คลังผลงานวิจัย กรมวิชาการเกษตร

เวอร์ชั่นเต็ม: การบริหารจัดการศัตรูพืชแบบบูรณาการในมันสำปะหลัง
หมายเหตุ ดูเวอร์ชันเต็ม
การบริหารจัดการศัตรูพืชแบบบูรณาการในมันสำปะหลัง
จรรยา มณีโชติ, ยุรวรรณ อนันตนมณี, ปรัชญา เอกฐิน, วลัยพร ศศิประภา, รังษี เจริญสถาพร, เบญจมาศ คาสืบ, วัลลีย์ อมรพล, สุพัตรา ชาวกงจักร, นิมิตร วงษ์สุวรรณ, ศุจิรัตน์ สงวนรังศิริกุล, ธีรวุฒิ วงศ์วรัตน์, ปรีชา กาเพ็ชร, มัทนา วานิชย์, วันทนา เลิศศิริวรกุล, อิสระ พุทธสิมมา, ระวิวรรณ เชื้อกิตติศักดิ์, นิรมล ดาพะธิก, อนุชา เหลาเคน, นาฎญา โสภา, ศศิธร ประพรม, ศิวิไล ลาภบรรจบ, กิตติพร เจริญสุข, บุญญาภา ศรีหาตา, ภาณุวัฒน์ มูลจันทะ, เพ็ญรัตน์ เทียมเพ็ง, วิลาศลักษณ์ ว่องไว, ศันสนีย์ จาจด, สันติไมตรี ก้อนคาดี, พีชคณิต ธารานุกูล, นพดล แดงพวง, ลักขณา ร่มเย็น, กาญจนา วาระวิชะนี, อัญชลี โพธิ์ตั้งธรรม, เบญจรัตน์ วุฒิกมลชัย, เอื้ออารีย์ รณเรืองฤทธิ์, วิภารัตน์ ดาริเข้ม, ตระกูล พินิจ กัลยาศิลปิน, มัตติกา ทองรส, จิราลักษณ์ พุทไธสง และจารุณี ติสวัสดิ์

          โครงการวิจัยการบริหารจัดการศัตรูพืชแบบบูรณาการในมันสำปะหลัง มีวัตถุประสงค์เพื่อติดตามและเฝ้าระวังการมีอยู่และการแพร่ระบาดของศัตรูพืชสาคัญ ศัตรูธรรมชาติ และศัตรูพืชอุบัติใหม่ ในแหล่งปลูกมันสำปะหลังของประเทศไทย เพื่อพัฒนาเทคโนโลยีการป้องกันและกำจัดศัตรูพืชอุบัติใหม่ในมันสำปะหลัง และพัฒนาชุดเทคโนโลยีการอารักขาพืชแบบบูรณาการโดยสอดคล้องกับปฏิทินการปลูกพืช ระยะเวลาดำเนินการ 4 ปี ระหว่างปี 2555 - 2559 ได้สำรวจและบันทึกข้อมูลชนิดศัตรูพืชและศัตรูธรรมชาติในแปลงปลูกมันสำปะหลัง 36 จังหวัดของเกษตรกร 995 ราย พบศัตรูพืชอุบัติใหม่ 10 ชนิด ได้แก่ เพลี้ยแป้งมะละกอ (Paracoccus marginatus Williams & Granada de Willink), ไรแดงคันซาวา (Tetranychus kanzawai Kishida) ไรแดงชมพู่ (Oligonychus biharensis Hirst) แมลงหวี่ขาวยาสูบ (Bemisia tabaci Gennadius) เพลี้ยหอยขาว (Aonidomytilus albus Cockerel), โรคโคนเน่าหัวเน่าในมันสำปะหลังสาเหตุจากเชื้อรา Phytophthora melonis โรคพุ่มแจ้สาเหตุจากเชื้อไฟโตพลาสมา โรคลำต้นไหม้สาเหตุจากเชื้อรา Phoma eupyrena โรครากปมมันสำปะหลังสาเหตุจากไส้เดือนฝอย Meloidogyne incognita และหญ้าปากควาย (Dactyloctenium aegyptium) ต้านทานสารไกลโฟเซต นอกจากนั้น พบศัตรูธรรมชาติ 2 ชนิด คือ ด้วงเต่าสตีธอรัสกินไรแดง (Stethorus sp.) ด้วงเต่า Pharoscymnus simmondsi กินเพลี้ยหอยขาว แตนเบียน (Trichogamma sp.) ทำลายเพลี้ยแป้ง นอกจากนั้น พบสาบม่วง Praxelis clematidea เป็นวัชพืชใบกว้างที่เป็นพืชอาศัยของศัตรูพืชสาคัญหลายชนิด ได้แก่ เพลี้ยแป้ง ไรแดง แมลงหวี่ขาวยาสูบ เชื้อไฟโตพลาสมาสาเหตุโรคพุ่มแจ้ ไส้เดือนฝอยรากปม ในปีที่ 2 พัฒนาเทคโนโลยีป้องกันกำจัดโรคอุบัติใหม่เพื่อแก้ปัญหาโรคโคนเน่าหัวเน่า โรคพุ่มแจ้ และโรครากปม และโรคลำต้นไหม้ในมันสำปะหลัง และในปีที่ 3 - 4 ได้นำเทคโนโลยีการป้องกันกำจัดโรค แมลง และวัชพืช ไปทดสอบในแปลงเกษตรกรที่มีศัตรูพืชแตกต่างกัน 26 รายใน 11 จังหวัด ได้แก่ กาฬสินธุ์ ขอนแก่น นครราชสีมา สระบุรี ระยอง ร้อยเอ็ด ชัยภูมิ ฉะเชิงเทรา สระแก้ว มหาสารคาม และอุบลราชธานี เพื่อพัฒนาเป็นเทคโนโลยีการจัดการศัตรูพืชแบบผสมผสาน สามารถเพิ่มผลผลิตจากค่าเฉลี่ยไร่ละ 3.2 ตัน เป็น 5.1 ตัน ทำให้เกษตรกรมีรายได้เฉลี่ยเพิ่มขึ้นจากเดิมไร่ละ 6,097 บาท เป็น ไร่ละ 12,888 บาท และมีค่า benefit cost ratio เฉลี่ยเท่ากับ 2.84 สูงกว่าวิธีเดิมของเกษตรกรที่มีค่าเฉลี่ย 1.57 จากผลการดำเนินงาน 4 ปี สามารถนำมาใช้เป็นข้อมูลจัดทำคู่มือการกำจัดศัตรูพืชแบบผสมผสานในมันสำปะหลังที่ทาให้การผลิตมันสำปะหลังมีประสิทธิภาพและยั่งยืนต่อไป