คลังผลงานวิจัย กรมวิชาการเกษตร

เวอร์ชั่นเต็ม: ศักยภาพของฝอยทองในการควบคุมขี้ไก่ย่าน
หมายเหตุ ดูเวอร์ชันเต็ม
ศักยภาพของฝอยทองในการควบคุมขี้ไก่ย่าน
เสริมศิริ คงแสงดาว และกลอยใจ คงเจี้ยง
กลุ่มวิจัยวัชพืช สำนักวิจัยพัฒนาการอารักขาพืช

          การใช้ฝอยทองควบคุมต้นขี้ไก่ย่าน ซึ่งเป็นวัชพืชเถาเลื้อยข้ามปี ดำเนินการที่เรือนทดลองของกลุ่มวิจัยวัชพืช ระหว่างเดือนตุลาคม 2553 ถึงเดือนกันยายน 2554 วางแผนการทดลองแบบ CRD มี 9 กรรมวิธี 4 ซ้ำ ซ้ำ ใช้ต้นขี้ไก่ย่าน อายุ 80 วัน และต้นฝอยทอง 2 ชนิด คือ ชนิดมีเมล็ด และชนิดไม่มีเมล็ด ใช้ชิ้นส่วนของกิ่งของพืชอาศัยที่มีฝอยทองติดอยู่ จำนวน 1, 2, 3 และ 4 กิ่ง เปรียบเทียบกับการไม่เบียน หลังการเบียน 120 วัน เก็บเกี่ยวต้นฝอยทอง และต้นขี้ไก่ย่าน ทั้งสวนที่ตายและสวนที่ยังมีชีวิต นำมาคัดแยก ชั่งน้ำหนักแห้งพบว่า กรรมวิธีที่ใช้ฝอยทองชนิดมีเมล็ดเบียน ต้นขี้ไก่ย่านเหลือน้อยกว่าการใช้ฝอยทองชนิดไม่มีเมล็ดเบียน หลังจากที่ฝอยทองเบียนจนตนขี้ไก่ย่านตายแล้ว ฝอยทองยังมีการแตกใหม่ จากส่วนของต้นขี้ไก่ย่านที่ยังมีชีวิต ทำให้การเบียนเกิดขึ้นได้ต่อเนื่อง ฝอยทองมีศักยภาพในควบคุมขี้ไก่ย่านได้ดี การควบคุมอยู่ในลักษณะรักษาสมดุลย์ ไม่สามารถทำให้ต้นขี้ไก่ย่านหมดไปได้ ฝอยทองชนิดมีเมล็ดควบคุมต้นขี้ไก่ยานได้เร็วกว่า ฝอยทองชนิดไม่มีเมล็ด