คลังผลงานวิจัย กรมวิชาการเกษตร

เวอร์ชั่นเต็ม: พัฒนาเทคนิคการตรวจสอบเชื้อไฟโตพลาสมาเชื้อสาเหตุโรคใบขาวอ้อยด้วยกรดนิวคลีอิกตัวตรวจ
หมายเหตุ ดูเวอร์ชันเต็ม
พัฒนาเทคนิคการตรวจสอบเชื้อไฟโตพลาสมาเชื้อสาเหตุโรคใบขาวอ้อยด้วยกรดนิวคลีอิกตัวตรวจ
กาญจนา วาระวิชะนี, วันเพ็ญ ศรีทองชัย แลปริเชษฐ์ ตั้งกาญจนภาสน์
กลุ่มงานไวรัสวิทยา สำนักวิจัยพัฒนาการอารักขาพืช

          อ้อยเป็นพืชอุตสาหกรรมหลักอีกชนิดหนึ่งของประเทศไทยที่นำรายได้เข้าประเทศในปีหนึ่งๆ มากกว่าหมื่นล้านบาท และในปัจจุบันอ้อย ยังเป็นวัตถุดิบที่สำคัญอย่างหนึ่งในอุตสาหกรรมการผลิตเอทานอล จากศักยภาพดังกล่าวจึงต้องมีการขยายพื้นที่ปลูกให้เพิ่มมากขึ้นซึ่งส่วนใหญ่อยู่ทางภาคตะวันออกเฉียงเหนือ แต่ผลผลิตที่ได้ต่อหน่วยพื้นที่ปลูกกลับมีแนวโน้มลดลง ปัญหาที่สำคัญอย่างหนึ่งที่ทำให้อ้อยสูญเสียผลผลิตไปมาก คือ ปัญหาของโรคใบขาวที่เกิดจากเชื้อไฟโตพลาสมา ในปัจจุบันยังไม่มีเทคโนโลยีใดที่สามารถแก้ไขปัญหานี้ได้ ดังนั้นวิธีการควบคุมการแพร่ระบาดของโรคที่ดีที่สุด คือ การปลูกอ้อยโดยใช้ท่อนพันธุ์ที่ปราศจากโรคควบคู่กับการจัดการในแปลงผลิต ดังนั้น วิธีการตรวจสอบที่มีความแม่นยำจึงสามารถตรวจการปนเปื้อนโรคโดยทำการออกแบบไพร์เมอร์ 1 คู่ ในส่วนของ Sec A gene คือ SecA-F/ SecA-R ที่ให้แถบดีเอ็นเอขนาดประมาณ 400 เบส นำมาใช้เทียบกับ universal primer 2 คู่ ในส่วน 16s ribosomal RNA คือ P1/P7 และ R16F2/R2 ที่ให้แถบดีเอ็นเอขนาดประมาณ 1,200 เบส แล้วนำผลผลิตที่ให้แถบดีเอ็นเอไปสร้างกรดนิวคลีอิกตัวตรวจที่มีความจำเพาะต่อเชื้อไฟโตพลาสมาสาเหตุโรคใบขาวอ้อยต่อไป