คลังผลงานวิจัย กรมวิชาการเกษตร

เวอร์ชั่นเต็ม: การศึกษาประสิทธิภาพสารป้องกันกำจัดวัชพืชชนิดใหม่ในกะเพราและโหระพา
หมายเหตุ ดูเวอร์ชันเต็ม
การศึกษาประสิทธิภาพสารป้องกันกำจัดวัชพืชชนิดใหม่ในกะเพราและโหระพา
ภัทร์พิชชา รุจิระพงศ์ชัย, คมสัน นครศรี และอมฤต ศิริอุดม
สำนักวิจัยและพัฒนาการอารักขาพืช

          การทดสอบประสิทธิภาพสารกำจัดวัชพืชชนิดใหม่ในกะเพราและโหระพา เพื่อให้ได้สารกำจัดวัชพืชประเภทก่อนงอกที่มีประสิทธิภาพ ประหยัด ปลอดภัย ลดต้นทุน และลดผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมในการปลูกกะเพราและโหรพา ได้ดำเนินการทดลองในแปลงเกษตรกรอำเภอกำแพงแสน จังหวัดนครปฐม ระหว่างเดือนตุลาคม 2559 - กันยายน 2560 วางแผนการทดลองแบบ RCB มี 3 ซ้ำ มี 15 กรรมวิธี ได้แก่ pendimethalin 33% W/V EC, dimethenamid 90% W/V EC, flumioxazin 50% WP, diclosulam 84% WG, clomazone 48% W/V EC, s-metolachlor 96% W/V EC, sulfentrazone 48% W/V EC, acetochlor 50% W/V EC, oxyfluorfen 23.5%W/V EC, oxadiazon 25%W/V EC, metolachlor 72%W/V EC, trifluralin 48%W/V EC, alachlor 48%W/V EC อัตรา 198, 108, 15, 4.2, 115.2, 192, 115.2, 250, 47, 100, 288, 288 และ 336 กรัมสารออกฤทธิ์/ไร่ ตามลำดับ พ่นคลุมดินก่อนย้ายกล้าปลูก 3 วัน เปรียบเทียบกับกรรมวิธีกำจัดวัชพืชด้วยมือ และไม่กำจัดวัชพืช พบว่า การพ่นสารกำจัดวัชพืช diclosulam 84% WG และ sulfentrazone 48% W/V EC พบอาการเป็นพิษต่อกะเพราและโหระพาเล็กน้อยโดยมีผลทำให้กะเพราและโหระพาชะงักการเจริญเติบโต เมื่อพ่นก่อนย้ายกล้า 3 วัน และการพ่นสารกำจัดวัชพืช dimethanamid 90%W/V EC oxadiazon 25%W/V EC และ trifluralin 48%W/V EC สามารถควบคุม หญ้านกสีชมพู หญ้าตีนติด หญ้าตีนนก ผักโขมหินและตีนตุ๊กแก ได้ดี ไม่มีผลกระทบต่อการเจริญเติบโตอีกทั้งยังมีแนวโน้มให้ผลผลิตมากที่สุด