คลังผลงานวิจัย กรมวิชาการเกษตร

เวอร์ชั่นเต็ม: เทคโนโลยีการป้องกันกำจัดแมลงวันผลไม้้โดยวิธีผสมผสานในมะม่วง
หมายเหตุ ดูเวอร์ชันเต็ม
เทคโนโลยีการป้องกันกำจัดแมลงวันผลไม้้โดยวิธีผสมผสานในมะม่วง
เกรียงไกร จำาเริญมา, ศรุต สุทธิอารมณ์, วิภาดา ปลอดครบุรี, วนาพร วงษ์นิคง และวิมลวรรณ โชติวงศ์
กลุ่มบริหารศัตรูพืช, กลุ่มกีฏและสัตววิทยา สำนักวิจัยพัฒนาการอารักขาพืช

          การศึกษาจะเปรียบเทียบระหว่างแปลงควบคุมแมลงวันผลไม้แบบผสมผสานกับแปลงเกษตรกร โดยแปลงป้องกันกำจัดแบบผสมผสานจะพ่นสารสกัดสะเดาสลับกับการพ่นน้ำมันปิโตรเลียมเริ่มเมื่อผลอายุ 45 วัน สัปดาห์ละครั้งจนถึงผลอายุ 65 วัน จากนั้นจะใช้ถุงกระดาษห่อผลจนถึงระยะเก็บเกี่ยวเปรียบเทียบกับแปลงเกษตรกร ซึ่งเกษตรกรปฏิบัติดูแลรักษาเอง เนื่องจากเป็นการศึกษาในปีแรกระหว่างตุลาคม 2553 – กันยายน 2554 ที่สวนมะม่วงจังหวัดสุพรรณบุรี จึงทำการศึกษาประสิทธิภาพของเทคโนโลยีเดี่ยวๆ ได้แก่ การพ่นสารสกัดสะเดา การพ่นน้ำมันปิโตรเลียมและการห่อผลเริ่มเมื่อผลอายุ 45 วัน โดยการพ่นสารจะเริ่มพ่นเมื่อผลอายุ 45 วัน และพ่นทุกสัปดาห์จนเก็บเกี่ยวเช่นเดียวกับการห่อผลจะเริ่มห่อด้วยถุงกระดาษเมื่ออายุ 45 วัน ถึงเก็บเกี่ยว สุ่มเก็บเกี่ยวอย่างน้อยแปลงละ 250 ผล ชั่งน้ำหนักผล ตรวจนับผลที่ถูกทำลาย แยกไปเก็บในห้องปฏิบัติการ ตรวจเช็คจำนวนตัวหนอน ตัวเต็มวัยแมลงวันผลไม้ และจำแนกชนิดแมลงวันผลไม้ ผลการศึกษาพบว่า การห่อผลไม่มีการทำลายของแมลงวันผลไม้เลย น้ำหนักผลเฉลี่ย 287.63 กรัม/ผล ขณะที่พ่นสารสกัดสะเดาผลมะม่วงถูกแมลงวันผลไม้ทำลาย 1.35% พบทั้ง Bactrocera dorsalis และ B. correcta โดย 90% เป็น B. dorsalis และ 10% เป็น B. correcta สวนผลมะม่วงมีน้ำหนักเฉลี่ย 291.18 กรัม/ผล ส่วนแปลงที่พ่นน้ำมันปิโตรเลียมผลมะม่วงถูกแมลงวันผลไม้ทำลาย 2.22% ทั้งหมดเป็นการทำลายของ B.dorsalis ผลมะม่วงมีน้ำหนักเฉลี่ย 287.96 กรัม/ผล สำหรับแปลงเปรียบเทียบซึ่งไม่มีการห่อผลและไม่พ่นสารทุกชนิดพบ ผลมะม่วงถูกทำลาย 2.78% โดย 88.77% เป็นการทำลายของ B. dorsalis และ 11.23% เป็น B. correcta ผลมีน้ำหนักเฉลี่ย 301.96 กรัม/ผล จากผลการศึกษาเบื้องต้นสรุปว่า ในจังหวัดสุพรรณบุรี การระบาดของแมลงวันผลไม้ค่อนขางต่ำ อาจเป็นเพราะมีการใช้สารฆ่าแมลงในปริมาณมาก สำหรับการผลิตพืชผลทางการเกษตร ในการศึกษาปีต่อไปจะเลือกทดสอบในแหล่งปลูกมะม่วงที่มีการใช้สารเคมีน้อยๆ