คลังผลงานวิจัย กรมวิชาการเกษตร

เวอร์ชั่นเต็ม: ชีววิทยา และนิเวศวิทยาของลูกใต้ใบใบใหญ่ (Phyllanthus caroliniensis Walter)
หมายเหตุ ดูเวอร์ชันเต็ม
ชีววิทยา และนิเวศวิทยาของลูกใต้ใบใบใหญ่ (Phyllanthus caroliniensis Walter)
ธัญชนก จงรักไทย ศิริพร ซึงสนธิพร อัณศยา พรมมา เอกรัตน์ ธนูทอง
สำนักวิจัยพัฒนาการอารักขาพืช

         สำรวจและเก็บตัวอย่างต้นและเมล็ดลูกใต้ใบใบใหญ่ ระหว่างเดือนตุลาคม 2559 - กันยายน 2560 ในพื้นที่การเกษตรและสิ่งแวดล้อม ในภาคเหนือ ภาคกลาง ภาคตะวันออก ภาคตะวันตก ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ และภาคใต้ ทั้งหมด 28 จังหวัด พบลูกใต้ใบใบใหญ่ 2 จังหวัด ได้แก่ จังหวัดลพบุรี และสระบุรี และการศึกษาลักษณะเมล็ด พบว่าเมล็ดเมล็ด สีน้ำตาลเข้ม มีจุดเรียงเป็นแถวบนผิวเมล็ด เมล็ดมี 3 ด้านชัดเจน มีขนาดเมล็ดเฉลี่ย คือ ยาว 1.22 มิลลิเมตร (ต่ำสุด 1.10 มิลลิเมตร สูงสุด 1.32 มิลลิเมตร) และกว้าง 1.03 มิลลิเมตร (ต่ำสุด 0.87 มิลลิเมตร สูงสุด 1.12 มิลลิเมตร) และไม่งอกเมื่อเพาะในห้องปฏิบัติการ ภายใต้อุณหภูมิห้อง ซึ่งอาจเกิดจากการพักตัว