คลังผลงานวิจัย กรมวิชาการเกษตร

เวอร์ชั่นเต็ม: วิจัยและพัฒนากล้วยไม้สกุล Dendrobium ที่มีศักยภาพเป็นสมุนไพร
หมายเหตุ ดูเวอร์ชันเต็ม
วิจัยและพัฒนากล้วยไม้สกุล Dendrobium ที่มีศักยภาพเป็นสมุนไพร
อนุ สุวรรณโฉม

          การศึกษาวัสดุปลูกที่มีผลต่อการเพิ่มปริมาณหน่อของกล้วยไม้สกุล Dendrobium ที่มีศักยภาพเป็นสมุนไพร มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาลักษณะประจำพันธุ์ ประเมินคุณค่าและเชื้อพันธุ์กล้วยไม้ ที่มีศักยภาพเป็นกล้วยไม้สมุนไพร โดยศึกษาลักษณะการเจริญเติบโตของกล้วยไม้สกุล Dendrobium officinale (ส.1) และ Dendrobium officinale (ส.2) ซึ่งเก็บข้อมูลจำนวนหน่อ ความยาวหน่อ วันที่เกิดหน่อ การเกิดโรคและแมลง เปอร์เซ็นต์รอดตาย อัตราการเจริญเติบโต เพื่อเปรียบเทียบคุณสมบัติของวัสดุปลูก ซึ่งมีผลต่อการเพิ่มปริมาณหน่อและมีผลต่อสารสำคัญในหน่อของกล้วยไม้สกุล Dendrobium จากการศึกษาพบว่า การเจริญเติบโตของ Dendrobium officinale (ส.1) เมื่อนำมาวิเคราะห์ข้อมูลทางสถิติ พบว่ากรรมวิธีที่ 4 ใบไม้แห้ง + กิ่งไม้แห้งสับ ด้านความสูงหน่อและด้านจำนวนข้อ/หน่อ มีการเจริญเติบโตสูงที่สุด โดยมีค่าเท่ากับ 10.53 เซนติเมตร และ 8.32 ข้อ/หน่อ และการเจริญเติบโตของต้นกล้วยไม้ Dendrobium officinale (ส.2) เมื่อนำมาวิเคราะห์ข้อมูลทางสถิติพบว่า ด้านความสูงหน่อสูงที่สุด วัสดุปลูก กรรมวิธีที่ 2 สแปกนัมมอส และกรรมวิธีที่ 4 ใบไม้แห้ง + กิ่งไม้แห้งสับ โดยมีค่าเท่ากับ 2.59 เซนติเมตร และ 3.01 เซนติเมตร ตามลำดับ และด้านจำนวนข้อ/หน่อ มีการเจริญเติบโตสูงที่สุด คือ กรรมวิธีที่ 2 สแปกนัมมอส โดยมีค่าเท่ากับ 4.52 ข้อ/หน่อ