คลังผลงานวิจัย กรมวิชาการเกษตร

เวอร์ชั่นเต็ม: ประสิทธิภาพของการใช้สารฆ่าแมลงแบบผสม (tank mixtures) ในการป้องกันกำจัดหนอนใยผัก
หมายเหตุ ดูเวอร์ชันเต็ม
ประสิทธิภาพของการใช้สารฆ่าแมลงแบบผสม (tank mixtures) ในการป้องกันกำจัดหนอนใยผัก, Plutella xylostella (Linneaus) ในคะน้า
นลินา ไชยสิงห์, พฤทธิชาติ ปุญวัฒโท, วรวิช สุดจริตธรรมจริยางกูร และสรรชัย เพชรธรรมรส
สำนักวิจัยพัฒนาการอารักขาพืช

          ทดลองประสิทธิภาพของการใช้สารฆ่าแมลงแบบผสม (tank mixtures) ในการป้องกันกำจัดหนอนใยผัก, Plutella xylostella (Linneaus) มีวัตถุประสงค์เพื่อเปรียบเทียบประสิทธิภาพ ความเข้ากันได้ของสารทางกายภาพ และความเป็นพิษของสารต่อพืชของสารฆ่าแมลงแบบผสมที่แนะนำในการป้องกันกำจัดหนอนใยผักในคะน้า การผสมสารป้องกันกำจัดแมลงและโรคพืชเพื่อแนะนำสู่นักวิชาการ ผู้เกี่ยวข้องและเกษตรกรต่อไป โดยกรรมวิธีทดลองได้แก่ สารฆ่าแมลง spinetoram 12% SC อัตรา 40 มิลลิตรต่อน้ำ 20 ลิตร, indoxacarb 15% SC อัตรา 40 มิลลิตรต่อน้ำ 20 ลิตร, emamectin benzoate 1.92% EC อัตรา 40 มิลลิตรต่อน้ำ 20 ลิตร, chlorfenapyr 10% SC อัตรา 40 มิลลิตรต่อน้ำ 20 ลิตร, fipronil 5% SC อัตรา 80 มิลลิตรต่อน้ำ 20 ลิตร, tolfenpyrad 16% EC อัตรา 40 มิลลิตรต่อน้ำ 20 ลิตร, Bt. Aizawai อัตรา 100 มิลลิตรต่อน้ำ 20 ลิตร, Bt. kurstaki อัตรา 100 มิลลิตรต่อน้ำ 20 ลิตร และสารป้องกันกำจัดโรคพืช ได้แก่ dimethomorph 50% WP อัตรา 10 มิลลิตรต่อน้ำ 20 ลิตร และ mancozeb 80% WP อัตรา 40 มิลลิตรต่อน้ำ 20 ลิตร ดำเนินการในห้องปฏิบัติการของกลุ่มงานวิจัยการใช้สารป้องกันกำจัดศัตรูพืช สำนักวิจัยพัฒนาการอารักขาพืช กรมวิชาการเกษตร ได้ทำการทดสอบการเข้ากันได้ทางกายภาพระหว่างสารฆ่าแมลงแนะนำและสารป้องกันกำจัดโรคพืช ทดสอบความเป็นพิษต่อพืช และการศึกษาประสิทธิภาพของการใช้สารฆ่าแมลงแบบผสม (tank mixture) ระหว่างสารฆ่าแมลงกับสารป้องกันกำจัดโรคพืช (binary pesticide mixtures) ด้วยวิธีการ bioassays ผลการทดลองพบว่า การทดสอบการเข้ากันได้ทางกายภาพ วิธีการ Jar test โดยใช้การแยกชั้นด้วยสายตา พบว่าทุกกรรมวิธีไม่เกิดการแยกชั้นที่เห็นด้วยสายตา ตลอดจนเมื่อทดสอบความเป็นพิษต่อพืช พบว่าทุกกรรมวิธีไม่พบความเป็นพิษต่อคะน้า และการศึกษาประสิทธิภาพของสารผสมด้วยวิธีการ bioassays และการทดสอบประสิทธิภาพของสารผสมในสภาพแปลงทดลองนั้นอยู่ในระหว่างดำเนินการทดลอง