          สำรวจในภาคกลาง จำนวน 15 จังหวัด ภาคเหนือ จำนวน 8 จังหวัด ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ จำนวน 3 จังหวัด รวม 26 จังหวัด พบหญ้ายางนงนุช 2 จังหวัด ได้แก่ จังหวัดชลบุรี ในพื้นที่เพาะและดูแลต้นไม้กลุ่มปาล์มของสวนนงนุช และจังหวัดประจวบคีรีขันธ์ ในพื้นที่อุทยานราชภักดิ์บริเวณโคนต้นปาล์มปะติโค๊ท และได้ตัวอย่างแห้ง จำนวน 20 ตัวอย่าง การศึกษาสัณฐานวิทยาของเมล็ดหญ้ายางนงนุชพบว่า ผลมีสีเขียว เมื่อแก่มีสีน้ำตาล 1 ผล มี 3 ลูป 1 ลูปมี 1 เมล็ด สีน้ำตาลลายคล้ายผิวงูเหลือม เมล็ดมีฐานกว้างปลายแหลม มีขนาดเมล็ดเฉลี่ย ยาว 1.23 และกว้าง 1.61 มิลลิเมตร และการศึกษาการงอกในห้องปฏิบัติการพบว่า หญ้ายางนงนุชมีเปอร์เซ็นต์ความงอกสูงถึง 92 เปอร์เซ็นต์ ในระยะเวลาเพียง 5 วัน แสดงให้เห็นว่าเมล็ดไม่มีการพักตัว