คลังผลงานวิจัย กรมวิชาการเกษตร

เวอร์ชั่นเต็ม: ศึกษาประสิทธิภาพของสารป้องกันกำจัดโรคพืชในการป้องกันกำจัดเชื้อรา Diplodia maydis
หมายเหตุ ดูเวอร์ชันเต็ม
ศึกษาประสิทธิภาพของสารป้องกันกำจัดโรคพืชในการป้องกันกำจัดเชื้อรา Diplodia maydis สาเหตุโรคพืช
วรางคนา แซ่อ้วง, ศรีสุข พูนผลกุล และมนตรี เอี่ยมวิมังสา
กลุ่มบริหารศัตรูพืช สำนักวิจัยพัฒนาการอารักขาพืช

          การศึกษาประสิทธิภาพของสารป้องกันกำจัดโรคพืชในการป้องกันกำจัดเชื้อรา Diplodia maydis สาเหตุโรคพืช ดำเนินการทดลองในห้องปฏิบัติการโดยการทดสอบสารป้องกันกำจัดโรคพืช ๘ ชนิด บนอาหารพีดีเอ (Potato Dextose Agar) โดยเทคนิคอาหารพิษ คัดเลือกได้สารป้องกันกำจัดโรคพืช ๔ ชนิด ๒ อัตรา คือ Difenoconazole (สกอร์) อัตรา ๒o มิลลิลิตร/น้ำ ๒o ลิตร และอัตรา ๓o มิลลิลิตร/น้ำ ๒o ลิตร, Procloraz (เจอราจ) อัตรา ๒o มิลลิลิตร/น้ำ ๒o ลิตร และอัตรา ๔o มิลลิลิตร/น้ำ ๒o ลิตร, Carboxin (Vitavax) อัตรา ๒o มิลลิลิตร/น้ำ ๒o ลิตร และอัตรา ๔o มิลลิลิตร/น้ำ ๒o ลิตร และ Carbendazim อัตรา ๔o มิลลิลิตร/น้ำ ๒o ลิตร และอัตรา ๖o มิลลิลิตร/น้ำ ๒o ลิตร นำไปทดสอบในแปลงข้าวโพดพันธุ์สุวรรณ ๑ ของเกษตรกรใน อำเภอพบพระ จังหวัดตาก ฤดูฝน ปี ๒๕๕๔ คัดเลือกได้สารป้องกันกำจัดโรคพืช ๓ ชนิด คือ Difenoconazole อัตรา ๒o มล./น้ำ ๒o ลิตร Carboxin อัตรา ๓o มล./น้ำ ๒o ลิตร และ Procloraz ๓o มล./น้ำ ๒o ลิตร ไปทดลองหาจำนวนครั้งและช่วงเวลาพ่นสารในแปลงเกษตรกรปี ๒๕๕๕ พบว่า สารป้องกันกำจัดโรคฝักเน่าได้ดีที่สุด คือ Difenoconazole อัตรา ๒o มิลลิลิตร/๒o ลิตร รองลงไปคือ Procloraz อัตรา ๓o มิลลิลิตร/ ๒o ลิตร พ่นบนต้นข้าวโพดก่อนดอกบาน ๗ วัน และหลังดอกบาน ๗ วัน และ ๑๔ วัน