คลังผลงานวิจัย กรมวิชาการเกษตร

เวอร์ชั่นเต็ม: พัฒนาการเพาะเลี้ยงและศักยภาพการเป็นตัวห้ำของผีเสื้อตัวห้ำ Spalgis epius
หมายเหตุ ดูเวอร์ชันเต็ม
พัฒนาการเพาะเลี้ยงและศักยภาพการเป็นตัวห้ำของผีเสื้อตัวห้ำ Spalgis epius (Lepidoptera:Lycaenidae)
ประภัสสร เชยคำแหง, รจนา ไวยเจริญ และรัตนา นชะพงษ์
กลุ่มกีฏและสัตววิทยา สำนักวิจัยพัฒนาการอารักขาพืช

          การพัฒนาการเพาะเลี้ยงและศักยภาพการเป็นตัวห้ำของผีเสื้อตัวห้ำ Spalgis epius ได้ทำการสำรวจและเก็บรวบรวมผีเสื้อตัวห้ำจากแหล่งที่มีการระบาดของเพลี้ยแป้ง ระหว่างเดือนธันวาคม 2554 ถึงกันยายน 2555 พบผีเสื้อตัวห้ำ S. epius ในระยะตัวหนอน จำนวน 160 ตัว และระยะดักแด้จำนวน 35 ดักแด้ ในพืช 5 ชนิด คือ มันสำปะหลัง น้อยหน่า ชบา มะเขือยาว และวัชพืช สำรวจใน 2 จังหวัด คือ นครราชสีมา และนครปฐม