คลังผลงานวิจัย กรมวิชาการเกษตร

เวอร์ชั่นเต็ม: วิจัยและพัฒนาเทคโนโลยีการผลิตข้าวโพดเลี้ยงสัตว์
หมายเหตุ ดูเวอร์ชันเต็ม
โครงการวิจัยและพัฒนาเทคโนโลยีการผลิตข้าวโพดเลี้ยงสัตว์
วลีรัตน์ วรกาญจนบุญ, วลีรัตน์ วรกาญจนบุญ, พีชณิตดา ธารานุกูล, อภิชาติ เมืองซอง, จักรพรรดิ์ วุ้นสีแซง, โสภิตา สมคิด, ประดับศรี เงินมั่น, กิตติทัต แสนปลื้ม, ศรีนวล สุราษฎร์, ชูศักดิ์ แขพิมาย, นิชุตา คงฤทธิ์, สมพร มุ่งจอมกลาง, พรศุลี อิศรางกูร ณ อยุธยา, ประภาส แยบยน, 
พักตร์ทิพา เดชพละ, ฐากูร พูลเพิ่ม, ธนัท ฑีฆะสุข และบุญธรรม ศรีหล้า

 การวิจัยและพัฒนาเทคโนโลยีการผลิตข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ ปี 2559-2561 มีจังหวัดที่ร่วมทดสอบ 3 จังหวัด ปลูกข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ในสภาพไร่ ได้แก่ จ.นครราชสีมา และสภาพนา ได้แก่ จังหวัดอุบลราชธานี จังหวัดยโสธร มีเกษตรกรร่วมทดสอบจานวน 24 ราย โดยมีปัญหาคือผลผลิตต่าเนื่องจากการจัดการปุ๋ยที่ไม่ถูกต้องและใส่ปุ๋ยไม่ถูกช่วงเวลา มีวัตถุประสงค์เพื่อพัฒนาเทคโนโลยีการผลิตข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ในภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนล่าง มี 2 กรรมวิธี ได้แก่วิธีทดสอบและวิธีเกษตรกร จ.นครราชสีมา วิธีทดสอบ ใช้ปุ๋ยตามค่าวิเคราะห์ดิน และ วิธีเกษตรกร ใช้ปุ๋ยเกษตรกร จ.อุบลราชธานีและจ.ยโสธร วิธีทดสอบ คลุกเมล็ดพันธุ์ด้วยปุ๋ยชีวภาพพีจีพีอาร์ วัน ใช้ปุ๋ยตามค่าวิเคราะห์ดิน และ วิธีเกษตรกร ใช้ปุ๋ยเกษตรกร พบว่าผลผลิตเมล็ดแห้งข้าวโพดเลี้ยงสัตว์เฉลี่ย 3 ปี จ.นครราชสีมา จ.อุบลราชธานี และจ.ยโสธร วิธีทดสอบให้ผลผลิตเมล็ดแห้งข้าวโพดเลี้ยงสัตว์เฉลี่ย 1,039 1,261 และ 861 กก./ไร่ ตามลาดับมากกว่าวิธีเกษตรกร 938 1,184 และ 521 กก./ไร่ ตามลาดับ ด้านผลตอบแทน วิธีทดสอบมีรายได้เฉลี่ย 8,435 10,554 และ 5,438 บาท/ ไร่ มากกว่าวิธีเกษตรกรซึ่งมีรายได้7,607 9,874 และ 4,015 บาท/ ไร่ และผลตอบแทนต่อค่าใช้จ่ายการลงทุน (BCR) เฉลี่ย วิธีทดสอบมีค่า BCR 2.06 2.28 และ 1.52 มากกว่าวิธีเกษตรกรมีค่า BCR 1.89 2.04 และ 0.87 ตามลาดับ การใช้ปุ๋ยเคมีร่วมกับการใส่ปุ๋ยชีวภาพพีจีพีอาร์ วัน ซึ่งเป็นจุลินทรีย์ที่ส่งเสริมการเจริญเติบโตของพืช สามารถตรึงไนโตรเจน ละลายธาตุอาหารพืช และสร้างสารกระตุ้นการเจริญเติบโตของพืชได้