คลังผลงานวิจัย กรมวิชาการเกษตร

เวอร์ชั่นเต็ม: การศึกษาประสิทธิภาพของสารป้องกันกำจัดโรคพืชในการป้องกันกำจัดเชื้อรา R. solani
หมายเหตุ ดูเวอร์ชันเต็ม
การศึกษาประสิทธิภาพของสารป้องกันกำจัดโรคพืชในการป้องกันกำจัดเชื้อรา Rhizoctonia solani สาเหตุโรคพืช
พีระวรรณ พัฒนวิภาส, ทัศนาพร ทัศคร, ธารทิพย ภาสบุตร, ศิวิไล ลาภบรรจบ และอ้อยทิน จันทร์เมือง
กลุ่มวิจัยโรคพืช สำนักวิจัยพัฒนาการอารักขาพืช, ศูนย์วิจัยพืชไร่นครสวรรค์ สถาบันวิจัยพืชไร่ และศูนย์วิจัยพืชไร่เชียงใหม่ สำนักวิจัยและพัฒนาการเกษตรเขตที่ 2

          สำรวจและเก็บตัวอย่างพืชที่มีลักษณะอาการกาบใบไหม้และจุดจากแหล่งปลูกพืชในประเทศไทยตรวจลักษณะอาการของโรคในแปลงปลูก นำตัวอย่างพืชที่เป็นโรคมาจำแนกเชื้อในห้องปฏิบัติการ ถ่ายรูปตัวอย่างโรคแล้วจัดทำ permanent slide เพื่อการวินิจฉัยโรค สามารถจำแนกเป็นเชื้อราสกุล Rhizoctonia solani นำเชื้อรามาทดสอบประสิทธิภาพสารป้องกันกำจัดโรคพืชจำนวน 16 ชนิดๆ ละ 4 ความเข้มข้นในการป้องกันกำจัดเชื้อราในห้องปฏิบัติการพบสารป้องกันกำจัดโรคพืชจำนวน 7 ชนิด ได้แก่ epoxiconazole 12.5 % W/V EC, pyraclostrobin 25 %W/V, trifloxystrobin 50 %WG + tebuconazole 50 %WP และ tolclofos-methyl 50 %WP, validamycin 3 %W/V SL, pencycuron 25 %WP, teraclor 70 %WP สามารถยับยั้งการเจริญของเส้นใยเชื้อรา Rhizoctonia solani ได้ 100 เปอร์เซ็นต์ โดยที่เชื้อรา Rhizoctonia solani ไม่สามารถเจริญเติบโตบนอาหารเลี้ยงเชื้อที่มีสารป้องกันกำจัดโรคพืชทั้ง 4 ชนิด ในทุกความเข้มข้น ซึ่งจะได้นำผลการทดลองไปทดสอบประสิทธิภาพในขั้นตอนต่อไป