คลังผลงานวิจัย กรมวิชาการเกษตร

เวอร์ชั่นเต็ม: การใช้ปอเทืองควบคุมไส้เดือนฝอยรากปมในมันฝรั่ง
หมายเหตุ ดูเวอร์ชันเต็ม
การใช้ปอเทืองควบคุมไส้เดือนฝอยรากปมในมันฝรั่ง
ไตรเดช ข่ายทอง และมนตรี เอี่ยมวิมังสา
กลุ่มวิจัยโรคพืช สำนักวิจัยพัฒนาการอารักขาพืช

          การทดลองใช้ ปอเทืองควบคุมไส้ เดือนฝอยรากปมมันฝรั่งในแปลงทดลอง ระหว่างปี 2554 – 2555 จำนวน 2 แปลงทดลอง ณ สถานีทดลองพืชสวนพบพระ ศูนย์วิจัยและพัฒนาการเกษตรตาก ในปี 2554 ทำการทดลองในแปลงขนาด 3 x 5 เมตร วางแผนการทดลองแบบ RCB 5 ซ้ำ 8 กรรมวิธี โดยหว่านเมล็ดปอเทืองอัตรา 7 กก./ไร่ ก่อนปลูกมันฝรั่ง โดยคลุกหรือไม่คลุกเมล็ดด้วยเชื้อไรโซเบียม เมื่อปอเทืองอายุ 60 วัน สับต้ นแล้ วไถกลบ ไม่สับต้นแล้ วไถกลบหรือตัดต้ นคลุมดินโดยไม่ไถกลบเปรียบเทียบกับการไม่ปลูกปอเทืองก่อนปลูกมันฝรั่ง และการใช้ สารคาร์โบฟูราน 3% G อัตรา 15 ก.ก./ไร่ ก่อนปลูกมันฝรั่ง จากผลการทดลองไม่พบความแตกต่างของจำนวนตัวอ่อนระยะที่สองของไส้ เดือนฝอยรากปมในดิน เปอร์เซ็นต์การเข้ าทำลาย เปอร์เซ็นต์หูด ดัชนีการเข้ าทำลาย และน้ำหนักหัวมันฝรั่งของแต่ละกรรมวิธี ในปี 2555 ทำการทดลองแปลงที่ 2 ในแปลงขนาด 3 x 5 เมตร วางแผนการทดลองแบบ RCB 5 ซ้ำ 5 กรรมวิธี โดยมีกรรมวิธีต่างๆ คือ 1. ไม่ปลูกปอเทืองและไม่ใช้ สารเคมี 2. ปลูกปอเทืองแล้ วไถกลบ โดยไม่ใช้ สารเคมี 3. ไม่ปลูกปอเทือง และใช้ สารคาร์โบฟูราน 3% G อัตรา 15 กิโลกรัม/ไร่ พร้ อมปลูกมันฝรั่ง 4. ปลูกปอเทืองแล้ วไถกลบ และใช้ สารคาร์โบฟูราน 3% G อัตรา 15 กิโลกรัม/ไร่ พร้ อมปลูกมันฝรั่ง และ 5. ปลูกปอเทืองแล้วไถกลบ และใช้ สารคาร์โบฟูราน 3% G อัตรา 15 กิโลกรัม/ไร่ พร้ อมปลูกมันฝรั่ง และหลังปลูกมันฝรั่ง 45 วัน ผลการทดลองพบว่าการใช้ ปอเทืองรวมกับสารคาร์โบฟูรานสามารถควบคุมไส้ เดือนฝอยรากปมและลดการเกิดหูดของหัวมันฝรั่งได้ดีกว่าการไม่ปลูกปอเทือง หรือการปลูกปอเทืองแล้ วไถกลบโดยไม่ใช้ สารเคมี