คลังผลงานวิจัย กรมวิชาการเกษตร

เวอร์ชั่นเต็ม: การป้องกันกำจัดโรคกลีบดอกไหม้ในกล้วยไม้สกุลม็อคคาราโดยใช้เชื้อจุลินทรีย์ปฏิปักษ์
หมายเหตุ ดูเวอร์ชันเต็ม
การป้องกันกำจัดโรคกลีบดอกไหม้ในกล้วยไม้สกุลม็อคคาราโดยใช้เชื้อจุลินทรีย์ปฏิปักษ์และสารเคมี
ทัศนาพร ทัศคร, ณัฏฐิมา โฆษิตเจริญกุล, พีระวรรณ พัฒนวิภาส และอภิรัชต์ สมฤทธิ์
กลุ่มวิจัยโรคพืช สำนักวิจัยพัฒนาการอารักขาพืช

          ในปี 2554 ได้ สำรวจและเก็บตัวอย่างโรคกลีบดอกไหม้ จากกล้ วยไม้ สกุลมอคคาราพันธุ์ต่างๆ ในพื้นที่ปลูกจังหวัดนครปฐม ราชบุรี และสมุทรสาคร ผลการศึกษาและจำแนกชนิดเชื้อสาเหตุโรคกลีบดอกไหม้ ในกล้ วยไม้ สกุลมอคคาราพันธุ์เหลืองกิตติ, อ้อมใหญ, คาลิปโซ, เหลืองจิตติ, แดงกิตติ, แดงบุญหลง และส มบางขุนเทียนเบื้องต้ น พบว่าเชื้อสาเหตุโรคคือ เชื้อแบคทีเรีย Pantoae sp. เมื่อทำการปลูกเชื้อสาเหตุโรคแล้ วสามารถทำให้ เกิดอาการโรคเช่นเดียวกับในสภาพแปลง และได้ ทดสอบประสิทธิภาพของสารป้องกันกำจัดโรคพืชในห้ องปฏิบัติการ ผลการทดลองพบว่า สาร Gentamycin sulfate + oxytetracycline hydrochloride 8% WP สามารถยับยั้งการเจริญของเชื้อได้ ดีทุกระดับความเข้มข้ น ในปี 2555 ได้ทดสอบประสิทธิภาพสารป้องกันกำจัดโรคพืชในการป้องกันกำจัดโรคกลีบดอกไหม้ ในกล้ วยไม้ ลูกผสมมอคคารา พันธุ์ Pink lady 4 ซ้ำ 6 กรรมวิธี คือ cuprous oxide 50%WP, bacbicure 25%WP และ gentamycin sulfate + oxytetracycline hydrochloride 8%WP, thiram 80% WP และ copper hydroxide 77%WP เปรียบเทียบกับกรรมวิธีพ่นน้ำเปล่าโดยพ่นสารตามกรรมวิธีเมื่อเริ่มพบโรคจำนวน 4 ครั้ง ผลการทดลองพบว่า สารที่มีประสิทธิภาพในการป้องกันกำจัดโรคกลีบดอกไหม้ ได้ ดี คือ สาร cuprous oxide 50%WP รองลงมาได้ แก่ สาร gentamycin sulfate + oxytetracycline hydrochloride 8%WP, thiram 80% WP และ copper hydroxide 77%WP พบมีเปอร์เซ็นต์ช่อดอกที่เป็นโรคน้ อยกว่ากรรมวิธีพ่นน้ำเปล่า