คลังผลงานวิจัย กรมวิชาการเกษตร

เวอร์ชั่นเต็ม: โครงการศูนย์เรียนรู้การผลิตพืชตามหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงจังหวัดอุบลราชธานี
หมายเหตุ ดูเวอร์ชันเต็ม
โครงการศูนย์เรียนรู้การผลิตพืชตามหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงจังหวัดอุบลราชธานี
บุญชู สายธนู, กิตติทัต แสนปลื้ม, ประดับศรี เงินมั่น, นวลจันทร์ ศรีสมบัติ, นวลจันทร์ ศรีสมบัติ, โสภิตา สมคิด, บงการ พันธุ์เพ็ง และณัชนพงศ์ วชิรวงศ์บุรี
สำนักวิจัยและพัฒนาการเกษตรเขตที่ 4

          การพัฒนาประเทศไปสู่ความทันสมัยได้ก่อให้เกิดการเปลี่ยนแปลงแก่สังคมไทยอย่างมากในทุกด้าน ไม่ว่าจะเป็นด้านเศรษฐกิจ การเมือง วัฒนธรรม สังคม และสิ่งแวดล้อม อีกทั้งกระบวนการของความเปลี่ยนแปลงมีความสลับซับซ้อนจนยากที่จะอธิบายในเชิงสาเหตุและผลลัพธ์ได้ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวฯ รัชกาลปัจจุบัน ได้มีพระราชดำริว่า “...การพัฒนาประเทศจำเป็นต้องทำตามลำดับขั้น ต้องสร้างพื้นฐาน คือ ความพอมีพอกิน พอใช้ของประชาชนส่วนใหญ่เบื้องต้นก่อน โดยใช้วิธีการและอุปกรณ์ที่ประหยัดแต่ถูกต้องตามหลักวิชาการ เมื่อได้พื้นฐานความมั่นคงพร้อมพอสมควร และปฏิบัติได้แล้ว จึงค่อยสร้างค่อยเสริมความเจริญ และฐานะทางเศรษฐกิจขั้นที่สูงขึ้นโดยลำดับต่อไป...” จากพระราชดำริดังกล่าว นำไปสู่การปรับตัวเพื่อพัฒนาในทิศทางที่พึ่งตนเองและมีภูมิคุ้มกันมากขึ้น โดยยึดหลัก “เศรษฐกิจพอเพียง” เป็นแนวทางปฏิบัติ สำนักวิจัยและพัฒนาการเกษตรเขตที่ 4 ได้สนองพระราชดำริ โดยใช้พื้นที่ 4 ไร่ ของศูนย์วิจัยพืชไร่อุบลราชธานีจัดทำแปลงเรียนรู้การปลูกพืชแบบผสมผสานตามหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงขึ้น มีวัตถุประสงค์เพื่อถ่ายทอดเทคโนโลยีการผลิตพืชของกรมวิชาการเกษตรตามหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงให้แก่เกษตรกรและผู้สนใจทั่วไป โดยมุ่งเน้นการทำมาหากินก่อนการทำมาค้าขาย ผลการดำเนินงานในปี 255๔ พบว่า (๑) ได้รูปแบบการผลิตพืชตามหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงที่เหมาะสมกับศักยภาพของพื้นที่ ขนาดพื้นที่และแรงงาน ดังนี้ (๑.๑) ปลูกพืชผักยืนต้น และไม้ใช้สอย พื้นที่ 1 ไร่ ตามรูปแบบระบบการปลูกพืชต่างระดับ (๑.๒) ปลูกพืชสมุนไพร และพืชผักสวนครัวตามฤดูกาล พื้นที่ 1 ไร่ (๑.๓) ปลูกพืชเศรษฐกิจ พื้นที่ ๒ ไร่ (๑.๔) ปลูกพืชปุ๋ยสดบารุงดิน (๑.๕) ผลิตปุ๋ยหมัก น้ำหมักชีวภาพ และน้ำสมุนไพร (๑.๖) การเลี้ยงปศุสัตว์ ในด้านผลตอบแทนการผลิตทั้งระบบพบว่า มีผลตอบแทนสุทธิต่ำว่าต้นทุนการผลิต ๖,๖๒๕ บาท และ (๒) ได้ถ่ายทอดเทคโนโลยีสู่กลุ่มเป้าหมาย ได้แก่ เกษตรกร เจ้าหน้าที่ นักเรียน นักศึกษา ครู อาจารย์ และผู้สนใจทั่วไป ซึ่งในปี ๒๕๕๔ มีผู้เข้าเยี่ยมชม ศึกษาดูงาน และแลกเปลี่ยนเรียนรู้ ทั้งสิ้น ๑๐ คณะ จำนวน ๓๘๗ ราย