คลังผลงานวิจัย กรมวิชาการเกษตร

เวอร์ชั่นเต็ม: วิจัยพัฒนาพันธุ์และเทคโนโลยีการผลิตข้าวฟ่าง
หมายเหตุ ดูเวอร์ชันเต็ม
วิจัยพัฒนาพันธุ์และเทคโนโลยีการผลิตข้าวฟ่าง
วิภาวรรณ กิติวัชระเจริญ, เพ็ญรัตน์ เทียมเพ็ง, ศิริวรรณ อำพันฉาย, ยงศักดิ์ สุวรรณเสน, สุวัฒน์ พูลพาน, จุไรรัตน์ หวังเป็น และเอมอร เพชรทอง
สถาบันวิจัยพืชไร่และพืชทดแทนพลังงาน, ศูนย์วิจัยและพัฒนาการเกษตรเพชรบูรณ์, ศูนย์วิจัยพืชไร่สุพรรณบุรี, ศูนย์วิจัยพืชไร่อุบลราชธานี และศูนย์วิจัยและพัฒนาการเกษตรพัทลุง

    การปรับปรุงพันธุ์ข้าวฟ่างหวานให้ได้ผลผลิตและคุณภาพสูง โดยนาสายพันธุ์ที่ผ่านการคัดเลือกขั้นตอนการเปรียบเทียบพันธุ์เบื้องต้น จากจำนวน 7 คู่ผสม ในปี 2557-2558 (UT1xWray), (WrayxSP1), (WrayxUT10408),(WrayxBJ281),(WrayxThesis),(CowleyxBJ281) และ (WrayxCowley) เข้าสู่การเปรียบเทียบพันธุ์มาตรฐานในปี 2559 - 2560 และดำเนินการเปรียบเทียบท้องถิ่นในปี 2561 ใน 4 สถานที่ ได้แก่ ศูนย์วิจัยและพัฒนาการเกษตรเพชรบูรณ์ ศูนย์วิจัยพืชไร่สุพรรณบุรี ศูนย์วิจัยพืชไร่อุบลราชธานี และศูนย์วิจัยและพัฒนาการเกษตรพัทลุง จำนวน 12 สายพันธุ์ และพันธุ์เปรียบเทียบ 3 พันธุ์ได้แก่ Cowley Wray และ Keller พบความแตกต่างกันทางสถิติอย่างมีนัยสาคัญด้านความสูง เส้นผ่านศูนย์กลางลาต้น น้าหนักต้นสด ปริมาณน้ำคั้น และความหวาน มีความดีเด่นใกล้เคียงหรือสูงกว่าพันธุ์เปรียบเทียบ สาหรับการศึกษาช่วงเวลาปลูกที่เหมาะสมต่อคุณภาพของข้าวฟ่างหวานฤดูแล้ง พบว่าข้าวฟ่างหวานพันธุ์ Keller ในพื้นที่จังหวัดเพชรบูรณ์ ให้ปริมาณน้ำคั้นสูงสุด เมื่อเทียบกับพันธุ์ Wray และ Cowley เฉลี่ย 7,466 ลิตรต่อไร่ และพบปฏิสัมพันธ์ของข้าวฟ่างหวานทั้ง 3 พันธุ์ในฤดูแล้ง โดยข้าวฟ่างหวานพันธุ์ Wray ที่ปลูกช่วงเดือนมีนาคม ให้ความหวานสูงสุดเฉลี่ย 18.9 องค์ศาบริกซ์ ส่วนการศึกษาศักยภาพการให้ผลผลิตและความคุ้มทุนของการผลิตข้าวฟ่างเมล็ดเปรียบเทียบส่วนการศึกษาถึงความคุ้มค่าของลงทุน การปลูกข้าวฟ่างเมล็ดตามหลังข้าวโพดเลี้ยงสัตว์เปรียบเทียบกับทานตะวันและถั่วเขียว ในช่วงปลายฤดูฝนของจังหวัดเพชรบูรณ์ โดยการปลูกข้าวโพดเลี้ยงสัตว์พันธุ์นครสวรรค์ 3 ช่วงต้นฤดูฝนปี 2559 และปี 2560 และตามหลังด้วยการปลูกพืชที่ 2 จำนวน 3 ชนิด ได้แก่ ข้าวฟ่างเมล็ดพันธุ์สุพรรณบุรี 2 ทานตะวันพันธุ์เชียงใหม่ 1 และถั่วเขียวพันธุ์ชัยนาท 84-1 พบว่า การปลูกพืชที่ 2 ตามหลังข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ในปลายฤดูฝนของพืชทั้ง 3 ชนิด มีความคุ้มค่าในการลงทุน โดยมีค่า B/C Ratio2.2 1.8 และ 1.9 แต่การปลูกข้าวโพดเลี้ยงสัตว์และตามหลังด้วยข้าวฟ่างเมล็ดในปี 2559 และปี 2560 มีต้นทุนการผลิตรวมต่าสุดเฉลี่ย 3,976 และ 4,036 บาทต่อไร่ ตามลำดับ และมีรายได้สุทธิเฉลี่ย 4,758 และ 4,869 บาทต่อไร่ ขณะที่การปลูกข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ตามด้วยถั่วเขียวมีต้นทุนการผลิตรวมสูงสุดเฉลี่ย 4,530 และ 4,847 บาทต่อไร่ ตามลำดับในส่วนของการรวบรวมข้าวฟ่างไม้กวาดจากแหล่งปลูกต่างๆ ระหว่างปี 2559 - 2560 พบว่า 4 จังหวัด 5 แหล่งปลูก ได้แก่ เชียงราย อุทัยธานี และพะเยา อย่างละ 1 แหล่ง และกำแพงเพชร 2 แหล่ง โดยนาเมล็ดพันธุ์จาก แต่ละแหล่งปลูกเปรียบเทียบ พบว่าข้าวฟ่างไม้กวาดจากทั้ง 5 แหล่ง ให้ผลผลิตไม่แตกต่างกันทางงสถิติโดยมีผลผลิตรวงสดที่ ตั้งแต่ 137 - 188 กิโลกรัมต่อไร่ แต่ผลผลิตเมล็ดแตกต่างกันทางสถิติ โดย ข้าวฟ่างไม้กวาดจากแหล่งปลูก จังหวัดพะเยาให้ ผลผลิตเมล็ดสูงสุด เฉลี่ย 239 กรัมต่อไร่ แต่ทั้งผลผลิตรวงและผลผลิตเมล็ดของข้าวฟ่างไม้กวาดทั้ง 5 แหล่งปลูก ยังต่ำกว่าข้าวฟ่างไม้กวาด พันธุ์เคยูบี 1 และพันธุ์รวงเรียว 1 อย่างเห็นได้ชัด เนื่องจากเป็นพันธุ์ที่เกษตรกรเก็บไว้ใช้เพื่อลดต้นทุนการผลิต