คลังผลงานวิจัย กรมวิชาการเกษตร

เวอร์ชั่นเต็ม: ศึกษาหาปริมาณฮอร์โมน indole acetic acid (IAA) gibberellic acid (GA3) และธาตุอาหาร
หมายเหตุ ดูเวอร์ชันเต็ม
ศึกษาหาปริมาณฮอร์โมน indole acetic acid (IAA) gibberellic acid (GA3) และ ธาตุอาหารในกล้วยน้ำว้า
สาธิดา โพธิ์น้อย, สุพิศสา ทองเขียว, สุภานันทน์ จันทร์ประอบ, เพชรรัตน์ ศิริวิ, สุวลักษมิ์ ไชยทอง และตวงพร ธีระพิทยาพงศ์
กองวิจัยพัฒนาปัจจัยการผลิตทางการเกษตร

          งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาปริมาณของฮอร์โมนพืชจำนวน 2 ชนิด คือ indole acetic acid (IAA) gibberellic acid (GA3) และปริมาณธาตุอาหารพืช ไนโตรเจน ฟอสฟอรัส โปแทสเซียม แคลเซียม และแมกนีเซียมในกล้วยน้ำว้า 3 สายพันธุ์ คือ พันธุ์มะลิอ่อง พันธุ์ปากช่อง50 พันธุ์สุโขทัย1 ที่เก็บตัวอย่างจากศูนย์วิจัยและพัฒนาการเกษตรสุโขทัย (สวพ.2) โดยทำการศึกษาในส่วนต่างๆของกล้วยน้ำว้า ได้แก่ เปลือกผลอ่อน เปลือกผลแก่ เปลือกผลสุกเนื้อผลดิบ เนื้อผลอ่อน ลำต้นเทียม ปลี และใบ ดำเนินการวิเคราะห์ธาตุอาหารพืชตามวิธีที่ใช้ในห้องปฏิบัติการ ส่วนการวิเคราะห์ปริมาณฮอร์โมนพืชหลังจากเตรียมตัวอย่าง นำมาสกัดด้วยวิธี liquid liquid extraction แล้วจึงวิเคราะห์ด้วยเครื่อง HPLC จากผลการศึกษาปริมาณธาตุอาหารพืชในกล้วยน้ำว้า 3 สายพันธุ์ ไม่แตกต่างกัน จึงดำเนินการต่อโดยใช้ตัวอย่างกล้วยพันธุ์สุโขทัย1 มาวิเคราะห์ธาตุอาหารพืชและปริมาณฮอร์โมน พบว่าซึ่งพบว่า ในปลีและใบ มีปริมาณธาตุอาหารไนโตรเจน ฟอสฟอรัส สูงกว่าส่วนอื่น โดยในปลีมีปริมาณ ไนโตรเจน และ ฟอสฟอรัส เท่ากับ 2.47 และ 0.43 เปอร์เซ็นต์น้ำหนักแห้ง และใบ มีปริมาณไนโตรเจน และฟอสฟอรัส เท่ากับ 2.62 และ 0.33 เปอร์เซ็นต์น้ำหนักแห้งส่วนปริมาณฮอร์โมนพืช IAA พบในทุกส่วนของกล้วยน้ำว้า โดยตรวจพบในใบสูงที่สุดมีปริมาณ 4.07 มิลลิกรัมต่อกิโลกรัม ตรวจพบปริมาณ GA3 ในทุกส่วนของตัวอย่างกล้วยน้ำว้า และพบมากที่สุดในส่วนของปลีปริมาณ 1.42 มิลลิกรัมต่อกิโลกรัม รองลงมาคือใบมีปริมาณ 1.32 มิลลิกรัมต่อกิโลกรัม เมื่อวิเคราะห์ความสัมพันธ์ระหว่างปริมาณธาตุอาหารและปริมาณฮอร์โมนพืชทั้งสองชนิด พบว่าปริมาณธาตุไนโตรเจน เหล็ก ซัลเฟอร์ และคอปเปอร์ จะให้ค่าความสัมพันธ์เชิงบวกสูงกว่าธาตุอื่น จากการศึกษาในครั้งนี้จะเห็นได้ว่า ทุกส่วนของกล้วยสามารถนำมาใช้ประโยชน์เป็นวัตถุดิบในผลิตภัณฑ์ธรรมชาติจากพืชได้

คำหลัก: indole acetic acid (IAA) gibberellic acid (GA3) ธาตุอาหาร กล้วยน้ำว้า