คลังผลงานวิจัย กรมวิชาการเกษตร

เวอร์ชั่นเต็ม: การจำแนกสายพันธุ์ Bacillus thuringiensis ที่พบในประเทศไทยโดยเทคนิค PCR
หมายเหตุ ดูเวอร์ชันเต็ม
การจำแนกสายพันธุ์ Bacillus thuringiensis ที่พบในประเทศไทยโดยเทคนิค PCR
ภัทรพร สรรพนุเคราะห์, อิศเรส เทียนทัด, สมชัย สุวงศ์ศักดิ์ศรี และรัตนา นชะพงศ์
กลุ่มกีฏและสัตววิทยา สำนักวิจัยพันนาการอารักขาพืช

          จากคัดเลือกเชื้อแบคทีเรีย Bacillus thuringiensis ของกรมวิชาการเกษตรที่สามารถควบคุมหนอนกระทู้หอมและหนอนกระทู้ผักได้มากกว่า 80% จำนวน 11 และ 103 isolate ตามลำดับ นำมาเพาะเลี้ยงเพิ่มปริมาณในอาหารเลี้ยงเชื้อ ก่อนนำไปทดสอบกับหนอนกระทู้หอมและหนอนกระทู้ผักวัย 2 พบว่า ไม่มี isolate ใดสามารถทำให้หนอนกระทู้หอมตายมากกว่า 80% มี 33 isolate ที่ทำให้หนอนกระทู้ผักตายตั้งแต่ 80% เช่น 320-3 14-14 281-4 27-1 7-1 26/45 14-22 26/45 23-3 27/45 23-14 27/45 13-11 ทดลองนำเชื้อทั้ง 7 isolate ไปตรวจสอบด้วยวิธี PCR โดยใช้อุณหภูมิ 94 องศาเซลเซียส 3 นาที จำนวน 1 รอบ อุณหภูมิ 94 องศาเซลเซียส 1 นาที อุณหภูมิ 55 องศาเซลเซียส 32 นาที อุณหภูมิ 72 องศาเซลเซียส  2 นาที จำนวน 30 รอบ และใช้อุณหภูมิ 72 องศาเซลเซียส  7 นาที จำนวน 1 รอบ จากนั้นนำไปตรวจสอบด้วยวิธี electrophoresis พบว่าเชื้อทั้ง 7 isolate มี cry โปรตีนเป็นชนิด Cry 1AC ซึ่งเป็นชนิดที่สามารถควบคุมหนอนผีเสื้อได้ดี และจะนำเชื้อ Bacillus thuringiensis ของกรมวิชาการเกษตรซึ่งมีจำนวนมาก มาทำการศึกษาต่อไป